Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80331
Title: | กลยุทธ์การสื่อสารผ่านผู้มีอิทธิพลทางความคิดเสมือนจริงของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) |
Other Titles: | Communication strategy through virtual influencer of advanced info service public company limited |
Authors: | อธิวัฒน์ คชภูมิ |
Advisors: | นภวรรณ ตันติเวชกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณลักษณะของผู้มีอิทธิพลทางความคิดเสมือนจริง 2) ประโยชน์ในการใช้งานผู้มีอิทธิพลทางความคิดเสมือนจริง และ 3) กลยุทธ์การสื่อสารผ่านผู้มีอิทธิพลทางความคิดเสมือนจริงของเอไอเอส โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary research) จากเอกสารที่เกี่ยวข้อง รวมถึงศึกษาชิ้นงานในรูปแบบต่างๆ ควบคู่กับการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ผู้ให้ข้อมูลหลัก 3 กลุ่มตามคุณสมบัติที่ได้กำหนดไว้ ได้แก่ นักสื่อสารแบรนด์ของเอไอเอส เจ้าหน้าที่ของเซีย แบงคอก (SIA Bangkok) และผู้เชี่ยวชาญด้านผู้มีอิทธิพลทางความคิดเสมือนจริงจากบริษัทสื่อโฆษณาดิจิทัล หรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษา พบว่าผู้มีอิทธิพลทางความคิดเสมือนจริง (Virtual influencer) มีคุณลักษณะสำคัญ 3 ด้าน ได้แก่ คุณลักษณะด้านความเหมือนมนุษย์ คุณลักษณะด้านความควบคุมได้ และคุณลักษณะด้านการให้ประสบการณ์ที่แปลกใหม่ ในส่วนของประโยชน์ในการใช้งานผู้มีอิทธิพลทางความคิดเสมือนจริง มีแนวทางการใช้งานใน 3 ด้าน ประกอบด้วย การรีวิวสินค้าและบริการ การใช้เพื่อเป็นตัวแทนของตราสินค้า และการสร้างความร่วมมือ ซึ่งทำให้เกิดประโยชน์ในเชิงภาพลักษณ์ตราสินค้า และในเชิงประสบการณ์ของผู้บริโภค ทั้งนี้ สำหรับกลยุทธ์การสื่อสารผ่านผู้มีอิทธิพลทางความคิดเสมือนจริงของเอไอเอส มีกลยุทธ์การสื่อสาร 4 ด้าน ได้แก่ กลยุทธ์การใช้ตัวแทนของแบรนด์เสมือนจริง กลยุทธ์การสื่อสารแบบเล่าเรื่อง กลยุทธ์การสื่อสารบนโลกออนไลน์ และกลยุทธ์การใช้ผู้มีชื่อเสียง โดยผสมผสานเครื่องมือสื่อสารการตลาด ได้แก่ การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ และการจัดกิจกรรม เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ด้านการสร้างภาพลักษณ์ตราสินค้าให้เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีความทันสมัย และสร้างประสบการณ์ใหม่ให้แก่ลูกค้าขององค์กร |
Other Abstract: | This research has the objective to study 1) Attributes of virtual influencers, 2) The benefits of using virtual influencers and 3) AIS’ communications strategies using virtual influencers. It is documentary research of the pertinent documents including various formats of study, coupled with in-depth interviews with key informants from three main groups according to defined attributes: AIS brand communicators, officers of SIA Bangkok and experts in influencers from the digital advertising agency and other associated companies. The research found that virtual influences had three main attributes which were humanization, controllability and new experience. As for the benefits of virtual influences, there were three ways to use them: review product and service, brand ambassador, and collaboration. This is of benefit to the brand image as well as the customer experience. Regarding this, AIS’ communication strategies involving virtual influencers has a four-sided strategy: virtual brand ambassador strategy, storytelling strategy, online communication strategy and celebrity endorsement strategy. This combines marketing communications tools, i.e. Advertising, public relations and events, to achieve the objective of creating an image for a brand as a digital tech leader at the cutting edge of bringing new experiences to customers. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80331 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.328 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.IS.2021.328 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Comm - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6380058028.pdf | 4.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.