Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78997
Title: การตรวจสอบภาวะพหุสัณฐานที่ตำแหน่ง LOC_Os06g08550 ที่สัมพันธ์กับปริมาณแอนโธไซยานินในเมล็ดข้าว
Other Titles: Detection of the polymorphism at LOC_Os06g08550 locus associated with anthocyanin content in rice grain
Authors: สโรชา สามารถ
Advisors: วราลักษณ์ เกษตรานันท์
ชนิตา ปาลิยะวุฒิ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: ข้าว -- การปรับปรุงพันธุ์
แอนโทไซยานินส์
Rice -- Breeding
Anthocyanins
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: แอนโธไซยานินในเมล็ดข้าว (Oryza sativa) เป็นสารให้สีที่ได้รับความสนใจมากจากกลุ่มผู้รัก สุขภาพทั้งหลาย จึงมีงานวิจัยจำนวนมากที่ตรวจสอบเครื่องหมายพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ สังเคราะห์แอนโธไซยานินในเมล็ดข้าวเพื่อเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์ วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ก็ เพื่อตรวจสอบภาวะพหุสัณฐานที่ตำแหน่ง LOC_Os06g08550 กับปริมาณแอนโธไซยานินในเมล็ดข้าวจาก ประชากรข้าวรุ่นที่ 2 (F₂) จากคู่ผสมพันธุ์ “กข 41” กับ “ไรซ์เบอร์รี่” (RD41 x RB) จำนวน 77 ตัวอย่าง และ คู่ผสมพันธุ์ “กข41” กับ “ทับทิมชุมแพ” (RD41 x RD69) จำนวน 33 ตัวอย่าง จากนั้นนำเมล็ดทั้งหมดมาสกัด แอนโธไซยานินด้วยตัวทำละลาย 1% HCl ในเมทานอล พบว่าสารสกัดแอนโธไซยานินที่ได้มีความสัมพันธ์กับสี ของเมล็ดข้าว โดยเรียงลำดับปริมาณแอนโธไซยานินเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ข้าวสีดำอยู่ที่ 25.49 ±15.15 mg/g, ข้าวสีแดงอยู่ที่ 18.16±2.14 mg/g, ข้าวสีน้ำตาลอยู่ที่ 2.96±0.77 mg/g และข้าวสีขาวอยู่ที่ 0.66±0.30 mg/g ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าเครื่องหมายพันธุกรรมที่ตำแหน่ง LOC_Os06g08550 ไม่มี ความสัมพันธ์กับปริมาณแอนโธไซยานินเมื่อทดสอบในประชากรข้าวรุ่น F₂ ของทั้งคู่ผสม RD4 1x RB และ RD41 x RD69 (Sig.>0.05) แต่เครื่องหมายพันธุกรรมที่ตำแหน่ง LOC_Os06g08550 สัมพันธ์กับสีของเยื่อหุ้ม เมล็ดข้าวในประชากรข้าวรุ่น F₂ ของคู่ผสม RD41 x RD69 (Sig.=0.030) หากเครื่องหมายพันธุกรรมนี้แสดง ภาวะพหุสัณฐานมีความสัมพันธ์กับลักษณะปริมาณแอนโธไซยานิน จะเป็นประโยชน์ในการใช้ เครื่องหมาย พันธุกรรมเพื่อการคัดเลือกลักษณะนี้ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวต่อไป
Other Abstract: Anthocyanin in the seed of rice (Oryza sativa) is the pigment that received a lot of attention in the health care group. So, many papers of research detected molecular markers that involved the anthocyanin synthesis pathway in rice seeds useful for breeding. The purpose of this study to detect the polymorphism at LOC_Os06g08550 locus associated with anthocyanin content in rice seed of F₂ from “RD41” and “rice berry” (RD41 x RB) total 77 samples and F₂ from “RD41” and “RD69” (RD41 x RD69) total 33 samples. Next, total rice seed brings to extract anthocyanin with 1% HCl in methanol. The result showed that anthocyanin content associated with seed color that black seed present 25.49±15.15 mg/g, red seed present 18.16±2.14 mg/g, brown seed present 2.96±0.77 mg/g, and rice seed present 0.66±0.30 mg/g in descending order. In addition, the genetic marker at LOC_Os06g08550 non associated with anthocyanin content when testing in F₂ from both RD41 x RB and RD41 x RD69 (Sig.>0.05) but marker at LOC_Os06g08550 associated with color seed in F₂ from RD41xRD69 (Sig.=0.030). If this genetic marker showed polymorphism associated with anthocyanin content which helpful selection this phenotype for rice breeding in the future.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพันธุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78997
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63-SP-GENE-007 - Sarocha Samat.pdf850.94 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.