Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79724
Title: | โปรแกรมส่งเสริมความตระหนักรู้และพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยใช้ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้ปัญญาทางสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น |
Other Titles: | Self-awareness and prevention behavior program of COVID-19 using reasoned action theory and social intelligence learning theory of secondary school students |
Authors: | อานนท์ กองสุวรรณ |
Advisors: | จินตนา สรายุทธพิทักษ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความตระหนักรู้และพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมความตระหนักรู้และพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยใช้ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้ปัญญาทางสังคมจำนวน 20 คน และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรมจำนวน 20 คน โดยวิธีการจับคู่ (Matching Method) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมส่งเสริมความตระหนักรู้และพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยใช้ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้ปัญญาทางสังคม มีค่าดัชนีความสอดคล้องรวม 0.98 แบบวัดความตระหนักรู้และแบบวัดพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.99 และ 0.95 มีค่าความเที่ยง 0.84 และ 0.82 ระยะเวลาในการวิจัย 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่าที่ ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความตระหนักรู้และพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความตระหนักรู้และพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019หลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 |
Other Abstract: | Purposes: To compare mean scores of self-awareness and prevention behavior of Covid - 19 after implementation between the experimental group and the control group. Methods: The samples were 40 secondary school students and were divided into two groups each group 20. The research instruments consisted of 7 activities: 1. Self - assessment, 2. Information recognition, 3. Practice, 4. Reinforce and Suggest, 5. My idol, 6. Consult, and 7. Student Leader with IOC of 0.98 and the data collection instruments included self-awareness and prevention behavior test with IOC of 0.99 and 0.95 reliabilities of 0.84 and 0.82, and discrimination of 0.26 – 0.69 and 0.31 – 0.69. The duration of the experiment was 8 weeks. The data were analyzed by mean, standard deviation, and t - test (paired - Sample t - test, independent sample t - test). Results: The research finding was as follows: The mean scores of self - awareness and prevention behavior of Covid-19 of the experimental group students after the assigned program were significantly higher than before the assigned program at a .05 level, and the mean scores of self - awareness and higher than the control group students at .05 level. Conclusion: Self - awareness and prevention behavior program of COVID - 19 using reasoned action theory and social intelligence learning theory of secondary school can improve self-awareness and prevention behavior in secondary school. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สุขศึกษาและพลศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79724 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.1108 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2021.1108 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6380204027.pdf | 4.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.