Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79390
Title: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความเครียดในผู้ดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อม
Other Titles: Factors related to stress of dementia patients’ caregivers
Authors: ปวีณา ทักษิณาเจนกิจ
Advisors: จิราพร เกศพิชญวัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Subjects: ผู้ดูแล -- ความเครียดในการทำงาน
ภาวะสมองเสื่อม -- ผู้ป่วย
ผู้ป่วย -- การดูแล
Caregivers -- Job stress
Dementia -- Patients
Care of the sick
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ระดับความเครียดของผู้ดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง เพศ ความสัมพันธ์ต่างเกื้อกูลกับผู้สูงอายุ ชั่วโมงในการดูแล คุณภาพการนอนหลับ ความสอดคล้องในการมองโลก อารมณ์ขัน กับความเครียดในผู้ดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อม กลุ่มตัวอย่างคือ คือผู้ดูแลหลักที่มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปเพศชายและเพศหญิงที่ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะสมองเสื่อมระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง และมารับการตรวจติดตามผลการรักษา ณ คลินิกผู้สูงอายุ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ 2 แห่ง จำนวน 120 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบหลายขั้นตอน เครื่องมือในการเก็บข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อม แบบประเมินการนอนหลับของผู้ดูแล แบบวัดอารมณ์ขันหลายมิติ แบบสอบถามความสัมพันธ์ต่างเกื้อกูลระหว่างผู้สูงอายุและญาติผู้ดูแล และแบบประเมินทดสอบความสอดคล้องในการมองโลก ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ได้ค่าความตรงตามเนื้อหาของแบบสอบถามเท่ากับ 1 , 0.96 , 1 , 0.99 และ 0.98  ตามลำดับและมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.89, 0.97, 0.95, 0.91 และ 0.83 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ระดับความเครียดของผู้ดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมโดยรวมคือ ไม่มีภาวะเครียด คิดเป็นร้อยละ 51.7 2. เพศ ไม่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของผู้ดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อม โดยในเพศชายและเพศหญิงมีความเครียดโดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ปัจจัยความสัมพันธ์ต่างเกื้อกูลกับผู้มีภาวะสมองเสื่อม และ ความสอดคล้องในการมองโลก มีความสัมพันธ์กับภาวะความเครียดของผู้ดูแล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.001 (r= - 0.598, p<0.001) และ (r= - 0.246, p=0.001) ตามลำดับ 4. ชั่วโมงในการดูแล และ คุณภาพการนอนหลับ ไม่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของผู้ดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อม (p= 0.132 และ 0.790 ตามลำดับ) 5. อารมณ์ขัน มีความสัมพันธ์กับภาวะความเครียดของผู้ดูแลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.001
Other Abstract: This research aimed to study dementia-patient caregiver’s stress levels and to study the correlation between genders, elderly mutuality, caring hours, sleep quality, sense of coherence, humor and stress levels in dementia-patient caregivers. The sample over who took care of patients with dementia. There were 120 patients and came for a follow-up examination at elderly clinic at two Tertiary hospital . The Multi-stage sampling method was used in the study. Moreover, data collection tools included Personal Information Questionnaire; Burden of Caregivers in Caring Patients with Dementia Measurement; Caregiver Sleep Assessment; Humor Measurement; Supportive Mutuality Between Elderly and Relatives Caregivers Questionnaire; and Sense of Coherence Assessment. The data collection tools were tested by 5 experts, yielding the content validity of 1, 0.96, 1, 0.99, and 0.98 respectively whereas their reliability was 0.89, 0.97, 0.95, 0.91, and0.83 respectively. Finally, data were analyzed using descriptive statistics and Spearman rank coefficients The results of the research could be summarized as follows. 1. The overall stress levels of caregivers of patients with dementia was shown to be none which was accounted for 51.7 percent. 2. Gender, caring hours and sleep quality were not associated with the stress of dementia-patient caregivers. There was no statistically significant. 3. The factors between supportive mutuality in patients with dementia and sense of coherence showed correlated with the stress of the caregivers. They were statistically significant at p<0.001 (r= 0.598, p<0.001) and (r=0.246, p=0.001), respectively. 4. Humor was significantly associated with the caregiver’s stress at p<0.001.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79390
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.758
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.758
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6077338636.pdf4.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.