Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80410
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorรสมา ภู่สุนทรธรรม-
dc.contributor.authorพินิจ ภู่สุนทรธรรม-
dc.contributor.authorเดชฤทธิ์ นิลอุบล-
dc.contributor.authorชาญณรงค์ รอดคำ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์. ภาควิชาอายุรศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-08-29T08:36:19Z-
dc.date.available2022-08-29T08:36:19Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80410-
dc.description.abstractทำการศึกษาถึงความชุกของการติดเชื้อ Bartonella spp. ในแมวปกติและแมวป่วยด้วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ที่มารับการรักษา ณ โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2561 พบว่ามีความชุกเท่ากับ 16.67% เมื่อทำการศึกษาถึงชนิดของการติดเชื้อ Bartonella spp. ด้วยวิธี PCR ในแมวที่เข้ามารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรค และแมวป่วยด้วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง พบว่าเป็นเชื้อ Bartonella henselae ทั้งหมด ตรวจพบการติดเชื้อในแมวจำนวน 15 ตัวจากแมวที่ทำการศึกษาทั้งสิ้น 90 ตัว แมวส่วนใหญ่ที่ตรวจพบการติดเชื้อ Bartonella henselae ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นแมวปกติที่แข็งแรงและไม่มีประวัติการเจ็บป่วยถึง 11 ตัว พบการติดเชื้อในแมวตั้งแต่อายุ 3 เดือน ถึงอายุ 12 ปี เชื้อนี้สามารถติดต่อสู่แมวได้ในทุกช่วงอายุ และทุกเพศ แต่เพศเมียมีจำนวนมากกว่าเพศผู้ การมีหมัดบนตัวแมวเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในการติดเชื้อ Bartonella spp. เมื่อทำการศึกษาเปรียบเทียบระดับภูมิคุ้มกันของแมวปกติและแมวป่วยด้วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องต่อการติดเชื้อ Bartonella spp. และหาความสัมพันธ์ระหว่างระดับภูมิคุ้มกันของแมวกับอาการผิดปกติที่แมวแสดงออก ผลการศึกษาในครั้งนี้พบว่าค่าอัตราส่วน CD4+:CD8+ ที่ต่ำกว่าปกติมีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อ Bartonella henselae เมื่อทดสอบความสัมพันธ์ของโรค FIV กับการติดเชื้อ Bartonella henselae ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลที่ได้นี้แตกต่างจากกลุ่มแมวที่ติดเชื้อ FeLV และมีค่าอัตราส่วน CD4+:CD8+ ต่ำกว่าปกติ เนื่องจากแมวติดเชื้อ FeLV ในกลุ่มนี้เป็นแมวป่วยที่แสดงอาการผิดปกติ จึงมีค่า CD4+:CD8+ ที่ต่ำกว่าจึงทำให้โอกาสที่ตรวจพบ Bartonella henselae สูงกว่า ควรจัดการตรวจหาภูมิคุ้มกันในแมวซึ่งเลี้ยงโดยเจ้าของที่มีประวัติภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำ เช่น กลุ่มคนได้รับเคมีบำบัด กลุ่มคนที่ติดเชื้อโรค HIV หรือกลุ่มคนสูงอายุที่เลี้ยงแมวจำนวนมาก เป็นต้น เนื่องจากแมวที่เลี้ยงอาจแพร่เชื้อ Bartonella spp. นี้สู่ผู้เลี้ยงและเป็นแหล่งรังโรคที่อาจติดต่อถึงคนต่อไป นอกจากนี้ควรมีโปรแกรมกำจัดหมัดบนตัวแมวเป็นประจำ เพื่อยับยั้งการแพร่ของเชื้อสู่แมวผ่านการติดหมัดen_US
dc.description.abstractalternativeThe study was performed to find the relationship between immunity and Bartonella spp infection in cats. Ninety cats presented to the Small Animal Hospital, Faculty of Veterinary Science, Chulalongkorn University were studied. The prevalence of feline Bartonella spp. infection in the hospital was 16.67%. Bartonella henselae was identified in fifteen cats by using PCR. Eleven out of fifteen cats were cats without any clinical signs. The age of the cats ranged from 3 months to 12 years old. Female cats were more infected with B. henselae. Cats with flea were found positive for B. henselae infection. Feline immunodeficiency-infected (FIV) cats and Feline leukemia virus – infected (FeLV) cats were also studied. CD4+:CD8+ ratio for cats' immununity were measured and demonstrated that the lower CD4+:CD8+ ratio, the more risk for cats to develop Bartonellosis. FIV cats in this study showed lower number of cats with B. henselae infection. This finding may be due to the stages of FIV infection in FIV cats were all in the asymptomatic stage. However, the results demonstrated higher number of cats with Bartonellosis in FeLV cats. One explanation for this may be because FeLV cats had clinical signs with lower immunity than the FIV cats. Cats with lower immunity or lower CD4+:CD8+ ratio were at risk for B. henselae infection. Cat owners with low immunity such as HIV patients, patients receive chemotherapy or elderly persons with many cats in the same house should routinely measure the cat immunity and screen their cats for Bartonellosis. The flea control program should be employed to all cats in the house to control the spreading of the disease between cats.en_US
dc.description.sponsorshipทุนวิจัยเงินงบประมาณแผ่นดิน ประจำปี 2561en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectแมว -- การติดเชื้อen_US
dc.subjectการติดเชื้อบาร์โทเนลลาในสัตว์en_US
dc.titleการศึกษาบทบาทของระดับภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อการติดเชื้อบาร์โทเนลล่าในแมวป่วยด้วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องen_US
dc.title.alternativeThe role of immunity in cats with feline immunodeficiency virus and Bartonella spp. coinfectionen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
Appears in Collections:Vet - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vet_Rosama Pusoon_2019.pdf7.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.