Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8015
Title: การจำลองกระบวนการสกัดเอทานอลออกจากสารละลายในน้ำด้วยไฮโดรคาร์บอนผสม
Other Titles: Simulation of ethanol extraction from aqueous solution using hydrocarbon mixture
Authors: สุธี อธิปัญญาพันธุ์
Advisors: เดชา ฉัตรศิริเวช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: deacha.c@chula.ac.th
Subjects: แอลกอฮอล์ -- การแยก
ไฮโดรคาร์บอน
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การจำลองกระบวนการสกัดเอทานอลจากสารละลายเอทานอลในน้ำที่ความเข้มข้นเอทานอลเริ่มต้นร้อยละ 15 โดยมวล ด้วยตัวทำละลายบริสุทธิ์ ประกอบด้วย พาราฟินส์ที่มีจำนวนอะตอมของคาร์บอนตั้งแต่ 3-10 อะตอม อะโรมาติกส์ที่มีจำนวนอะตอมของคาร์บอนตั้งแต่ 6-8 อะตอม แนฟทีนที่มีจำนวนอะตอมของคาร์บอนตั้งแต่ 5-7 อะตอม แอลกอฮอล์ชนิดปฐมภูมิที่มีจำนวนอะตอมของคาร์บอนตั้งแต่ 5-10 อะตอม และไฮโดรคาร์บอนผสม เช่น ก๊าซปิโตรเลียมเหลว รีฟอร์เมต และคอนเดนเสต การใช้บิวเทนเป็นตัวทำลายสามารถเพิ่มความบริสุทธิ์ของเอทานอลได้สูงที่สุดเท่ากับ ร้อยละ 99.21 โดยมวล สำหรับการสกัดเอทานอลด้วยก๊าซปิโตรเลียมเหลวความบริสุทธิ์ของเอทานอลที่ได้มีค่าอยู่ระหว่างร้อยละ 98.97-99.21 โดยมวล ซึ่งจะขึ้นอยู่กับสัดส่วนของปริมาณ โพรเพนในก๊าซปิโตรเลียมเหลว ในขณะที่การใช้รีฟอร์เมตและคอนเดนเสตความบริสุทธิ์ของเอทานอลที่ได้จะมีค่าสูงกว่าร้อยละ 99 โดยมวล สำหรับการผลิตเอทานอลที่มีความบริสุทธิ์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 99 โดยมวลนั้น ตัวทำละลายที่ใช้ในการสกัดสามารถนำกลับเข้าสู่กระบวนการได้เกือบทั้งหมดซึ่งสูญเสียไปในปริมาณน้อยมาก พลังงานที่ต้องการสำหรับกระบวนการมีค่าอยู่ระหว่าง 1.5-2.0 เมกกะจูลต่อกิโลกรัมของสารละลายเริ่มต้นสำหรับการใช้โพรเพน บิวเทน และก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นสารสกัด สำหรับรีฟอร์เมตและคอนเดนเสตพลังงานที่ต้องการใช้มีค่าสูงกว่าประมาณ 10 เท่า
Other Abstract: To separate ethanol from aqueous mixture of 15 %wt, ethanol extraction including recovery system was simulated with C3-C10 n-paraffins, C6-C8 aromatics, C5-C7 naphthene, C5-C10 1 alcohols and hydrocarbon mixtures, i.e. LPG, reformate and condensate. With burane, the purity of ethanol was highest of 99.21 %wt. For extraction with LPG, the purity of ethanol produced was 98.97-99.21 %wt depending on the fraction of propane. While with both reformate and condensate, the ethanol purity was just above 99 %wt. For at least 99% wt ethanol produced, the solvent used was able to be recovered completely. In the circumstances, the process required energy about 1.5-2.0 MJ per kg of feed mixture for propane, butane and LPG, while the energy requirement became tenfold for either reformate or condensate
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8015
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.103
ISBN: 9741429517
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.103
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sutee.pdf2.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.