Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78900
Title: การหาอายุอิฐด้วยวิธีการเปล่งแสง จากแหล่งโบราณคดีเมืองเพีย จังหวัดขอนแก่น
Other Titles: Luminescence dating of bricks from Muangphea Archaeological Site, Khon Kaen province
Authors: บงกช ณ พัทลุง
Advisors: สันติ ภัยหลบลี้
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: การกำหนดอายุทางโบราณคดี -- ไทย -- ขอนแก่น
การขุดค้นทางโบราณคดี -- ไทย -- ขอนแก่น
อิฐ -- การกำหนดอายุ
แหล่งโบราณคดีเมืองเพีย (ขอนแก่น)
Archaeological dating -- Thailand -- Khon Kaen
Excavations (Archaeology) -- Thailand -- Khon Kaen
Bricks -- Age determination
Muangphea Archaeological Site (Khon Kaen)
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาอายุแหล่งโบราณคดีเมืองเพีย อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่นจากก้อนอิฐด้วยวิธีกระตุ้นด้วยแสง โดยทำการเก็บตัวอย่างอิฐที่ถูกขุดขึ้นมาจากการสำรวจของกรมศิลปากรและการดำเนินงานวางท่อขนส่งน้ำมัน ซึ่งทั้งสองบริเวณที่ทำการเก็บตัวอย่างอิฐมาศึกษาตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของเมืองโบราณบ้านเมืองเพีย จากการสังเกตลักษณะทางกายภาพภายในของก้อนอิฐพบว่าอิฐจากทั้งสองบริเวณมีลักษณะทางกายภาพภายในก้อนอิฐที่แตกต่างกัน โดยก้อนอิฐจากบริเวณที่ 1 มีลักษณะเป็นสีดำบริเวณตรงกลางและมีสีส้มบริเวณผิวด้านนอก ส่วนบริเวณที่ 2 มีลักษณะเป็นสีส้มเนื้อเดียวกันทั่วทั้งก้อน ผู้จัดทำโครงงานจึงวางแผนการทดลองโดยใช้ตัวอย่างอิฐทั้งหมด 4 ก้อน แต่ทำการแยกตัวอย่างระหว่างเนื้อด้านนอกและด้านในก้อนอิฐโดยแบ่งตัวอย่างเป็น 5 ตัวอย่าง ได้แก่ PH01-out PH01-IN ph02-out PH01-ALL และ PHG02-out จากนั้นหาค่า ED ด้วยเครื่อง TL/OSL reader และค่า AD ด้วยเครื่อง gamma-ray spectrometer แล้วคำนวณหาค่าอายุ จากการศึกษาครั้งนี้พบว่าอิฐที่เก็บมาทำการศึกษามีช่วงอายุ 2 ช่วง ช่วงอายุที่ 1 คืออิฐจากที่ดินนายธรรมะ เทศแก้ว ซึ่งจากค่าอายุที่ได้ทำให้สันนิษฐานได้ว่ามีการสร้างโบราณสถานก่ออิฐและการอยู่อาศัยในเมืองเพียในช่วงเวลาประมาณ 1,400-1,500 ปีมาแล้ว ซึ่งตรงกับช่วงสมัยทวารดี ส่วนช่วงอายุที่ 2 คืออิฐจากที่ดินนายชุติเดช สูงเพีย จากค่าอายุที่ได้แสดงให้เห็นว่าคนในอดีตในพื้นที่เมืองโบราณบ้านเมืองเพีย มีการอยู่อาศัยและสร้างศาสนสถานขึ้น ในช่วงเวลาประมาณ 625-955 ปี มาแล้ว ซึ่งตรงกับสมัยลพบุรีและช่วงรอยต่อระหว่างสมัยลพบุรีและล้านช้าง นอกจากนั้นยังพบว่าหากตัวอย่างอิฐที่นำมาศึกษาเป็นอิฐที่เผาไม่สุกทั่วทั้งก้อน เนื้ออิฐบริเวณขอบนอกที่มีสีส้มจะเหมาะกับการหาอายุด้วยวิธีการเปล่งแสงมากกว่าเนื้ออิฐด้านในที่มีสีดำ เนื่องจากอิฐด้านในอาจมีการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ในระหว่างกระบวนการผลิต
Other Abstract: The objective of this project is to determine the age of the Muangphea Archaeological Site, Ban Phai District, Khon Kaen Province using optically stimulated luminescence dating. Brick samples were excavated from the Fine Arts Department's survey and oil transportation pipeline operations. Collected bricks are located on the east and west side of the ancient city of Ban Muangphea. The inside of brick samples from both areas show different characteristics. The bricks from the first area showed black in the middle and orange in the outer portion of bricks while the bricks from the second area showed homogeneous orange color throughout the cube. The four brick samples were prepared into five samples: PH01-out, PH01-in, PH02-out, PHG01-all, and PHG02-out. The ED was determined with a TL/OSL reader and AD was determined with a gamma-ray spectrometer. According to the result, it was found that the bricks collected in the study can be classified into two age ranges. The first one from the west of Ban Muangphea concludes that the bricks of archaeological site and residents of the people in the city of Muangphea was constructed about 1,400-1,500 years ago, which corresponds to the Dvaravati period. The second one from the eastern part of Ban Muangphea, the age has shown that people in the past in the Muangphea lived and built religious places around 625-955 years ago, which corresponds to the Lopburi period and the boundary between the Lopburi and Lan Xang period. In addition, it is found that the outside portion of the brick is more suitable for luminescence dating than the inside portion since the inside might be incompletely fired during the production process.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78900
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63-SP-GEO-005 - Bongkod NaBhadalung.pdf2.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.