Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80223
Title: | Investigating consumers' perspective and impact on green cosmetics and personal care products in Thailand |
Other Titles: | การสำรวจมุมมองของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย |
Authors: | Tawalhathai Suphasomboon |
Advisors: | Sujitra Vassanadumrongdee |
Other author: | Chulalongkorn University. Graduate School |
Issue Date: | 2021 |
Publisher: | Chulalongkorn University |
Abstract: | This study aims to investigate consumers’ perspectives and impact on green cosmetics and personal care products in Thailand. Specifically, it explores the sustainability movement for the cosmetics and personal care industry, analyzes Thai consumer behavioral intention toward the consumption of green cosmetics and personal care products, and evaluates the impact of related policies that may affect green business transitions and consumers’ intention to purchase green cosmetics and personal care products. The movement of industry and related policies were analyzed by means of Life Cycle Thinking approach. Hypotheses were formulated based on The Perceived Value Theory with extended factors of environmental concern and green policy. A mixed methods of qualitative and quantitative studies were conducted through online surveys of 423 consumers and in-depth interviews with 30 consumers, 8 local and international companies, and 4 governmental agencies and NGOs. The qualitative analysis shows a strong correlation between circular economy practices, green production processes, environmental certifications, and eco-labeling schemes aligned with sustainability objectives. However, the sustainability concepts were not fully embedded and integrated into policy development and business strategies, which resulted in barriers to sustainable practices. In addition, the quantitative results from PLS-SEM show that the perceived functional value and environmental concern have significant impacts on consumer purchase intention. However, the influence of emotional value and social value was not supported. Meanwhile, the green policy is a strong predictor of environmental concern which indirectly correlates to the perceived value and purchase intention of green cosmetics and personal care products. These findings offer contributions toward extending the knowledge on how multidimensional consumer values coincide and influence behavioral intention. Linking functional value with environmental considerations should be aligned with the proposed policy recommendations in undertaking sustainability impact assessment throughout a product’s life cycle, enforcing codes of practice relating to waste and packaging waste management, regulating sustainability and green-related terms for marketing and communication, making corporate sustainability reporting mandatory, and developing green taxation system to promote green consumption and production and reduce environmental footprints, to move toward a holistic approach to sustainable development. |
Other Abstract: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจมุมมองของผู้บริโภคต่อประเด็นความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์กลุ่มเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคลในประเทศ การศึกษาความพยายามของอุตสาหกรรมเครื่องสำอางในการผลิตสินค้าที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม รวมไปถึงการประเมินผลกระทบของนโยบายที่เกี่ยวข้องกับเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และวิเคราะห์ว่ามุมมองเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการรับรู้คุณค่าของผู้บริโภคและส่งผลต่อความตั้งใจในการซื้อเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร โดยการศึกษาได้มีการใช้แนวคิดตลอดวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Thinking) เพื่อเป็นกรอบการวิเคราะห์ ร่วมกับทฤษฎีคุณค่าที่ผู้บริโภครับรู้ (Perceived Value) โดยมีปัจจัยด้านความห่วงใยต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมและนโยบายสิ่งแวดล้อมเป็นตัวกำหนดเพื่อทดสอบสมมติฐาน กระบวนการวิจัยประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยกระบวนการวิจัยเชิงปริมาณดำเนินผ่านการสำรวจความเห็นผู้บริโภคกลุ่มตัวอย่าง 423 รายผ่านระบบออนไลน์ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้บริโภค 30 ราย บริษัทผู้ผลิตในประเทศและต่างประเทศ 8 แห่ง และหน่วยงานภาครัฐและเอกชน 4 แห่ง ผลการศึกษาเชิงคุณภาพแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างแนวปฏิบัติด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการรับรองมาตรฐานและฉลากด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน อย่างไรก็ตาม การออกแบบกลไกเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายของภาครัฐ และกลยุทธ์การบริหารจัดการองค์กรของภาคธุรกิจด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนถูกจำกัดด้วยอุปสรรคด้านความสมดุลขององค์ความรู้ การวางแผนทั้งระบบเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงกัน และการดำเนินการอย่างบูรณาการ นอกจากนี้ ผลเชิงปริมาณจากโมเดลสมการโครงสร้างโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์การถดถอยเชิงสถิติ โดยใช้ทฤษฎีคุณค่าที่ผู้บริโภครับรู้โดยใช้ความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมและนโยบายสิ่งแวดล้อมเป็นตัวกำหนดเพื่อทดสอบสมมติฐานนั้น จากการตอบสนองของผู้บริโภคแสดงให้เห็นว่า การรับรู้คุณค่าในเชิงการใช้งานของผลิตภัณฑ์และความห่วงใยด้านสิ่งแวดล้อม มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อความตั้งใจในการซื้อของผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาจากสมมติฐานไม่สนับสนุนอิทธิพลของคุณค่าทางอารมณ์และคุณค่าทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ ในขณะเดียวกัน นโยบายสิ่งแวดล้อมเป็นตัวทำนายที่ชัดเจนเกี่ยวกับความห่วงใยด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งผลทั้งทางอ้อมและทางบวกต่อการรับรู้คุณค่าของผลิตภัณฑ์และความตั้งใจในการซื้อเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผลการวิจัยเหล่านี้มีส่วนสนับสนุนในการขยายความรู้ในเชิงคุณค่าของผู้บริโภคในหลายมิติ ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้มีความสอดคล้องกันและมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค ดังนั้น การเชื่อมโยงคุณค่าในเชิงการใช้งานของผลิตภัณฑ์และความห่วงใยด้านสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกันควรมีความสอดคล้องกันกับนโยบายสิ่งแวดล้อม อาทิ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ มาตรการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะในกระบวนการผลิตรวมไปถึงขยะบรรจุภัณฑ์ ระเบียบข้อกำหนดสำหรับการใช้คำที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนสำหรับการโฆษณาและการตลาดเพื่อความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง เงื่อนไขการจัดทำรายงานด้านความยั่งยืนขององค์กรเพื่อเปิดเผยและสื่อสารการดำเนินงานต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และภาษีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อสนับสนุนสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและควบคุมการปล่อยมลพิษออกสู่สภาพแวดล้อม เพื่อเป็นการขับเคลื่อนเป้าหมายและแนวทางในการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป |
Description: | Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2021 |
Degree Name: | Doctor of Philosophy |
Degree Level: | Doctoral Degree |
Degree Discipline: | Environment, Development and Sustainability |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80223 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.163 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2021.163 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6288306820.pdf | 7.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.