Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7920
Title: | ปัจจัยทำนายการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการโรงพยาบาล สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Predictors of job performance of staff nurses, hospitals under the jurisdiction of the department of medical services, Bangkok Metropolitan Administration |
Authors: | ปรินดา วรภมร |
Advisors: | พวงเพ็ญ ชุณหปราณ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | Paungphen.C@Chula.ac.th |
Subjects: | พยาบาล การวัดผลงาน พฤติกรรมมนุษย์ -- แง่จิตวิทยา |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวแปรพยากรณ์ซึ่งได้แก่ปัจจัยส่วนบุคคล การได้รับมอบหมาย ให้ทำงานล่วงเวลา การมีส่วนร่วมในงาน และการสนับสนุนทางสังคม ที่ร่วมกันทำนายการปฏิบัติงาน ของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็น พยาบาลประจำการที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร จำนวน 311 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามปัจจัย ส่วนบุคคล แบบสอบถามการได้รับมอบหมายให้ทำงานล่วงเวลา แบบสอบถามการมีส่วนร่วมในงาน แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการ ซึ่งผ่าน การตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและความเที่ยงแล้ว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและสมการถดถอย พหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้นตอน ผลวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำ การ การมีส่วนร่วมในงาน และการสนับสนุนทางสังคมของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลสังกัด สำนักการแพทย์ อยู่ในระดับสูง (X = 3.87, 3.85 และ 3.72 ตามลำดับ) 2. การได้รับมอบหมายให้ทำงาน ล่วงเวลาของพยาบาลประจำการ มีจำนวนร้อยละ 65.9 โดยทำงานล่วงเวลาเฉลี่ย 20.88 ชั่วโมงต่อ สัปดาห์ 3. การมีส่วนร่วมในงานและการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติงาน ของพยาบาลประจำการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .511 และ .397 ตามลำดับ) สถานภาพสมรส ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และการได้รับมอบหมายให้ทำงานล่วงเวลาไม่มี ความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการ 4. ตัวแปรที่สามารถร่วมกันทำนาย การปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ การมีส่วนร่วมใน งาน และการสนับสนุนทางสังคมสามารถร่วมกันพยากรณ์การปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการ ได้ร้อยละ 29.8 (R [superscript 2] =.298) โดยมีสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน ดังนี้ สมการในรูปคะแนนมาตรฐานการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการ =.417 การมีส่วนร่วมในงาน +.213 การสนับสนุนทางสังคม |
Other Abstract: | The purposes of this research were to study predictors variables: personal factors, mandatory overtime, job involvement and social support which could predict job performance of staff nurses, Hospitals under the Jurisdiction of the Department of Medical Service Bangkok Metropolitan Administration. The samples were 311 staff nurses in Hospitals under the Jurisdiction of the Department of Medical Services, Bangkok Metropolitan Administration, selected by simple random sampling method. The research instruments were personal factors, mandatory overtime, job involvement, social support and job performance questionnaires. All questionnaires were tested for content validity and reliability. Statistical technique utilized in data analysis were Percentage, Mean, Standard deviation, Pearson{7f2019}s product moment correlation and Stepwise multiple regression analysis. Major results of this study were as follows: 1. Mean scores of job performance, job involvement, and social support of staff nurses were at the high level (X = 3.87, 3.85, and 3.72, respectively). 2. Mandatory overtime of staff nurses were 65.9%, mean of working time were 20.88 hours per week. 3. Job involvement and social support were significantly positive related to job performance at .05 level (r=.511 and .397, respectively), Marital status, work experience and mandatory overtime had no significantly relationship with job performance of staff nurses. 4. Variables which could significantly predict job performance at .05 level were job involvement and social support, respectively. The predictors all together accounted for 29.8 percent of the variance on job performance of staff nurses (R [superscript2]=.298). The predicted equation in standardized score from the analysis was as follow: Job performance = .417 job involvement + .213 social support. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การบริหารการพยาบาล |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7920 |
ISBN: | 9745324892 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
prinda.pdf | 1.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.