Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80152
Title: นวัตกรรมตัวแบบกระบวนการบ่มเพาะเพื่อสร้างผู้ประกอบการทางวัฒนธรรม
Other Titles: Innovation of incubation process model for cultural entrepreneurs
Authors: ยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร
Advisors: พงศ์พันธ์ อนันต์วรณิชย์
อัจฉรา จันทร์ฉาย
พันธ์ณภัทร์ เศวตภาณุวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์การศึกษาวิจัย เพื่อพัฒนานวัตกรรมตัวแบบกระบวนการบ่มเพาะเพื่อสร้างผู้ประกอบการทางวัฒนธรรม ประเภท“ผ้าไทย”  โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะด้วยกัน ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม ในการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ จำนวน 418 ราย  เพื่อหาศักยภาพของผู้ประกอบการ โดยเป็นการวัดความรู้ ใน 2 ด้าน คือ ความรู้ด้านผ้าไทยและความรู้ด้านธุรกิจ  เพื่อนำมาจัดกลุ่มโดยแบ่งตามระดับความรู้ เป็น สูง กลาง และต่ำ ซึ่งการแบ่งกลุ่ม ดังกล่าว จะช่วยให้การอบรมเกิดสัมฤทธิผล ง่ายต่อการสร้างความรู้ ความเข้าใจ นอกจากนี้ผลการวิจัยยังพบว่าผู้ประกอบการ   มีความต้องการที่จะได้รับบริการจากศูนย์บ่มเพาะมากที่สุดเป็นอันดับแรก คือ การจัดโครงการบ่มเพาะประเภทสิ่งทอ“ผ้าไทย” รองลงมาตามลำดับคือ การอบรมด้านการออกแบบ  ทุนสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ   ข้อมูลในการเป็นผู้ประกอบการ  ข้อมูลศูนย์ให้คำปรึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน   ส่วนระยะที่ 2 เป็นการพัฒนานวัตกรรมตัวแบบกระบวนการบ่มเพาะเพื่อสร้างผู้ประกอบการทางวัฒนธรรม  (Innovation Process)  มี 2  ขั้นตอนคือ 1) การคัดกรอง (Screening)  โดยผู้วิจัยได้ออกแบบตาราง   9  C E Matrix  ( 9 Cultural Entrepreneurs )    เพื่อจัดกลุ่มผู้ประกอบการเป็น 9 กลุ่ม ใช้ชื่อย่อว่า C E  ดังนั้น จึงมีกลุ่มตั้งแต่ CE-1 ถึง CE-9  ตามระดับความรู้ด้านผ้าไทยและด้านธุรกิจ  2) การจัดการอบรมและการสนับสนุน (Training & Support)  ผู้วิจัยได้ออกแบบหลักสูตรเพื่อใช้ในการอบรมบ่มเพาะผู้ประกอบการ ใน 3 ลักษณะคือ1) หลักสูตรความรู้ด้านผ้าไทย 2) หลักสูตรความรู้ด้านธุรกิจ 3) หลักสูตรด้านการสร้างคุณค่าทางวัฒนธรรม ซึ่งผู้ที่จะเข้าสู่กระบวนการอบรมบ่มเพาะจะต้องผ่านขั้นตอนการลงทะเบียนและทำแบบสอบถามผ่านระบบแอพพลิเคชั่นที่หน้าเว็บไซต์ เพื่อวัดระดับความรู้และจัดกลุ่มก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการบ่มเพาะผู้ประกอบการต่อไป ทั้งนี้ ศูนย์บ่มเพาะจะสนับสนุนในเรื่องต่างๆ อาทิ การใช้เทคโนโลยี สถานที่จัดอบรม เจรจาธุรกิจ แหล่งเงินทุน ตลาด เครือข่าย การสร้างตราสัญลักษณ์ ระยะที่ 3  การนำนวัตกรรมตัวแบบกระบวนการบ่มเพาะฯไปสู่การใช้งาน  ซึ่งกลุ่มตัวอย่างคือเจ้าหน้าที่กระทรวงวัฒนธรรมและผู้ประกอบการ  โดยใช้วิธีจัดประชุม Focus  Group และ Conference ผลการวิจัยพบว่าเจ้าหน้าที่กระทรวงวัฒนธรรมมีทัศนคติในการใช้งานตัวแบบกระบวนการบ่มเพาะเพื่อสร้างผู้ประกอบการวัฒนธรรม “ผ้าไทย”   ในระดับมากที่สุด   รองลงมาตามลำดับ คือ มีเจตนาเชิงพฤติกรรม  มีความตั้งใจในการใช้งาน  มีการรับรู้ประโยชน์ และมีการรับรู้ ความง่ายในการใช้งาน   ส่วนผลการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการทางวัฒนธรรม พบว่ามีเจตนาเชิงพฤติกรรม ในระดับมากที่สุด  รองลงมาตามลำดับ คือ  มีความตั้งใจในการใช้งาน   มีทัศนคติในการใช้งาน   มีการรับรู้ประโยชน์ และมีการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน  ดังนั้น   จึงสรุปได้ว่านวัตกรรมตัวแบบดังกล่าว มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ประกอบการ  เพราะนวัตกรรมดังกล่าวจะเป็นทั้งแหล่งบ่มเพาะผู้ประกอบการ  และเป็นศูนย์ข้อมูลกลางเกี่ยวกับ“ผ้าไทย” ที่ใหญ่ที่สุด โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน  ซึ่งจะช่วยอนุรักษ์ ส่งเสริม และพัฒนาผู้ประกอบการให้ประสบความสำเร็จและมีความยั่งยืนในการประกอบธุรกิจ
