Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80201
Title: การแก้ไขปัญหาโรฮิงญาในมิติความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล
Other Titles: The solution of Rohingya refugee in the maritime national security dimension
Authors: บุษยพรรณ ถิตานนท์
Advisors: เผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาประเด็นปัญหาที่แท้จริงของการลักลอบเข้าเมืองของชาวโรฮิงญา (2) เพื่อศึกษาผลกระทบของการลักลอบเข้าเมืองของชาวโรฮิงญาทางทะเลต่อความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล และ (3) เพื่อศึกษาหาแนวทาง และวิธีการที่เหมาะสมในการจัดการ แก้ไขปัญหาของการลักลอบเข้าเมืองของชาวโรฮิงญาที่ลักลอบเข้ามาในประเทศไทยอย่างยั่งยืน เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งได้จากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลปัญหาการลักลอบเข้าเมือง รวมทั้งทำการศึกษา ค้นคว้าแนวคิดและทฤษฎี รวมถึงเอกสารงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำการออกแบบคำถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า การหลบหนีเข้าเมืองของชาวโรฮิงญาที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบโดยใช้เส้นทางทางทะเลมากขึ้น แต่ลดการแวะพักในประเทศไทยน้อยลง โดยมีต้นทางจากรัฐยะไข่ ประเทศพม่า ไปยังประเทศปลายทาง ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย หรือประเทศอินโดนีเซีย ใช้ประเทศไทยเป็นทั้งทางผ่านและปลายทางเช่นเดียวกัน ซึ่งสาเหตุของการลักลอบเข้าเมืองของชาวโรฮิงญานั้นเปลี่ยนแปลงจากเหตุผลด้านเศรษฐกิจมาเป็นด้านของสิทธิ สถานะพลเมือง และการกดขี่ รวมถึงการใช้ความรุนแรง ซึ่งมีต้นเหตุมาจากประเทศต้นทาง โดยงานวิจัยในครั้งนี้สามารถสรุปถึงผลกระทบการลักลอบเข้าเมืองของชาวโรฮิงญาต่อความมั่นคงของชาติทางทะเลได้ว่า มีผลกระทบในเชิงลบระดับปานกลาง โดยมีผลกระทบต่อความปลอดภัยในการใช้ประโยชน์จากทะเล แต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมข้ามชาติ ขบวนการค้ามนุษย์ การใช้เรือไม่ชักธง และการหลบหนีเข้าเมืองทางทะเลซึ่งเป็นผลสืบเนื่องต่อความมั่นคงทางบก
Other Abstract: This objectives research are (1) to study the real reason of Rohingya smuggling (2) To study the impact of Rohingya maritime smuggling on Maritime National Security and (3) To study the ways and appropriate methods for solving the illegal immigration problem of Rohingya smuggling in Thailand in a sustainable way. This research is the qualitative research by using In-depth interview which were interview with stakeholders who related in this field and including with studying the related research ideas and theories for design the interview questions. The results shown as Rohingya immigration that has been shifting through more maritime routes but stopover in Thailand has become lower. The originating is from Rakhine state, Myanmar to the destination country which are Malaysia or Indonesia by use Thailand as a transit and sometimes as a destination as well. The cause of Rohingya smuggling has transformed from economic reason to the right, citizenship and oppression including violence in Rakhine state instead which root of the reasons are from the original country. The research could summarize the impact of Rohingya smuggling on the Maritime National Security that moderately negative effects which has implications for the marine safety and involved in transnational crimes, human trafficking, using a boat without flag and the maritime immigration which are a consequence of land security.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารกิจการทางทะเล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80201
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.492
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.492
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280033020.pdf2.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.