Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80195
Title: การพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์แต่งกลิ่นรสอาหารสำหรับอาหารแห้งเพื่อการรักษาโรคในสุนัข
Other Titles: Flavoring product innovation development for dry dog’s therapeutic diet
Authors: กมล ภาคย์ประเสริฐ
Advisors: ชาลีดา บรมพิชัยชาติกุล
อัจฉรา จันทร์ฉาย
นัทธี อ่ำอินทร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ ศึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมเพื่อแต่งกลิ่นรสอาหารแห้งสำหรับรักษาสุนัข มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย ดังนี้ (1) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจในการซื้อผลิตภัณฑ์แต่งกลิ่นรสอาหารในกลุ่มผู้เลี้ยงสุนัข (2) พัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมต้นแบบกระบวนการแต่งกลิ่นรสอาหารชนิดแห้งสำหรับสุนัขที่ต้องควบคุมอาหาร (3) ทดสอบการยอมรับผลิตภัณฑ์นวัตกรรม และ (4) ศึกษาความเป็นไปได้ของการพัฒนาในเชิงพาณิชย์ การวิจัยอาศัยกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นแนวทางหลักในการทำวิจัย เริ่มจากศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์แต่งกลิ่นรสอาหารผ่านแบบสอบถาม พบว่าความตั้งใจใช้งานผลิตภัณฑ์สูงในสถานการณ์ที่สุนัขกินอาหารได้น้อย และพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงบวก ได้แก่ ความไม่แน่ใจในความรู้ การยึดสุนัขเป็นศูนย์กลาง การปฏิบัติตามคำแนะนำสัตวแพทย์ และ ปัจจัยมี่มีความสัมพันธ์เชิงลบ ได้แก่ พฤติกรรมผสมอาหารคนให้สุนัข ความสามารถในการควบคุมผลของการปรุงแต่งกลิ่น ขณะที่สมบัติผลิตภัณฑ์สัมพันธ์กับความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ สำหรับปัจจัยที่มีนัยสำคัญ ได้แก่ การไม่เปลี่ยนโภชนาการในอาหาร การมีงานวิจัยรับรองความปลอดภัย การช่วยให้สุนัขกินอาหารดีขึ้น การผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติ และขั้นตอนการใช้งานผลิตภัณฑ์ง่ายไม่ซับซ้อน จากความต้องการดังกล่าวถูกพัฒนาขึ้นเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่ใช้หลักการระเหยกลิ่นรอบอาหาร ทดลองแต่งกลิ่นอาหารสุนัขโรคเบาหวานด้วยกลิ่นสังเคราะห์กลิ่นเนื้อหมูพบสัดส่วนการกินอาหารที่แต่งกลิ่นด้วยวิธีการระเหยสูงกว่าอาหารที่ไม่แต่งกลิ่นอย่างมีนัยสำคัญ โดยผลต่างค่าเฉลี่ยของสัดส่วนการกินอาหารอยู่ที่ 0.34 ปรับปรุงผลิตภัณฑ์จนได้รูปแบบเป็นจานเซรามิกชนิดรูพรุนเป็นวัสดุดูดซับกลิ่นใต้ชามอาหาร และนำไปทดสอบการยอมรับทางเทคโนโลยีกับสัตวแพทย์ผ่านการสัมภาษณ์และทดสอบกับกลุ่มผู้เลี้ยงสุนัขป่วยที่ให้สุนัขกินอาหารเพื่อการรักษาผ่านแบบสอบถาม พบว่าผลิตภัณฑ์ต้นแบบได้รับการยอมรับทั้งจากสัตวแพทย์และผู้เลี้ยงสุนัขป่วย สำหรับการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาเชิงพาณิชย์จากการวิเคราะห์การตลาด การดำเนินงาน และการเงิน พบว่าระยะเวลาคืนทุนอยู่ที่ 5 เดือน อัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) ร้อยละ 351.84 และมูลค่าปัจจุบันของโครงการ (NPV) อยู่ที่ 20,783,852 บาท
Other Abstract: This research is about  development of innovative process for flavoring dried food products for dog’s therapeutic purposes. The objectives were to study the factors affected to dog owners' buying intentions for food flavoring products, develop an innovative prototype for flavoring dried food for dogs dieting, conduct the product innovation acceptability test and assess the commercial development feasibility. The analysis was started with determination of factors related to the purchase intention of food flavoring products through questionnaire, the results revealed that the intention to use the product was high in situations where the dog takes less food. It was found that positively correlated factor such as uncertainty in knowledge, centering the dog, compliance with veterinary advice. The negatively correlated factors are the behavior of mixing human food for dogs, the ability to control the effects of flavoring. In the other hands, the product properties are related to the purchase intention, i.e., no change in dietary nutrition, having research to certify safety, helping dogs to eat better, production from natural raw materials, and the process of using the product is simple and uncomplicated. The information gathered from the survey led to product prototype based on these requirements, which using the principle of using volatile compounds and evaporate them in to surrounding food. It was discovered that seasoning diabetic dog food with synthetic pork flavor resulted in increasing of the food intake. at 0.34. The product was further developed until a prototype which using porous ceramic as the odor absorbent material under the food bowl. It was accepted in terms of technology in veterinarians through interviews and test with a group of sick dogs owners who fed their dogs for treatment. For a feasibility study for commercial development based on market, operational and financial analysis, it was found that the payback period was 5 months, the internal rate of return (IRR) of 351.84% and the net present value of the project (NPV) at 20,783,852 baht were determined, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80195
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.630
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.630
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6187751820.pdf8.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.