Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79345
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณัติพร นกแก้ว-
dc.contributor.authorนัฐพงษ์ สีพิกา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา-
dc.date.accessioned2022-07-23T03:07:20Z-
dc.date.available2022-07-23T03:07:20Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79345-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564-
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการได้รับคาเฟอีนต่อสมรรถภาพความอดทน การตอบสนองของสารชีวเคมีในร่างกาย และอาการของระบบทางเดินอาหารในนักกีฬาวิ่งฮาล์ฟมาราธอนชาย นักกีฬาวิ่งฮาล์ฟมาราธอนชายที่ฝึกฝนมาอย่างดีจำนวน 8 คนเข้าร่วมในการศึกษาครั้งนี้ การศึกษานี้เป็นการทดลองแบบไขว้ อำพรางฝ่ายเดียว และสุ่มลำดับ กลุ่มตัวอย่างจะได้รับการสุ่มลำดับการทดสอบ 3 เงื่อนไข ได้แก่ 1) ดื่มเครื่องดื่ม 150 มล. ที่มีส่วนผสมคาเฟอีนปริมาณ 6 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. 60 นาที ก่อนการวิ่ง และดื่มอีกครั้งในปริมาณ 3 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ในนาทีที่ 45 ระหว่างการวิ่ง (รับคาเฟอีนก่อนและระหว่างการวิ่ง), 2) ดื่มเครื่องดื่ม 150 มล. ที่มีส่วนผสมคาเฟอีนปริมาณ 6 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. 60 นาที ก่อนการวิ่ง และในนาทีที่ 45 ระหว่างการวิ่งได้รับยาหลอก (รับคาเฟอีนก่อนวิ่งเพียงครั้งเดียว) และ 3) ดื่มเครื่องดื่ม 150 มล. ที่เป็นยาหลอกทั้งก่อนและระหว่างการวิ่ง (ยาหลอก) กลุ่มตัวอย่างทดสอบการวิ่งจนถึงระยะเวลาเหนื่อยหมดแรงบนลู่กลไฟฟ้าเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของสมรรถภาพความอดทน การตอบสนองของสารชีวเคมีในร่างกาย และอาการของระบบทางเดินอาหาร โดยระดับคาเฟอีนในเลือด ระดับกรดไขมันอิสระในเลือด ระดับน้ำตาลในเลือด ระดับกรดแลคติกในเลือด อาการของระบบทางเดินอาหาร และระดับการรับรู้ความรู้สึกเหนื่อย วิเคราะห์ผลด้วยด้วยวิธีทดสอบความแปรปรวนแบบเกี่ยวข้องกันแบบสองทาง ระยะเวลาของการออกกำลังกายจนเหนื่อยหมดแรง และปริมาณการสูญเสียน้ำ วิเคราะห์ผลด้วยด้วยวิธีทดสอบแบบเกี่ยวข้องกันแบบทางเดียว กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัย การรับคาเฟอีนก่อนวิ่งเพียงครั้งเดียว (6 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก.) มีผลทำให้ระยะเวลาของการวิ่งจนเหนื่อยหมดแรงยาวนานกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับยาหลอก (2.29%) การรับคาเฟอีนก่อนและระหว่างการวิ่งมีผลต่อระดับกรดไขมันอิสระในเลือด โดยพบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มยาหลอก ระดับของกรดแลคติกในเลือด และอาการของระบบทางเดินอาหารของกลุ่มที่ได้รับคาเฟอีนก่อนและระหว่างการวิ่ง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับคาเฟอีนก่อนการวิ่งเพียงครั้งเดียวและกลุ่มยาหลอก และการรับรู้ความรู้สึกเหนื่อย ระดับน้ำตาลในเลือด และปริมาณการสูญเสียน้ำ ทุกกลุ่มไม่แตกต่างกัน สรุปผลวิจัย การได้รับคาเฟอีน 6 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ก่อนการวิ่ง อาจสามารถเพิ่มสมรรถภาพความอดทนในนักกีฬาวิ่งฮาล์ฟมาราธอนได้ดีกว่าการได้รับคาเฟอีน 6 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก.  60 นาที ก่อนการวิ่ง และ 3 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ในนาทีที่ 45 ระหว่างการวิ่ง-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to examine the effects of caffeine ingestion during event on endurance performance, biochemical responses, and gastrointestinal symptoms in male half marathon runners. Eight male, well-trained half marathon runners were participated in this randomized, single-blinded, crossover trial. Participants were randomly undergone 3 conditions; 1) ingested 150 ml fluid containing 6 mg·kg−1 BM of caffeine 60 min before exercise and 150 ml fluid containing 3 mg·kg−1 BM of caffeine at 45 min during exercise (PRE&DUR CAF), 2) ingested 150 ml fluid containing 6 mg·kg−1 BM of caffeine 60 min before exercise and 150 ml fluid with placebo at 45 min during exercise and (PRE CAF) 3) ingested 150 ml fluid with placebo 60 min before exercise and 150 ml fluid with placebo at 45 min during exercise (PLA). Participants performed the time to exhaustion test on a motorized treadmill to determine the endurance performance, biochemical responses, and gastrointestinal symptoms. Serum caffeine concentrations, serum free fatty acid concentrations, serum glucose concentrations, blood lactate concentrations, gastrointestinal symptoms, and RPE were analyzed using a two-way analysis of variances (ANOVA). Time to exhaustion and fluid loss were analyzed using a one-way analysis of variances (ANOVA). Statistical significance was accepted at p < 0.05 for all tests. Results indicated significant increases in time to exhaustion in PRE CAF condition compared to PLA condition (2.29%). However, serum FFAs concentrations in PRE&DUR CAF condition was significantly higher than PLA condition, blood lactate concentrations and gastrointestinal symptoms in PRE&DUR CAF condition was significantly different from PRE CAF and PLA conditions, and RPE, serum glucose concentrations, and fluid loss were not significantly different. In conclusion, consumption of 6 mg·kg−1 BM of caffeine 60 min before exercise may improve endurance performance in male half-marathon runners compare to consumption of 6 mg·kg−1 BM of caffeine 60 min before exercise and 3 mg·kg−1 BM of caffeine at 45 min during exercise.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.836-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectคาเฟอีน-
dc.subjectนักวิ่ง-
dc.subjectการวิ่งระยะไกล-
dc.subjectสมรรถภาพทางกาย-
dc.subjectCaffeine-
dc.subjectRunners (Sports)-
dc.subjectLong-distance running-
dc.subjectPhysical fitness-
dc.subject.classificationHealth Professions-
dc.titleผลของการได้รับคาเฟอีนระหว่างการวิ่ง ต่อสมรรถภาพความอดทนในนักวิ่งฮาล์ฟมาราธอนชาย   -
dc.title.alternativeThe effects of caffeine ingestion during event on endurance performance in male half marathon runners-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2021.836-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6370009539.pdf5.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.