Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79824
Title: | การผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพจาก Bacillus subtilis BBK-1 และการเตรียมแผ่นเส้นใยอิเล็กโทรสปันต้านแบคทีเรีย |
Other Titles: | Biosurfactant production from Bacillus subtilis BBK-1 and preparation of antibacterial electrospun fibers |
Authors: | ทิพนิภา อยู่แฉ่ง |
Advisors: | จิราภรณ์ ธนียวัน จิรารัตน์ อนันตกูล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพจาก B. subtilis BBK-1 ในอาหารเหลวปรับปรุงสูตรที่ประกอบด้วย น้ำตาลกลูโคส 60 กรัม แอมโมเนียมไนเตรต 2 กรัม สารสกัดจากยีสต์ 5 กรัม แมกนีเซียมซัลเฟต 0.5 กรัม ไอร์ออนซัลเฟต 0.15 กรัม โซเดียมคลอไรด์ 5 กรัม ในอาหารเหลว 1 ลิตร ความเป็นกรดเบสเริ่มต้นของอาหารเท่ากับ 7.5 ในการเพาะเลี้ยงระดับขวดเขย่า ควบคุมอุณหภูมิการเพาะเลี้ยงที่ 30 องศาเซลเซียส อัตราการเขย่า 200 รอบต่อนาที เพาะเลี้ยงเชื้อเป็นเวลา 3 วัน ให้ผลผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพ 0.40 กรัมต่อลิตร เพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพจึงได้ขยายระดับการผลิตเป็นระดับถังหมักขนาด 5 ลิตร แบบแบตช์ พบว่า ภาวะที่เหมาะสมที่สุดในการเพาะเลี้ยงเชื้อ คือ ควบคุมอุณหภูมิเลี้ยงเชื้อ 30 องศาเซลเซียส อัตราเร็วใบกวน 300 รอบต่อนาที อัตราการให้อากาศ 1.5 vvm เป็นเวลา 3 วัน ให้ผลผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพเท่ากับ 4.55 กรัมต่อลิตร มีค่าประสิทธิภาพการผลิต (QP) และ ผลผลิตที่ได้ต่อหน่วยเซลล์ (YP/X) เท่ากับ 0.0632 กรัมต่อลิตรต่อชั่วโมง และ 0.5522 กรัมต่อกรัม ตามลำดับ ซึ่งการผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพในถังหมักขนาด 5 ลิตร แบบแบตช์ ให้ปริมาณผลผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพมากกว่าในระดับขวดเขย่าถึง 11.41 เท่า สารลดแรงตึงผิวชีวภาพที่ผลิตได้มีค่าความเข้มข้นวิกฤตการเกิดไมเซลล์เท่ากับ 439.88 มิลลิกรัมต่อลิตร ให้ค่าแรงตึงผิวต่ำสุดเท่ากับ 39.03 มิลลินิวตันต่อเมตร และมีสมบัติต้านจุลินทรีย์ทั้ง แบคทีเรีย และรา เมื่อนำสารลดแรงตึงผิวชีวภาพไปประยุกต์ใช้ในการเตรียมแผ่นเส้นใยอิเล็กโทรสปันต้านแบคทีเรีย พบว่า สารลดแรงตึงผิวชีวภาพที่เติมลงไปมีผลต่อความหนืด ความนำไฟฟ้า พีเอช และค่าแรงตึงผิวของสารละลายพอลิเมอร์เจลาตินที่ใช้ขึ้นรูปเส้นใย ทำให้เส้นใยอิเล็กโทรสปันที่ผลิตได้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กลง เมื่อนำแผ่นเส้นใยอิเล็กโทรสปันไปทำปฏิกิริยาเชื่อมขวางด้วยไอกลูตาราลดีไฮด์เป็นเวลา 10 และ 30 นาที พบว่าช่วยทำให้เส้นใยมีความแข็งแรงขึ้น และช่วยทำให้แผ่นเส้นใยมีเปอร์เซ็นต์การบวมพองและน้ำหนักที่หายไปของแผ่นเส้นใยลดลง นอกจากนี้ ยังพบว่าแผ่นเส้นใยอิเล็กโทรสปันที่มีการเติมสารลดแรงตึงผิวชีวภาพ สามารถช่วยลดอัตราการเจริญของเชื้อ S. aureus ATCC 6538P ได้ดีกว่าแผ่นแปะสิวทางการค้า |
Other Abstract: | Biosurfactant from B. subtilis BBK-1 was produced upon cultivating in modified medium which consisted of 60 g glucose, 2 g NH4NO3, 5 g yeast extract, 0.5 g MgSO4•7H2O, 0.15 g FeSO4•7H2O and 5 g NaCl in 1 litre of medium (pH 7.5). The cultivation flask was shaken at 30°C and 200 rpm. After 3 days of cultivation, the highest crude biosurfactant was produced at 0.40 g/L. To improve biosurfactant yield and productivity, the biosurfactant production was scaled up to 5-L bioreactor. The optimum condition was found at 30°C, 300 rpm agitation and 1.5 vvm aeration rate for 3 days. This condition resulted in the biosurfactant concentration (P), productivity (QP) and yield (YP/X) of 4.55 g/L, 0.0632 g-P/L/h and 0.5522 g-P/g-X, respectively. The amount of biosurfactant produced after scaling up increased by 11.4-fold. The obtained biosurfactant showed a critical micelle concentration value of 439.88 mg/L at the surface tension of 39.03 mN/m. In addition, it showed potent antimicrobial property against bacteria and fungi. For preparation of antibacterial electrospun fibers, addition of biosurfactant into electrospun polymer solution had effect on viscosity, conductivity, pH and surface tension of solution. The presence of biosurfactant resulted in a decrease in diameter of electrospun fiber. Crosslinking of electrospun fiber by saturated glutaraldehyde for 10 and 30 minutes could improve mechanical properties, decrease degree of swelling and percentage of weight loss of the fiber mat. Furthermore, the biosurfactant-loaded electrospun fiber showed antibacterial activity against S. aureus ATCC 6538P that was better than commercialized acne dressing. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จุลชีววิทยาและเทคโนโลยีจุลินทรีย์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79824 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.331 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.331 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5671970323.pdf | 7.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.