Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81060
Title: | ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน |
Other Titles: | Selected factors related to sleep quality in patients with acute coronary syndrome |
Authors: | ยศพันธุ์ นามสงค์ |
Advisors: | สุนิดา ปรีชาวงษ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงหาความสัมพันธ์ เพื่อศึกษาคุณภาพการนอนหลับในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ ความรุนแรงของอาการเจ็บหน้าอก ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล สถานะการสูบบุหรี่ อาการเหนื่อยล้า กับคุณภาพการนอนหลับ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 152 คน ซึ่งคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากโรงพยาบาลสองแห่งในกรุงเทพมหานคร ตามเกณฑ์การคัดเข้า เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินความรุนแรงของอาการเจ็บหน้าอก แบบสอบถามภาวะซึมเศร้า แบบประเมินความวิตกกังวล แบบประเมินอาการเหนื่อยล้า และแบบวัดคุณภาพการนอนหลับ ซึ่งแบบสอบถามมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แอลฟาครอนบาค มากกว่าเท่ากับ 0.70 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยายและทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (ร้อยละ 84.9) มีคุณภาพการนอนหลับดี ความวิตกกังวล สถานะการสูบบุหรี่ อาการเหนื่อยล้า และ ภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพการนอนหลับ (r= -.197, -.175, -.440, -.528; p< .05) ส่วนความรุนแรงของอาการเจ็บหน้าอกไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับ |
Other Abstract: | This correlation research aims to examine sleep quality and related factors in 152 patients with acute coronary artery disease. The potential participants were recruited from the two selected hospitals in Bangkok, using purposive sampling. Within the context of the theory of unpleasant symptoms, the selected factors included severity of chest pain, depression, anxiety, smoking status, and fatigue. Research instruments consist of demographic data sheet, Severity of chest pain scale, Depression scale, Anxiety scale, Fatigue scale and Sleep scale. The values of Cronbach’s Alpha on all scales were 0.70 or higher. Data were analyzed using descriptive statistics and Pearson product moment correlation. The findings revealed the majority of participants (84.9%) had good quality of sleep. Anxiety, depression, smoking status, and fatigue were significantly related to quality of sleep (r= -.197, -.528, -.175, -.440; p< .05, respectively). Severity of chest pain had no relationship with quality of sleep. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81060 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.501 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2021.501 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6270010136.pdf | 4.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.