Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7989
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ใกล้รุ่ง อามระดิษ | - |
dc.contributor.advisor | ณัฐพร พานโพธิ์ทอง | - |
dc.contributor.author | นัทธนัย ประสานนาม | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2008-09-05T06:18:33Z | - |
dc.date.available | 2008-09-05T06:18:33Z | - |
dc.date.issued | 2548 | - |
dc.identifier.isbn | 9745325392 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7989 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 | en |
dc.description.abstract | ศึกษาเรื่องสั้นแนวเสียดสีของไทยระหว่าง พ.ศ. 2535-2545 ในแง่แนวคิดและกลวิธี การศึกษาพบว่าแนวคิดที่สำคัญ ได้แก่ การวิจารณ์ความบกพร่องของคนกลุ่มต่างๆ ในสังคมโดยเฉพาะนักการเมือง การวิจารณ์สังคมเมืองในฐานะสังคมทุนนิยมสมัยใหม่ และการวิจารณ์สังคมไทยในประเด็นอื่นๆ โดยเฉพาะปัญหาทางจริยธรรม กลวิธีเสียดสีปรากฏผ่านการสร้างองค์ประกอบ กลวิธีการประพันธ์ และกลวิธีทางภาษา ลักษณะเด่นที่พบคือ เรื่องสั้นแนวเสียดสีส่วนใหญ่ใช้โครงเรื่องธรรมดา เพื่อสื่อแนวคิดวิจารณ์และใช้เนื้อเรื่องเพื่อสร้างความขบขัน ส่วนโครงเรื่องขบขันเน้นเล่นกับความคาดหมายของผู้อ่าน ตัวละครเป็นองค์ประกอบหลักที่นักเขียนใช้โจมตีเป้าของการเสียดสี โดยเฉพาะตัวละครมนุษย์และตัวละครที่ไม่ใช่มนุษย์ ที่มีลักษณะไม่สอดคล้องกับมาตรฐานปกติทั้งด้านรูปลักษณ์และพฤติกรรม ทั้งนิ้ฉากที่พบยังมีบทบาทในการสร้างความขบขันด้วย กลวิธีการประพันธ์ที่สำคัญคือ กลวิธีการเลือกใช้ผู้เล่าเรื่อง ผู้เล่าเรื่องส่วนใหญ่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของนักเขียนในการวิจารณ์เป้าของการเสียดสี กลวิธีการตั้งชื่อเรื่องทั้งหมดทำหน้าที่ในการสร้างเอกภาพของเรื่อง เร้าความสนใจของผู้อ่าน ตลอดจนลวงความคิดของผู้อ่านเพื่อจะนำไปสู่การพลิกความคาดหมาย นอกจากนั้นยังมีการนำเสนอเรื่องสั้นในรูปแบบพิเศษเพื่อสร้างความขบขัน และเป็นการทดลองรูปแบบใหม่ๆ ของเรื่องสั้นซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของเรื่องสั้นแนวเสียดสีในช่วงเวลานี้ กลวิธีทางภาษาที่พบเน้นสร้างความขบขันจากความไม่เข้ากัน กลวีที่โด่นเด่นคือการใช้ถ้อยคำแฝงนัยเพื่อประชดประชันเป้าของการเสียดสีให้เกิดความเจ็บปวด และการสร้างคำโดยอาศัยแนวเทียบที่แสดงให้เห็นความสามารถของนักเขียน ในการพลิกแพลงภาษาเพื่อใช้ในการเสียดสี ผลของการวิจัยชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ที่เด่นชัด ระหว่างแนวคิดกับกลวิธีในเรื่องสั้นแนวเสียดสีของไทย นักเขียนสามารถเลือกใช้กลวิธีเสียดสีที่หลากหลายในการวิจารณ์สังคมไทยได้อย่างแหลมคม | en |
dc.description.abstractalternative | To study the Thai satiric short stories during 1992-2002 in terms of themes and techniques. It is found that the dominant themes consist of the criticism of some groups of people in Thai society, particularly the politicians, the criticism of the urban society as the modern capitalist society and the criticism of other social issues such as the decline of morality. The techniques of satire appear through the construction of literary elements, the use of writing techniques and the use of language techniques. The finding shows that most of the satiric short stories exploit ordinary plots to convey the themes of criticism while the stories are created to produce humor. The short stories which have humorous plots focus on playing with the readers' expectation. The characters are the main element that the authors utilize for attacking the victims of satire. They appear in the forms of both human and non-human characters who are deviant from normal standard in terms of their appearances and behaviors. The settings are also used for creating humor. The important literary technique is the selection of narrator. Most of the narrators take the authors' roles in directing criticism at the targets. The titles of the short stories have its functions in producing the unity of the story, generating the readers' interest and misleading the readers' anticipation for the twisted ending. For humorous result, special forms are also used in presenting the short stories. This experiment of the new forms is the uniqueness of Thai satiric short stories of this period. The language techniques are employed to originate humor from incongruity. Two dominant techniques include the use of verbal irony with sarcastic purpose to hurt the satiric victims and the use of analogy which reflects the writers' remarkable ability in applying words to satirize. The research clearly illustrates the close relationship between the themes and the techniques of Thai satiric short stories. It is showed that the authors are able to use various satiric techniques to sharply criticize the Thai society. | en |
dc.format.extent | 2655719 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | เรื่องสั้นไทย -- ประวัติและวิจารณ์ | en |
dc.subject | ล้อเลียน | en |
dc.subject | หัสนิยาย | en |
dc.title | เรื่องสั้นแนวเสียดสีของไทยระหว่าง พ.ศ. 2535-2545 : การศึกษาแนวคิดและกลวิธี | en |
dc.title.alternative | Thai satiric short stories during 1992-2002 : a study of themes and techniques | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | ภาษาไทย | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Klairung.A@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Natthaporn.P@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
natthanai.pdf | 2.59 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.