Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80151
Title: Profile based personalized tourist trip recommendation model
Other Titles: แบบจำลองแนะนำเส้นทางท่องเที่ยวส่วนบุคคลตามฐานโครงร่างทางสังคม
Authors: Chatchawan Wongwattanakit
Advisors: Manoj Lohatepanont
Pongsa Pornchaiwiseskul
Other author: Chulalongkorn University. Graduate School
Issue Date: 2016
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: This study was developed to optimize the personalized tourist trip recommendation model in Phuket, Thailand. Phuket has consistently been a top ranked tourist destination, with 12.5 million tourists generating USD 9.04 million revenue in 2015. In order to develop the personalized tourist model, a socio-demographic study of destination satisfaction was established by administration of a survey on July 14-18, 2016 to 1,221 visitors in the departure hall of Phuket International Airport.The study utilized the survey data by quota sampling from the proportion of the top 4 nationalities visiting Phuket. Analysis of Variance (ANOVA) was employed to examine which socio-demographic factors were statistically significant. Finally, this study carried out a three-way ANOVA to obtain the mean satisfaction from the interaction between the 3 most influential variables and each destination. The findings from one-way ANOVA showed (1)Nationality, Education Income, and first time visitor or not were associated with differences in the level of tourist satisfaction, (2)Thai tourist satisfied coastal attractions less than Chinese significantly, (3)there are no different satisfaction among international tourists for coastal destinations but significantly differed for cultural attractions, (4)tourist with no university degree statistically satisfied coastal and cultural destination different from tourist with post graduate degree. The value of mean satisfaction from three-way ANOVA is used in this model to create recommendation trip based on their profile based.The objective function was to maximize tourist satisfaction.The constraints were the number of attraction/trip, spending time/day, and starting time of the day. The model was validated by 15 tourists from Thai, China, Australia, and Finland.The satisfaction rating scores was 4.06 out of 5.The model will be an initial tool to guide tourists in order to plan or make travel decisions prior to the trip. However once the model is further developed, it will be a comprehensive aspect of tourism management to be utilized by tourism decision makers and businesses to comprehensively manage and market to specific tourist segments.
Other Abstract: วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้คือ เพื่อพัฒนาแบบจำลองแนะนำเส้นทางท่องเที่ยวส่วนบุคคลที่เหมาะสมตามฐานโครงร่างทางสังคม  ในจังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบโควต้าจำนวน 1,221 ตัวอย่าง โดยคำนวณจากสัดส่วนจำนวนนักท่องเที่ยวหลักที่มาเยือนจังหวัดภูเก็ต ทั้งนี้แบบสอบถามแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลความพึงพอใจต่อสถานที่ท่องเที่ยว และข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ใช้วิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (one-way ANOVA) เพื่อ (1) หาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของนักท่องเที่ยวที่มีผลต่อความพึงพอใจในแหล่งท่องเที่ยวประเภทชายหาด และแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ซึ่งมีจำนวน 11 แห่ง และ (2) หาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะการเดินทางที่มีผลต่อความพึงพอใจในสถานที่ท่องเที่ยว หลังจากนั้นเลือกปัจจัยที่มีผลต่อระดับความพึงพอใจในสถานที่ท่องเที่ยวดังกล่าวสูงสุด 3 อันดับแรก มาคำนวณหาค่าเฉลี่ยเพื่อเลือกสถานที่ท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวพึงพอใจสูงสุดตามลำดับ โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสามทาง (Three-way ANOVA) จากนั้นนำผลลัพธ์ที่ได้ไปใช้จัดกำหนดการท่องเที่ยวส่วนบุคคล ผลการศึกษาการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวพบว่า (1) เชื้อชาติ ระดับการศึกษา ระดับรายได้ และการมาท่องเที่ยวภูเก็ตครั้งแรกหรือไม่ มีผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวอย่างมีนัยสำคัญ (2) นักท่องเที่ยวชาวไทยมีค่าความพึงพอใจต่อสถานที่ท่องเที่ยวประเภทชายหาดน้อยกว่านักท่องเที่ยวชาวจีนอย่างมีนัยสำคัญ (3) นักท่องเที่ยวต่างชาติมีความพึงพอใจต่อการท่องเที่ยวชายหาดไม่แตกต่างกัน แต่มีความพึงพอใจต่อแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (4) นักท่องเที่ยวที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี และสูงกว่าปริญญาตรี มีความพึงพอใจต่อแหล่งท่องเที่ยวประเภทชายหาดและแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ  ผลการศึกษาการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสามทางพบว่า ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจที่ได้สามารถนำไปเป็นตัวแทนของกลุ่ม เพื่อใช้สร้างแบบจำลองแนะนำเส้นทางท่องเที่ยวรายบุคคล ตามความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวได้ โดยแบบจำลองนี้กำหนดให้นักท่องเที่ยวใส่ข้อมูลส่วนบุคคล และระยะเวลาในการท่องเที่ยวแต่ละวัน เพื่อนำไปจัดกำหนดการเดินทางที่คาดว่านักท่องเที่ยวจะพึงพอใจสูงสุด โดยแบบจำลองนี้ได้นำไปให้นักท่องเที่ยว 15 คน ประกอบไปด้วยนักท่องเที่ยวชาวจีน ไทย ออสเตรเลีย และ ฟินแลนด์ ประเมินค่าความพึงพอใจของเส้นทางที่จัดให้ พบว่าคะแนนความพึงพอใจของเส้นทางที่จัดให้ได้ค่าเฉลี่ย 4.06 จากคะแนนเต็ม 5  ทั้งนี้แบบจำลองนี้สามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนการตัดสินใจในการวางแผนเส้นทางการท่องเที่ยวส่วนบุคคลตามฐานโครงร่างทางสังคมของจังหวัดภูเก็ตได้
Description: Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2016
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Logistics Management
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80151
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1662
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1662
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5487764020.pdf5.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.