Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79667
Title: กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความกล้าหาญอดทน: พลังของความใฝ่ฝันและความบากบั่นพากเพียร
Other Titles: Secondary school academic management strategies based on the concept of grit: the power of passion and perseverance
Authors: สายถวิล แซ่ฮ่ำ
Advisors: เพ็ญวรา ชูประวัติ
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: การบริหารโรงเรียน
School management and organization
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดความกล้าหาญอดทนฯ และการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา 2) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความกล้าหาญอดทนฯ และ 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความกล้าหาญอดทนฯ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ (Multiphase Mixed Method Research) เก็บข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data Collect) ร่วมกับเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data Collection) กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 272 โรงเรียนทั่วประเทศ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมของกรอบแนวคิด แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความกล้าหาญอดทนฯ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างกลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความกล้าหาญอดทนฯ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงบรรยาย คือ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNIModified) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา  ผลการวิจัยพบว่า 1. กรอบแนวคิดความกล้าหาญอดทนฯ ประกอบด้วย 4 คุณลักษณะ คือ 1) คุณลักษณะด้านความสนใจ (Interest)  2) คุณลักษณะด้านการฝึกฝน (Practice) 3) คุณลักษณะด้านความมุ่งมั่นต่อเป้าหมาย (Purpose) และ 4) คุณลักษณะด้านความมุ่งหวัง (Hope) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา ประกอบด้วย การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดกระบวนการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผล และการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 2. จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความกล้าหาญอดทนฯ พบว่า การบริหารงานวิชาการ จุดแข็งคือ การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ การจัดกระบวนการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล ตามลำดับ จุดอ่อนคือ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เมื่อพิจารณาคุณลักษณะความกล้าหาญอดทนฯ พบว่า จุดแข็งคือ ด้านคุณลักษณะด้านความมุ่งมั่นต่อเป้าหมาย (Purpose) และคุณลักษณะด้านการฝึกฝน (Practice) จุดอ่อนคือ ด้านคุณลักษณะด้านความสนใจ (Interest) และคุณลักษณะด้านความมุ่งหวัง (Hope) โอกาสที่เอื้อในการบริหารวิชาการ คือ เทคโนโลยี และสภาพสังคม ภาวะคุกคามคือ การเมืองและนโยบายของรัฐ และสภาพเศรษฐกิจ 3. กลยุทธ์หลักการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความ กล้าหาญอดทนฯ ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลักคือ 1) ปรับปรุงหลักสูตรของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความกล้าหาญอดทนฯ ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์รอง คือ 1.1) กำหนดให้คุณลักษณะด้านความมุ่งหวัง (Hope) เป็นอัตลักษณ์ของผู้เรียน 1.2) เพิ่มเป้าหมายการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะด้านความสนใจ (Interest) และความมุ่งหวัง (Hope) 2) พัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความกล้าหาญอดทนฯ ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์รอง คือ 2.1) ส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะด้านความสนใจ (Interest) 2.2) เสริมสร้างกิจกรรมการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะด้านความมุ่งหวัง (Hope) และคุณลักษณะด้านความมุ่งมั่นต่อเป้าหมาย (Purpose) และ 3) พลิกโฉมการวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความกล้าหาญอดทนฯ ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์รอง คือ 3.1) สร้างและพัฒนาเกณฑ์การวัดและประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมินตนเองและประเมินเพื่อนเกี่ยวกับคุณลักษณะด้านความสนใจ (Interest) และคุณลักษณะด้านความมุ่งหวัง (Hope) 3.2) ออกแบบวิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินผล เพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้มีคุณลักษณะด้านความมุ่งมั่นต่อเป้าหมาย (Purpose)
Other Abstract: The research objectives were to: 1) study the conceptual framework of grit and secondary school academic management; 2) study strengths, weaknesses, opportunities and threats of secondary school academic management based on the concept of grit and 3) develop secondary school academic management strategies according to the concept of grit. The research applied a multi-phase mixed method design through quantitative and qualitative data collection. The samples were 272 secondary schools under the Office of the Basic Education Commission in Thailand. The research instruments were conceptual framework evaluation form, questionnaires for present and desirable state of secondary school academic management based on the concept of grit; and feasibility and appropriateness of strategy evaluation form. The quantitative data were analyzed by percentage, frequency, mean, standard deviation, and Modified Priority Needs Index (PNIModified). Qualitative data were analyzed by content analysis. The results were as follows: 1. The conceptual framework of grit consisted of 4 aspects of attributes: 1) Attribute of interest, 2) Attribute of practice, 3) Attribute of purpose 4) Attribute of hope. The conceptual framework of secondary school academic management consisted of the school curriculum development, organizing the learning process, assessment and evaluation of learning and development of learning resources. 2. Strengths, weaknesses, opportunities and threats of secondary school academic management based on the concept of grit, the results found that strengths were the development of learning resources, organizing the learning process and assessment and evaluation of learning. Weakness was the school curriculum development. When considering each aspect of the grit attributes, found that strengths were the attributes of purpose and the attributes of practice. Weaknesses were the attributes of interest and the attributes of hope. Opportunities for academic management were technology and social sectors. Threats were the political and government policies and economic sectors. 3. Secondary school academic management strategies according to the concept of grit consisted of 3 main strategies: 1) Improve the curriculum of secondary school based on the concept of grit with 2 sub-strategies which were 1.1) Specified hope attribute be used as learner identity, 1.2) Increasing instructional goals to enhance attributes of interest and hope. 2) Develop the organization of learning processes and learning resources of secondary school based on the concept of grit with 2 sub-strategies were 2.1) Supporting learning activities and learning resources to develop the interest attribute, 2.2) Enhancing learning activities and learning resources to develop attributes of hope and purpose. 3) Transform the measurement and evaluation to develop secondary school learners based on the concept of grit with 2 sub-strategies were 3.1) Creating and developing measurement and evaluation criteria to develop learners by encouraging self-assessments and peer assessments of interest and hope attributes, 3.2) Designing methods and tools for measurement and evaluation that enhance attributes of purpose.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79667
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.725
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.725
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6184468727.pdf29.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.