Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80956
Title: | การนำเสนอชุดกิจกรรมดนตรีออนไลน์ทางเลือกแบบร่วมให้คำปรึกษาและการสะท้อนคิดสำหรับครูในสถานศึกษาด้อยโอกาส |
Other Titles: | Alternative online music activities using co-mentoring and reflective thinking approaches for teachers in schools with music disadvantages |
Authors: | วิชิตา จันทร์แด่น |
Advisors: | ดนีญา อุทัยสุข |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) นำเสนอชุดกิจกรรมดนตรีออนไลน์ทางเลือกแบบร่วมให้คำปรึกษาและการสะท้อนคิดสำหรับครูในสถานศึกษาสถานศึกษาด้อยโอกาส และ 2) ศึกษาผลของการใช้ชุดกิจกิจกรรมดนตรีออนไลน์ทางเลือกแบบร่วมให้คำปรึกษาสำหรับครูในสถานศึกษาด้อยโอกาส โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบวิจัยและพัฒนาในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์และการสังเกต โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักคือครูผู้มีประสบการณ์สอนดนตรีจำนวน 3 ท่าน และครูผู้รับคำปรึกษาจำนวน 2 ท่าน โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลโดย 1) การสังเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์เพื่อจัดทำวีดีโอ 2) การสังเกตพฤติกรรมในระหว่างการร่วมให้คำปรึกษา 3) การสัมภาษณ์ด้านการสะท้อนคิด ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมดนตรีออนไลน์ทางเลือกควรมีความสอดคล้องต่อความต้องการในด้านการพัฒนาผู้เรียนทั้ง 4 ด้านและมีความครบถ้วนตามด้านเนื้อหา โดยผู้ใช้งานสามารถมีส่วนร่วมในระหว่างรับชมวีดีโอ ซึ่งมีรูปแบบการนำเสนอโดยใช้เนื้อหาดนตรีขั้นต้น มีความหลากหลายด้านเนื้อหาและมีความยืดหยุ่นด้านการใช้งาน โดยมีความยาวต่อเนื้อหาประมาณ 6-9 นาที โดยมีดำเนินการร่วมให้คำปรึกษาทั้งสิ้น 4 ขั้นตอนคือ 1.การจัดทำชั้นเรียนสาธิต 2.การนำเสนอคลิปวีดีโอโดยละเอียดแก่ผู้ใช้งาน 3.การร่วมให้คำปรึกษาด้านการใช้งาน 4.การวางแผนการทำงานโดยละเอียด 2) ผลจากการสะท้อนคิดมีส่วนช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาเกิดทักษะและความสามารถในการคิดแก้ไขปัญหาโดยมีการเปิดรับและเตรียมพร้อมในการเรียนรู้และลงมือปฏิบัติเพื่อความเข้าใจ เกิดการวิเคราะห์เพื่อประเมินปัญหา และสามารถจัดแนวทางเพื่อนำไปใช้จริงซึ่งนำปสู่เกิดการลงมือปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง จากการวิเคราะห์การร่วมให้คำปรึกษาโดยวิธีการสะท้อนคิดส่งผลให้ผู้รับคำปรึกษาเกิดการเชื่อมโยงความคิดและความสัมพันธ์ทั้งสิ้น 4 ขั้น คือ 1.ความสัมพันธ์กระตุ้นความคิด 2.ความสัมพันธ์นำความคิด 3.ความสัมพันธ์ส่งเสริมความคิด 4.ความสัมพันธ์ผสานความคิดโดยสมบูรณ์แบบ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการร่วมให้คำปรึกษานั้นสามารถช่วยพัฒนาศักยภาพของผู้รับคำปรึกษาทั้งในด้านความและจิตใจไปอย่างพร้อมเพรียงกัน |
Other Abstract: | This research aimed to 1) propose the online alternative music activities using co-mentoring and reflective thinking approaches for teachers in school with music disadvantages 2) to study the result of online alternative music activities with co-mentoring and reflective thinking approaches. This research utilized a research and development methodology, collecting the data from three key informants and two mentee teachers using the interview and observation. Data collecting tools included interview and observations. The results of the study were 1) The online alternative music activities should be aligned with learner four developmental areas and should be content appropriated. The video should be interactive and use of rudimentary music elements that come with variety contents and flexible. The length of the video should be approximately six - nine minutes. The co-mentoring has been conducted in four steps which are 1. The demonstration classroom 2. The introduction of music activity videos 3. Co-mentoring for consulting of using the online alternative music activities 4. Action plan for teaching. 2) Reflective thinking enhanced mentee’s problem-solving skills by preparing the readiness in learning and take the action for understanding. Besides, they were able to analyze the information to evaluate the problem and provided practical guideline that lead to solve the problems by themselves. The analysis of co-mentoring and reflective thinking approaches promoted the connection between thinking skills and relationship in four stages which are 1. Relationship simulates thinking skills 2. Relationship leads thinking skills 3. Relationship reinforces thinking skills 4. Relationship and thinking skills are completely merged. This shown that the co-mentoring process were along with reflective thinking cycle and helped develop the mentee’s potentials in both cognitive and affective areas. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ดนตรีศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80956 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.612 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2021.612 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6183375827.pdf | 5.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.