Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7980
Title: | การนำเสนอเอกลักษณ์ "ความเป็นไทย" ในรายการ คุณพระช่วย |
Other Titles: | The presentation of Thainess identity in "Khunprachuay" variety show |
Authors: | จันทนา เพชรพรหม |
Advisors: | พัชนี เชยจรรยา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Patchanee.C@chula.ac.th |
Subjects: | คุณพระช่วย (รายการโทรทัศน์) สื่อมวลชนกับวัฒนธรรม |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาเอกลักษณ์ "ความเป็นไทย" และวิธีการนำเสนอในรายการ คุณพระช่วย 2) ศึกษาความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อเอกลักษณ์ "ความเป็นไทย" และ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นและความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อรายการ คุณพระช่วย การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก คือ การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการผลิตรายการคุณพระช่วย ซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 3 คน ได้แก่ ผู้จัดการฝ่ายผลิต, พิธีกรและผู้ร่วมรายการ นอกจากนี้ได้ใช้วิธีการสังเกตเทปบันทึกรายการเป็นเครื่องมือช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนที่ 2 การวิจัยเชิงทดลอง ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 108 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 54 คน ซึ่งจะได้ชมเทปรายการ คุณพระช่วย ก่อนตอบแบบสอบถามอีกกลุ่มหนึ่ง คือ กลุ่มควบคุมจำนวน 54 คน ซึ่งจะตอบแบบสอบถามโดยไม่ได้ชมเทปรายการ ผลการวิจัยพบว่า 1. ความเป็นไทยที่นำเสนอในรายการ คุณพระช่วย ประกอบด้วยความเป็นไทยทั้งในด้านรูปธรรมและนามธรรม สำหรับความเป็นไทยที่พบมากที่สุด ได้แก่ ดนตรีไทย โดยได้นำเสนอทั้งในรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน และแบบที่มีการประยุกต์ ซึ่งการนำเสนอแบบที่ 2 นี้ ผู้ผลิตมีจุดมุ่งหมายเพื่อดึงดูดผู้ชมในกลุ่มวัยรุ่น 2. กลยุทธ์การนำเสนอรายการ คุณพระช่วย ผู้ผลิตให้ความสำคัญกับเนื้อหามากที่สุด โดยเน้นนำเสนอสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความเป็นไทย สำหรับวิธีการนำเสนอประกอบด้วย 1) พิธีกร เป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับความเป็นไทย ยิ้มแย้ม มีอารมณ์ขัน และเป็นกันเอง 2) ผู้รวมรายการ มีทั้งผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่นำเสนอในแต่ละตอน และกลุ่มศิลปินรุ่นใหม่ ที่มีความสามารถมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก 3) บรรยากาศ เป็นสิ่งที่ช่วยเสริมเอกลักษณ์ "ความเป็นไทย" ให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ประกอบด้วย ฉาก แสง สี เสียง และอุปกรณ์ประกอบฉาก 4) รูปแบบในการนำเสนอแตกต่างจากรายการปกิณกะบันเทิงรายการอื่น โดยทุกช่วงจะนำเสนอแบบสบายๆ ไม่มีรูปแบบตายตัวและมีความสอดคล้องกันตลอดทั้งรายการ 3. กลุ่มวัยรุ่นทั้งที่ได้ชมและไม่ได้ชมรายการ มีความคิดเห็นต่อเอกลักษณ์ "ความเป็นไทย" ไม่แตกต่างกัน โดยมีความคิดเห็นอยู่ในระดับที่ดี สำหรับผู้ที่ได้ชมรายการจะมีความคิดเห็นต่อภาพรวมของรายการในทางบวก และมีความพึงพอใจต่อรายการอยู่ในระดับสูง |
Other Abstract: | The objectives of this research were to study 1) the Thainess identity and the presentation of "Khunprachuay" variety show. 2) Sample's opinion about the Thainess identity; and 3) the opinion and gratification of the sample to the Khunprachuay program. The research was divided into two parts. The first part was to conduct "Qualitative Research" by in-depth interviewing three key informants: producer, host and guest who involved in this program. And the observations from the program tape recording were conducted. For the experimentation, the total samples of 108 persons were divided into two groups: experimental and controlled groups. The experimental group was exposed to the video tapes on Khumprachuay program, while the controlled group were asked to answer the questionnaires without exposure to the program tape recording. The findings were as follows: 1. Khunprachuay program presented both abstract and concrete Thainess. The most Thainess identity of the program was Thai music that portrayed in standard and applied style. 2. The presentation strategies were mostly focused on the content relating to the Thailness. The presentation techniques were consisted of. 1) Program host who were not only friendly and humorous, but also familiar with Thainess, 2) The program guests were both Thainess specialists and young celebrities. 3) The program atmosphere consisted of the scenery, light, sound and the overall screend picture which supported more Thainess identity. 4) The presenting style was distinguished from other variety shows. Each break presented relax, informal, flexible style corresponding to the Thainess, throughout the program. 3. all samples had a good opinion about Thainess identity. The viewers had positive opinion, and their level of program gratification was high. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตรพัฒนาการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7980 |
ISBN: | 9741437382 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
chanthana.pdf | 2.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.