Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79669
Title: การพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมความสามารถด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะของครูสุขศึกษาโดยใช้แนวคิดโค้ชทางปัญญาแบบเพื่อนช่วยเพื่อนร่วมกับแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน
Other Titles: Development of curriculum to enhance the ability of competency–based learning management design for health education teachers by using peer cognitive coaching with blended learning management approaches
Authors: ฉัตรชณา เพริดพริ้ง
Advisors: จินตนา สรายุทธพิทักษ์
สุธนะ ติงศภัทิย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: ครูสุขศึกษา
การเรียนรู้แบบผสมผสาน
การวางแผนหลักสูตร
ระบบการเรียนการสอน -- การออกแบบ
Health education teachers
Blended learning
Curriculum planning
Instructional systems -- Design
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรส่งเสริมความสามารถด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้ ฐานสมรรถนะของครูสุขศึกษาโดยใช้แนวคิดโค้ชทางปัญญาแบบเพื่อนช่วยเพื่อนร่วมกับแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน และ 2) ประเมินประสิทธิผลหลักสูตรอบรมที่พัฒนาขึ้น มีวิธีการดำเนินการวิจัย 2 ระยะ ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรอบรม และการประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรส่งเสริมความสามารถด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูสุขศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตพื้นที่ภาคกลาง จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจงและผ่านเกณฑ์การคัดเข้า ระยะเวลาการอบรม 3 วัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความรู้ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะของ ครูสุขศึกษา แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 2 ฉบับ ที่มีลักษณะคู่ขนานกัน ฉบับที่ 1 ใช้ก่อนการทดลอง ส่วนฉบับที่ 2 ใช้หลัง การทดลองมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.84, 0.83 ค่าความเที่ยง 0.83, 0.84 ค่าความยาก – ง่าย อยู่ในช่วง 0.6 – 0.75, 0.5 – 0.75 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง 0.2 – 0.5, 0.2 - 0.5  ตามลำดับ ผลการตรวจสอบความเป็นคู่ขนานแบบวัดทั้ง 2 ฉบับได้ค่าดัชนี ความสอดคล้อง 0.88 และ พบว่า แบบวัดทั้ง 2 ฉบับไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนแบบประเมินการปฏิบัติในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะในวิชาสุขศึกษาโดยใช้เกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริค (Scoring rubric) มีค่า ดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1 ค่าความเที่ยงโดยการวิเคราะห์ค่าความสัมพันธ์แบบเพียร์สัน อยู่ระหว่าง 0.932 ถึง 0.986 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบด้วยสถิติที ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรอบรมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย (1) หลักการและความเป็นมา (2) วัตถุประสงค์ (3) โครงสร้างหน่วยการเรียนรู้ประกอบด้วย 5 หน่วยการเรียนรู้ (4) กิจกรรมที่ใช้ในหลักสูตรอบรม (5) ระยะเวลาของหลักสูตรอบรม (6) สื่อที่ใช้ในหลักสูตรอบรม (7) แผนการอบรมแต่ละหน่วยของการอบรม และ (8) การประเมินผลหลักสูตร หลักสูตรอบรมผ่านการประเมินคุณภาพมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมเท่ากับ 4.45 อยู่ในระดับเหมาะสมมาก มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถนำไปใช้ได้ 2) การประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรอบรมที่พัฒนาขึ้น พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะด้านความรู้และด้านการปฏิบัติในการออกแบบจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะของ ครูสุขศึกษาหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The research aims to 1) develop a curriculum to enhance the ability of competency-based learning management design for health education teachers by using peer cognitive coaching with blended learning management approaches, and 2) assess the effectiveness of the training curriculum. There were two phases of research methodology: development of training curriculum, and the evaluation of the effectiveness of the developed training curriculum. The participants consisted of 30 health education teachers in secondary school who volunteered and met the inclusion criterion. The duration of the training curriculum was 3 days. The research instruments were the 2 edition of knowledge measurement form in the design of competency-based learning management of health education teachers, multiple-choice, for before and after the experiment, an IOC of 0.84, 0.83, reliability 0.83, 0.84, difficulty - easy, in the range of 0.6 - 0.75, 0.5 - 0.75, and power of discrimination in the range of 0.2 - 0.5, 0.2 - 0.5, respectively.  In parallel, both measurements had a consistency index of 0.88 and found that the two measurements were not significantly different at the .05 level. In addition, practice in designing competency-based learning management evaluation using the scoring rubric had an IOC of 1; the reliability by Pearson's correlation analysis was between 0.932 and 0.986, and had a significant statistical significance at .00. Data was analyzed by finding the mean, standard deviation and dependent t-tested. The research results are as follows: 1) The developed training curriculum consists of (1) Principles and background, (2) Objectives, (3) The learning units which consist of 5 learning units, (4) Activities used in the training curriculum, (5) Materials used, (6) The duration of the training curriculum, (7) Evaluate the curriculum, and (8) Curriculum plans for each unit of training. Training curriculum through quality assessment with average suitability of 4.63 at the most appropriate level. It has a content validity of 1 which is within the applicable criteria. 2) The effectiveness of the developed training curriculum found that the mean scores of competence in designing learning management, knowledge-based competency, and practice in designing competency-based learning management of health education teachers after the experiment was higher than before the experiment with statistical significance at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: สุขศึกษาและพลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79669
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.1096
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.1096
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6184481827.pdf5.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.