Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81025
Title: | Effect of metformin on gene expression of multidrug resistance associated protein 2 (mrp2) in mcf-7 cells |
Other Titles: | ผลของเมทฟอร์มินต่อการแสดงออกระดับยีนของมัลติดรักรีซิสแทนซ์แอสโซชิเอตเต็ดโปรตีน 2(เอ็มอาร์พี 2) ในเซลล์เอ็มซีเอฟ-7 |
Authors: | Ploy Wannapakorn |
Advisors: | Suree Jianmongkol |
Other author: | Chulalongkorn University. Faculty of Pharmaceutical Sciences |
Issue Date: | 2016 |
Publisher: | Chulalongkorn University |
Abstract: | Metformin is a biguanide anti-diabetic drug with various pharmacological activities including anti-carcinogenic action. This study was to determine the effects of metformin on function and expression of MRP2 in human breast cancer MCF-7 cells. The activity of MRP2 was assessed by measuring intracellular accumulation of CDCF fluorochrome. The results showed that metformin had no direct effect on CDCF accumulation after 30-min treatment. Prolong treatment of MCF-7 cells with metformin (1-5 mM) for 24-48 hr resulted in significant reduction of MRP2 mRNA levels, as measured by RT-PCR assay. Metformin down-regulated expression of MRP2 mRNA in concentration-dependent manners. Moreover, the cells treated with metformin (5 mM) had lower levels of phosphorylated ERK (p-ERK) and p38 (p-p38) than those of the control groups. These results suggested that metformin could inhibit basal activities of ERK and p38 in the MAPK pathway. The presence of an AMPK inhibitor compound C (10 µM) could prevent down-regulation of MRP2 mRNA as well as reduction of basal MAPK activities caused by metformin. These findings suggested that metformin might decrease MRP2 mRNA expression in the MCF-7 cells via inhibition of MAPK signaling pathway. The metformin-mediated alteration of MAPK signaling might relate to activation of AMPK pathway. Further determination of MRP2 protein level in the metformin-treated cells should be pursued. |
Other Abstract: | เมทฟอร์มินเป็นยารักษาเบาหวาน กลุ่มไบกวาไนด์ ที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหลากหลาย รวมถึงฤทธิ์ในการต้านมะเร็ง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของเมทฟอร์มิน ที่มีต่อการทำงานและการแสดงออกของโปรตีนตัวขนส่งยา MRP2 ในเซลล์มะเร็งเต้านม MCF-7 โดยการทำงานของ MRP2 ตรวจวัดจากการสะสมของสารเรืองแสง CDCF ภายในเซลล์ ซึ่งผลการทดลองพบว่าเมทฟอร์มินไม่มีผลเปลี่ยนแปลงระดับของ CDCF ภายในเซลล์ หลังจากที่ให้นาน 30 นาทีแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามการให้เมทฟอร์มินในช่วงความเข้มข้น 1-5 mM แก่เซลล์ MCF-7 เป็นระยะเวลานาน 24-48 ชั่วโมง พบว่าปริมาณของ MRP2 mRNA ที่ตรวจวัดด้วยวิธี RT-PCR ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ผลของเมทฟอร์มินในการลดระดับการแสดงออกของ MRP2 mRNA ขึ้นกับความเข้มข้นที่เซลล์ได้รับยาดังกล่าว การศึกษายังพบว่าเซลล์ MCF-7 ที่ได้รับเมทฟอร์มิน ความเข้มข้น 5 mM มีระดับของ phosphorylated ERK1/2 (p-ERK1/2) และ phosphorylated p38 (p-p38) ซึ่งเป็น active form ของ ERK1/2 และ p38 ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับเมทฟอร์มิน ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าเมทฟอร์มิน สามารถยับยั้งการทำงานของ ERK และ p38 ใน MAPK pathway ได้ นอกจากนี้เมื่อให้ compound C ความเข้มข้น 10 µM เพื่อยับยั้งการกระตุ้น AMPK ในเซลล์ที่ได้รับเมทฟอร์มิน พบว่า compound C มีผลยับยั้งการลดปริมาณลงของ MRP2 mRNAและยับยั้งการทำงานของ MAPK ในเซลล์ดังกล่าว ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าเมทฟอร์มินอาจมีผลลดระดับ MRP2 mRNA ในเซลล์มะเร็งเต้านม MCF-7 ผ่านทางการยับยั้ง MAPK signaling pathway ซึ่งอาจมีส่วนสัมพันธ์กับความสามารถของเมทฟอร์มิน ในการกระตุ้นการทำงานของ AMPK pathway นอกจากนี้ควรต้องศึกษาผลของเมทฟอร์มินที่มีต่อการแสดงออกของ MRP2 ในระดับโปรตีนเป็นลำดับต่อไป |
Description: | Thesis (M.Sc. in Pharm.)--Chulalongkorn University, 2016 |
Degree Name: | Master of Science in Pharmacy |
Degree Level: | Master's Degree |
Degree Discipline: | Pharmacology and Toxicology |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81025 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1796 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.1796 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pharm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5776119733.pdf | 1.79 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.