Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80973
Title: การเปิดรับข่าวสารทางการเงิน ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการออมเพื่อการเกษียณของแรงงานนอกระบบ ในการเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ 
Other Titles: Financial news exposure, knowledge, attitude, and saving behavior towards retirement planning of informal employment in the complete - aged society
Authors: จิรายุ ชัยจิรวิวัฒน์
Advisors: ธาตรี ใต้ฟ้าพูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการออมเงิน การเปิดรับข่าวสารทางการเงิน ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการออมเพื่อการเกษียณของแรงงานนอกระบบ และศึกษาความแตกต่างระหว่างลักษณะประชากรกับการเปิดรับข่าวสารทางการเงิน ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการออมเพื่อการเกษียณ รวมถึงศึกษาอิทธิพลของการเปิดรับข่าวสารทางการเงิน ความรู้ ทัศนคติ ต่อพฤติกรรมการออมเพื่อการเกษียณ ด้วยระเบียบวิธีเชิงปริมาณโดยการใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างแรงงานนอกระบบจำนวน 400 คน ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 60 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิง ที่อยู่อาศัย/ทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างแรงงานนอกระบบส่วนใหญ่มีการเปิดรับข่าวสารทางการเงินอยู่ในระดับปานกลาง โดยเปิดรับผ่านสื่อออนไลน์ ในช่วงเวลา 18.01 – 21.00 น. และมีเวลาโดยเฉลี่ยในการเปิดรับข้อมูล 1 – 2 ชั่วโมงมากที่สุด มีความรู้ทางการเงินอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 5 คะแนน ซึ่งมีความรู้ด้าน “การกระจายความเสี่ยง” มากที่สุด และมีความรู้ในด้าน “อัตราดอกเบี้ย” และ “การคำนวณดอกเบี้ยเงินฝากทบต้น” น้อยที่สุด ส่วนทัศนคติทางการเงินอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีทัศนคติในเรื่อง “การออมทรัพย์เป็นการสร้างความมั่นคงให้ตนเองและ/หรือครอบครัวอย่างหนึ่ง” ระดับมากที่สุด และมีพฤติกรรมการออมเพื่อการเกษียณอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีพฤติกรรมใน “การวางแผนที่จะชำระหนี้สินให้หมดก่อนที่จะเกษียณอายุ” มากที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า แรงงานนนอกระบบที่มีเพศแตกต่างกัน มีการเปิดรับข่าวสารทางการเงิน ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการออมเพื่อการเกษียณไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในทางกลับกัน แรงงานนนอกระบบที่มีระดับการศึกษา และรายได้ส่วนบุคคลโดยเฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ และทัศนคติทางการเงิน รวมถึงพฤติกรรมการออมเพื่อการเกษียณ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านของอิทธิพลของตัวแปร พบว่า ตัวแปรอิสระทั้ง 3 ตัวแปร ได้แก่ การเปิดรับข่าวสารทางการเงิน ความรู้ทางการเงิน และทัศนคติทางการเงิน ล้วนสามารถอธิบายพฤติกรรมการออมเพื่อการเกษียณของกลุ่มตัวอย่างได้ร้อยละ 28 ในทิศทางเดียวกัน โดยตัวแปรอิสระที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการออมเพื่อการเกษียณได้ดีที่สุด คือ การเปิดรับข่าวสารทางการเงิน รองลงมาได้แก่ ทัศนคติทางการเงิน และความรู้ทางการเงิน ตามลำดับ
Other Abstract: This research aims to study the saving as well as financial news exposure, knowledge, attitude, and the retirement saving behaviors of the informal employments and, also, to study the differences between demographic variables and the exposure to financial news, knowledge, attitude, retirement saving behaviors, along with the influence of financial news exposure, knowledge, and attitude toward the retirement saving behavior. With the quantitative method, the questionnaires have been conducted to collect data from the sample group of the 400 informal employments who aged over 18-60 years old, both male and female, and residing/working in Bangkok, Thailand. The results showed that most of the informal employments exposed to the financial news at a moderate level through online media during 6:01 AM - 9:00 PM and have an average exposure time of 1 - 2 hours at most. They have a moderate level of financial knowledge with an average score of 5 points with the most knowledge in the "Risk Diversification" and the least in the “Interest Rate” and the “Compound Deposit Interest Rate” are the least. The financial attitude was at a moderate level with the highest level of attitude on “Saving is one of the securities for oneself and/or family” as well as the retirement saving behavior was at a moderate level with the highest level of behavior in "Planning a plan to pay off debt before retirement". The hypothesis testing results showed that the informal employments who have different sexes have no differences in financial news exposure, knowledge, attitude, and retirement saving behaviors at the .05 significant level. However, the informal employments with different education and average monthly personal income have differences in financial news exposure, knowledge, attitude, and retirement saving behaviors at the .05 significant level. The financial news exposure, financial knowledge, and financial attitude were able to influence the retirement saving behavior of the sample group at 28 percent in the same direction. Financial exposure had the best influence on the retirement saving behavior, followed by financial attitude and financial knowledge, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80973
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.779
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.779
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280004028.pdf4.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.