Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80324
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดวงกมล ชาติประเสริฐ-
dc.contributor.authorดามิยา พงศ์ตานี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-07-23T05:39:02Z-
dc.date.available2022-07-23T05:39:02Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80324-
dc.descriptionสารนิพนธ์ (นศ.ม.) --จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564-
dc.description.abstractการศึกษาเรื่อง “แรงจูงใจในการมีปฏิสัมพันธ์บนทวิตเตอร์ของผู้รับชมรายการ โหนกระแส” เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจของผู้รับชมรายการโหนกระแสที่จะมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหารายการโหนกระแส และเพื่อศึกษาบทบาทของทวิตเตอร์ต่อการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหารายการโหนกระแส จากการวิเคราะห์กลุ่มตัวอย่างที่รับชมรายการโหนกระแสและใช้งานทวิตเตอร์ระหว่างรับชมรายการ ช่วงอายุระหว่าง 18 – 35 ปี (กลุ่มวัยทำงานตอนต้น) จำนวน 20 คน พบว่า ความอยากรู้ เป็นแรงจูงใจที่ทำให้ผู้รับชมที่เลือกรับชมรายการโหนกระแส ซึ่งมีทั้งผู้ที่อยากรู้เพื่อให้ทันเหตุการณ์และผู้ที่อยากรู้เนื่องจากเป็นประเด็นที่ตนสนใจ โดยจากการศึกษาครั้งนี้ พบแรงจูงใจ 4 ประเภทที่ทำให้เกิดพฤติกรรมการใช้งานทวิตเตอร์ระหว่างการรับชมรายการโหนกระแส ได้แก่ 1) แรงจูงใจในการแสดงความคิดเห็น 2) แรงจูงใจในการอยากรู้ความคิดเห็นของผู้อื่น 3) แรงจูงใจในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และ 4) แรงจูงใจในการเป็นส่วนหนึ่งของผู้รับชม ซึ่งจากแรงจูงใจทั้ง 4 ประเภทนี้ ทำให้เห็นว่า การมีส่วนร่วมของผู้รับชมนั้นเป็นส่วนหนึ่งของพฤติกรรมการรับชมรายการในลักษณะโซเชียลทีวี (Social TV) ที่ทำให้ผู้รับชมมีความรู้สึกถึงการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มผู้รับชม ซึ่งมีความสอดคล้องกับความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ด้านสังคมตามทฤษฎีมาสโลว์ (Love and Belonging needs) อีกทั้งยังพบว่า ทวิตเตอร์เป็นแพลตฟอร์มที่สามารถตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจของผู้รับชมระหว่างการรับชมรายการโหนกระแสได้ โดยให้ความรู้สึกในแง่ของการมีตัวตนทางสังคม (Social Presence) การเปรียบเทียบทางสังคม (Social Comparison) และการรู้สึกถึงการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม (Sense of Belonging) ยิ่งไปกว่านั้น การเลือกใช้ทวิตเตอร์ระหว่างการรับชมยังสามารถสร้างความพึงพอใจในระหว่างการรับชมรายการได้ตามความต้องการตามทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจ (Uses and Gratification Theory: UGT) จึงทำให้เห็นว่า ทวิตเตอร์สามารถตอบสนองความต้องการของผู้รับชมระหว่างรับชมรายการหรือพฤติกรรมการรับชมรายการในรูปแบบโซเชียลทีวี (Social TV) นั่นเอง-
dc.description.abstractalternativeThe study of “Motivation for Hone-Krasae’s Audience Interacting on Twitter” is qualitative research, aims to identify motivation of the audience in interacting about content while watching Hone-Krasae, and to explore the role of Twitter affecting the participation of the audience’s opinion expression. The sample is the audience of Hone-Krasae who interacting on Twitter while watching the show, 20 audiences with age range in between 18 and 35 years old were interviewed. Accordingly, the study found that curiosity is the motivation for audiences to watch Hone-Krasae, concluding audiences who want to keep update with the events and audiences who curious because their interested issue. As for Social TV behavior in which this study focusing on watching and interacting on Twitter behavior, it is discovered that there are 4 types of motivation, which are 1) motivation in opinion expression 2) motivation in curiosity of others’ opinion 3) Motivation in information acquirement and 4) Motivation in associated with the group. It depicts that the audience engagement is a part of Social TV behavior, which fulfil the desire of being a part of audiences which consist with Love and Belonging needs according to Maslow’s theory. Furthermore, it illustrates that Twitter is a platform which efficiently satisfy the needs and satisfaction of audience while they were watching Hone-Krasae, in terms of the sense of social presence, sense of social comparison and sense of belonging. Moreover, using Twitter while watching the program can satisfy audiences which consist of the needs from Uses and Gratification theory (UGT). Consequently, it can fulfil the audiences’ Social TV behavior.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.320-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleแรงจูงใจในการมีปฏิสัมพันธ์บนทวิตเตอร์ของผู้รับชมรายการโหนกระแส-
dc.title.alternativeMotivation for Hone-Krasae's audience interaction on Twitter-
dc.typeIndependent Study-
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2021.320-
Appears in Collections:Comm - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6380023028.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.