Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8025
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเมตตา วิวัฒนานุกูล-
dc.contributor.authorสุขสันต์ กมลสันติโรจน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-09-08T02:42:54Z-
dc.date.available2008-09-08T02:42:54Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9741432712-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8025-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและวัตถุประสงค์ในการสัก บทบาทในการสื่อสารของรอยสักในระดับต่างๆ ตั้งแต่การสื่อสารภายในตัวเอง การสื่อสารระหว่างบุคคล และการสื่อสารกลุ่ม รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากรกับการรับรู้ความหมายรอยสัก รูปแบบงานวิจัยเป็นแบบผสมผสานระหว่างงานวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ โดยใช้การสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม คือ ก) ผู้ประกอบอาชีพสัก (ช่างสัก) ตามสถานที่ต่างๆ รวม 3 แหล่ง คือตามท้องตลาดหรือตามบ้านที่ไม่ได้อยู่ในห้างสรรพสินค้า ในห้างสรรพสินค้า และตามวัดหรือสำนักต่างๆ จำนวนทั้งสิ้น 10 คน ข)ผู้ที่ได้รับการสักจากแหล่งต่างๆจำนวน 90 คน ค) บุคคลทั่วไปที่พบเห็นรอยสัก จำนวน 150 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้สักนิยมไปสักกับกลุ่มเพื่อนมากที่สุด โดยวัตถุประสงค์ในการสักขึ้นกับสถานที่ที่ไปสักกล่าวคือ ผู้ที่ไปสักตามวัดหรือสำนักอาจารย์ต่างๆ ต้องการความอยู่ยงคงกระพัน โชคลาภ และเสน่ห์เมตตา มหานิยม แต่สำหรับผู้ที่สักจากห้างสรรพสินค้าหรือจากสถานที่อื่น ๆ ส่วนมากสักเพื่อความสวยงามตามแฟชั่นและสมัยนิยม 2. ปัจจุบันรอยสักมีบทบาทการสื่อสารในระดับ ๆ การสื่อสารในตนเอง รอยสักช่วยสร้างความมั่นใจในเรื่องการอยู่ยงคงกระดันและนำโชคลาภมาให้ผู้สัก และเป็นเครื่องย้ำเตือนความทรงจำและความประทับใจต่างๆ ส่วนในการสื่อสารระหว่างบุคคล รอยสักมีบทบาทในการสร้างอัตลักษณ์ในตัวผู้สักทั้งในการสร้างอัตลักษณ์ที่ผู้สักต้องการให้คนอื่นรับรู้ และอัตลักษณ์ที่ผู้อื่นรับรู้ผ่านทรงรอยสักที่พบเห็น นอกจากนั้น รอยสักยังมีบทบทในการ ดึงดูดหรือลดความสนใจจากภาพตรงข้าม เพิ่มหรือลดอำนาจ และเป็นปัจจัยสนับสนุนหรือเป็นอุปสรรคในการปฏิบัติพันธ์กับบุคคลอื่น สำหรับในการสื่อสารกลุ่ม รอยสักทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงความเป็นสมาชิกหรือพวกเดียวกัน 3.กลุ่มตัวอย่างที่มีตัวแปรทางประชากรต่างกันจะรับรู้ความหมายของรอยสักต่างกัน ทั้งในด้านการรับรู้วัตถุประสงค์ การวางตำแหน่งของการสัก และความเหมาะสมของลวดลายการสักแต่ละลวดลายen
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research are to study behaviors and purposes of tattooers and communication roles of tattoos at all levels: intranpersonal, interpersonal, and group communication. Moreover, the relationship between different demographic factors and perception of meaning of tattoos is also studied. Both qualitative and quantitative research methods are conducted by using survey interview and questionnaires with three sample groups: a) 10 tattoo makers from three different areas (from temples, shopping malls and local markets), b) 90 tattooers and c) 150 general people. The results are as follow : 1. Most tattooer make tattoos, together with their friends in group, but the purposes of making a tattoos vary. Tattoo-making at a temple is aimed towards immortality, fortune and charm, while tattoo-making at a shopping mall or other places towards beauty or fashion. 2. Nowadays, tattoos play major communication roles as follow: at intrapersonal level, tattoos ensure that tattooers’ confidence on log-life and good luck, and are reminders of good memory and impression. At interpersonal level, tattoos help create the tattooers’ identity perceived by themselves and by others. Besides, tattoos either attract or distract sexual appeal, and increase or decrease power in interacting with others. At group level, tattoos perform as a group symbol or identify group membership. 3. Samples with different demographic factors perceive meaning of tattoos, purposes of tattoo-making, and the appropriateness of tattoo location and design differently.en
dc.format.extent1457811 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการสื่อสารระหว่างบุคคลen
dc.titleการสื่อสารและการรับรู้ความหมายของ "รอยสัก" ในสังคมไทยปัจจุบันen
dc.title.alternativeCommunication and perception of meaning of tattoos in contemporary Thai societyen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวาทวิทยาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
suksan.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.