Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80384
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ณัฐสุดา เต้พันธ์ | - |
dc.contributor.author | ปุณณภา จิราวัฒนกูล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา | - |
dc.date.accessioned | 2022-07-25T02:28:01Z | - |
dc.date.available | 2022-07-25T02:28:01Z | - |
dc.date.issued | 2564 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80384 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 | - |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงทดลองทดลองแบบกรณีเดียว (Single-case Experimental Design) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการบำบัดโดยใช้ถาดทรายเป็นสื่อต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีประสบการณ์การถูกกลั่นแกล้งรังแก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย อายุระหว่าง 15-18 ปี มีประสบการณ์การถูกกลั่นแกล้งรังแกรูปแบบต่างๆ และมีระดับการเห็นคุณค่าในตนเองในเชิงลบ จำนวน 5 คน โดยกลุ่มตัวอย่างทุกคนจะถูกเข้าร่วมโปรแกรมการบำบัดโดยใช้ถาดทรายเป็นสื่อรูปแบบรายบุคคลสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง รวม 8 ครั้ง ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ และเก็บข้อมูลจากแบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเองของ Rosenberg (RGSE) จากทั้งหมด 3 ระยะ ได้แก่ ระยะก่อนดำเนินการบำบัดโดยใช้ถาดทรายเป็นสื่อเพื่อวัดเป็นเส้นฐาน 4 ครั้ง ระยะการบำบัดโดยใช้ถาดทรายเป็นสื่อ 8 ครั้ง และระยะติดตามผล 4 ครั้ง รวมเป็นการเก็บข้อมูลจำนวนทั้งสิ้น 16 ครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ค่าความเปลี่ยนแปลงของคะแนน (Level comparison) และการวิเคราะห์ขนาดอิทธิพล (PEM) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับการเห็นคุณค่าในตนเองที่สูงขึ้นในระยะจัดกระทำและระยะติดตามผลเมื่อเปรียบเทียบกับคะแนนในระยะเส้นฐาน โดยส่งอิทธิพลต่อการเพิ่มขึ้นของการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในระดับสูง จำนวน 4 คน และระดับปานกลาง จำนวน 1 คน | - |
dc.description.abstractalternative | This Single-case experimental research study was to examine the effectiveness of the sandtray therapy program on self-esteem of high-school victims of bullying. Participants were 5 high school students who were victims of bullying and had negative self-esteem level. Participants were assigned into the individual sandtray therapy twice a week for 4 weeks, a total of 8 sessions, with 60 minutes each session. Self-esteem was gathered from Rosenberg Self-esteem Scale (RGSE) in 3 stages: 1) Baseline phase with 4 times measurement prior 2) Intervention phase with 8 times measurement after ending every session and 3) Follow-up phase with 4 times measurement after intervention phase, amounting to a total of 16-times measurement. Data obtained were analyzed using descriptive statistics, level comparison analysis, and effect size. The result showed that the intervention and follow-up phase had significantly higher levels of self-esteem level compared with the baseline phase. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.587 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject.classification | Psychology | - |
dc.title | ผลของการบำบัดโดยใช้ถาดทรายเป็นสื่อต่อการเห็นคุณค่าในตนเอง ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีประสบการณ์การถูกกลั่นแกล้งรังแก | - |
dc.title.alternative | The effect of sandtray therapy on self-esteem of high-school victims of bullying | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | จิตวิทยา | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2021.587 | - |
Appears in Collections: | Psy - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6177621238.pdf | 4.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.