Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80444
Title: การใช้สื่อดิจิทัลและความเป็นพลเมืองบนสื่อดิจิทัลของนักเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย : รายงานการวิจัย
Other Titles: Digital media uses and digital citizenship of Thai secondary school students : research report
Authors: พนม คลี่ฉายา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Subjects: สื่ออิเล็กทรอนิกส์ -- ไทย -- การศึกษาการใช้
นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย -- ไทย
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยกำหนดวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจการใช้งานสื่อดิจิทัล อธิบายแบบจำลองความเป็นพลเมืองบนสื่อดิจิทัล และอิทธิพลของแรงจูงใจทางการเมือง คุณลักษณะของสื่อดิจิทัล และการ ใช้สื่อดิจิทัลที่มีต่อความเป็นพลเมืองบนสื่อดิจิทัลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ผู้วิจัยใช้วิธีการ วิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามในกลุ่มตัวอย่างนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จากภูมิภาค ต่าง ๆ ทั่วประเทศ จำนวน 820 คน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างใช้สื่อดิจิทัลด้วยความถี่เฉลี่ยในระดับทุก ๆ ชั่วโมงในแต่ ละวัน โดยใช้เฟซบุ๊ก ยูทูป อินสตาแกรม การใช้สื่อดิจิทัลด้านการเมืองโดยรวมอยู่ในระดับน้อย โดยใช้ เพียงแค่หาข้อมูล ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องการเมือง ในขณะที่การใช้สื่อดิจิทัลด้านสังคมโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด โดยใช้ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม ติดตามดาราที่ชื่นชอบ สนทนากับเพื่อน หาข้อมูลประกอบการเรียนเป็นประจำ และใช้สร้างกลุ่มเพื่อติดต่อกับเพื่อน หาข้อมูลสินค้า ติดตามข่าวสาร แสดงความเป็นตัวตนในระดับบ่อย ๆ นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับคุณลักษณะสื่อดิจิทัลในด้าน ความเป็นพื้นที่สาธารณะ ความสามารถในการกระจายข่าวสาร การเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้งาน และผู้ใช้งานสามารถสร้างเนื้อหาได้ด้วยตนเองอยู่ในระดับมากที่สุด กลุ่มตัวอย่างมีแรงจูงใจทางการเมือง มาจากความสนใจเรื่องราวการเมืองในประเทศ มี ความคาดหวังให้ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตย และการมีประสบการณ์ทางการเมืองจากการเรียน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของความเป็นพลเมืองบนสื่อดิจิทัลพบว่า Model Chi-Square, p-value มีค่า .00 ค่า CMIN/DF = 2.59 ค่า RMSEA = 0.04 ค่า GFI = 0.91 และ ค่า CFI = 0.92 แบบจำลองความเป็นพลเมืองบนสื่อดิจิทัลสรุปเป็นองค์ประกอบ 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความรับผิดชอบ (น้ำหนักปัจจัย = 0.94, R2= 0.88) 2) ด้านการเคารพตนเองและคนอื่นบนสื่อดิจิทัล (น้ำหนักปัจจัย = 0.92, R2= 0.85) 3) ด้านการเพิ่มพูนความรู้เรื่องการใช้สื่อดิจิทัล (น้ำหนักปัจจัย = 0.92, R2= 0.85) 4) ด้านค่านิยมและคุณธรรม (น้ำหนักปัจจัย = 0.90, R2= 0.81) 5) ด้านการปกป้องตนเองและผู้อื่นให้ปลอดภัย (น้ำหนักปัจจัย = 0.88, R2= 0.77) 6) ด้านพื้นฐานความเป็นประชาธิปไตย (น้ำหนักปัจจัย = 0.78, R2= 0.60) ผลการทดสอบตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อความเป็นพลเมืองบนสื่อดิจิทัลพบว่า คุณลักษณะเฉพาะของสื่อดิจิทัล (β = .307) การใช้สื่อดิจิทัลด้านสังคม (β= .259) แรงจูงใจทางการเมือง (β = .234) การใช้สื่อดิจิทัลด้านการเมือง (β = -.117) มีอิทธิพลต่อความเป็นพลเมืองบนสื่อดิจิทัลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของความเป็นพลเมืองดิจิทัลร้อยละ 36.10 ผลการทดสอบเปรียบเทียบความเป็นพลเมืองบนสื่อดิจิทัลพบว่า นักเรียนกลุ่มที่มี คะแนนเฉลี่ยสะสม 3.51 – 4.00 มีความเป็นพลเมืองดิจิทัลสูงกว่ากลุ่มที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 3.50 นอกจากนี้นักเรียนกลุ่มที่เข้าร่วมกิจกรรมช่วยเหลือสังคม 3 – 4 ครั้งขึ้นไปต่อปี มีความเป็นพลเมืองสูงกว่านักเรียนกลุ่มที่เข้าร่วมกิจกรรม 1 – 2 ครั้ง ต่อปี และกลุ่มที่ไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมเลย อย่างมีนัยนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The research aims to explore secondary school students' digital media usages, to explain model of students' digital citizenship and to explain influence of digital media uniqueness, students' political motivation and digital media usages on their digital citizenship. The survey research used questionnaire to collect data from 820 sample from secondary school students nationwide. The survey results indicate that sample mostly use Face Book, Youtube and Instagram. They frequently use such media every hours in a day. They rarely use digital media for political purpose but mostly for entertainment, following movie stars pages, chatting and information searching. However, they use the digital media more often for setting up group conversation, seeking for goods, surveillance and show their identity via social media post. They highly accepted uniqueness of digital media as platform that provides public sphere, allow diffusion of large information, serves as user connection and allow user to generate their owned content. Regarding to sample's political motivation, they indicate their motivation from their interest in national political situation, expectation of Thailand to be democratic country and their learning experience on politic subject. The result of confirmatory factor analysis of students' digital citizenship are as Model Chi-Square, p-value .00, CMIN/DF = 2.59, RMSEA = 0.04, GFI = 0.91 and CFI = 0.92. The measurement model of students' digital citizenship comprised of 6 factors. These are 1) Right and responsibility (factor weight = 0 .9 4 , R² = 0 .88 ) 2) Respect self and others (factor weight = 0.92, R²= 0.85) 3) Educating self and others on digital usage (factor weight = 0.92, R²= 0.85) 4) Value and ethic (factor weight = 0.90, R² = 0.81) 5) Protecting self and others (factor weight = 0.88, R²= 0.77) 6) Democracy fundamental (factor weight = 0.78, R²= 0.60) The stepwise multi-regression analysis result indicate that the uniqueness of digital media (β = .307) digital media uses on social purpose (β = .259) political motivation (β = .234) and digital media uses on political purpose (β = -.117) have influent on students' digital citizenship (R2 = 0.361). The ANOVA and LSD analysis as .05 statistical significant level, reveal that student who gained GPAX 3.51 – 4.00 obtain higher level of digital citizenship than others. The students who participated in social contribution activity 3-4 times a year have higher level of digital citizenship than those who participated 1-2 times a year or those who never participated.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80444
Type: Technical Report
Appears in Collections:Comm - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Com_Phnom Kleechaya_2562.pdf116.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.