Other Abstract: The purpose of this study was to develop the innovation of incubation process model to create cultural entrepreneurs in “Thai tradition textiles”. The research was divided into 3 phases. In research phase I, the quantitative research was conducted by using questionnaires to interview 418 entrepreneurs to identify the potential of entrepreneurs. The measurement of knowledge was performed in 2 aspects: knowledge of Thai traditional textiles and knowledge of business. The measurement was then grouped by the knowledge levels as high, medium and low levels. This grouping enhanced the training efficiency and easily gained knowledge and understanding. In addition, the research results found that the entrepreneurs had the most needs for incubator services in an incubation program of "Thai traditional textiles" as first priority. The next priorities were design training, government funding, entrepreneurship information and specialized experts service center, respectively. In research phase II, the innovation of incubation process model for cultural entrepreneurs was developed. The innovation process had 2 steps: Step 1 Screening - the researcher designed the 9CE matrix (9 Cultural Entrepreneurs) to classify entrepreneurs into 9 groups in terms of an abbreviation of CE which ranged from CE-1 to CE-9 based on knowledge levels of Thai traditional textiles and knowledge levels of business; Step 2 Training & Support - the researcher designed three curriculum types to use in incubation trainings as 1) knowledge of Thai traditional textile curriculum, 2) knowledge of business curriculum and 3) cultural value creation curriculum. The entrepreneurs, who entered the incubation process, had to go through the registration process and make the questionnaire via the application system on the website. This was to measure the knowledge levels and to group entrepreneurs before entering the next entrepreneur incubation process. Moreover, the incubator would support other issues such as the uses of technology, training places, business negotiations, funding sources, marketing, networking and branding. In research phase III, the innovation of incubation process model was brought into use. The sample groups were officers of the Ministry of Culture and entrepreneurs.  From focus group and conference, the results showed that the officers of the Ministry of Culture had “Attitude to use” for the incubation process model to create cultural entrepreneurs in “Thai traditional textiles” at the highest level, followed by “Perceived Behavioral Control”, “Behavior Intention of Use”, “Perceived Usefulness” and “Perceived Ease of Use”, respectively. The interview results of cultural entrepreneurs found that they had “Perceived Behavioral Control” at the highest level, followed by “Behavior Intention of Use”, “Attitude to use”, “Perceived Usefulness” and “Perceived Ease of Use”, respectively. Therefore, it was concluded that this innovation model was extremely useful to entrepreneurs because it could be both the incubator for entrepreneurs and the largest information center in “Thai tradition textiles”.  Moreover, the participation by all segments would help preserve, promote and develop entrepreneurs to be successful and sustainable in business.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80152
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.387
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.387
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5487798320.pdf12.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.