Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81233
Title: การเล่าเรื่องเพื่อส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับธุรกิจผ่านซีรีส์เรื่อง Start-Up
Other Titles: Storytelling for business intelligence sharing in Korean series : start-up
Authors: ไปรยา สุระชัย
Advisors: ปอรรัชม์ ยอดเณร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เกาหลีใต้มีความพยายามในการผลักดันระบบเศรษฐกิจใหม่ โดยให้ความสำคัญกับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และธุรกิจสตาร์ทอัพ ซึ่งนอกจากจะสร้างนโยบายออกมาเพื่อรองรับระบบเศรษฐกิจใหม่แล้ว ยังส่งเสริมและผลักดันผ่านสื่อบันเทิงในรูปแบบของซีรีส์อีกด้วย การวิจัยในครั้งจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาการเล่าเรื่องเพื่อถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการทำธุรกิจในซีรีส์เรื่อง Start-Up และเพื่อวิเคราะห์การตระหนักรู้ต่อการถ่ายทอดความรู้ที่เกิดขึ้นในซีรีย์ โดยงานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์ตัวบทและการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ชมและผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยพบว่า กลวิธีการเล่าเรื่องเพื่อถ่ายทอดความรู้ของซีรีส์เรื่องนี้จะประกอบไปด้วย 3 ปัจจัย ได้แก่ โครงเรื่องที่แบ่งออกเป็น 2 เส้นเรื่อง คือ เส้นเรื่องหลักจะนำเสนอเกี่ยวกับการทำธุรกิจสตาร์ทอัพ และเส้นเรื่องความสัมพันธ์ นำเสนอเรื่องราวความสัมพันธ์ในครอบครัวและความรักสามเศร้าของตัวละคร โดยมีปมความขัดแย้งเป็นพาหะในการขับเคลื่อนเรื่องราวเพื่อให้เกิดการถ่ายทอดเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับธุรกิจสตาร์ทอัพ และในส่วนของตัวละครหลักในเรื่องจะมีลักษณะแบบพลวัต มีพัฒนาการในการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างชัดเจน ซึ่งช่วยทำให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกเชื่อในเนื้อหาความรู้ที่ผู้สร้างสอดแทรกเอาไว้ในเนื้อเรื่อง ในส่วนของการตระหนักด้านการเล่าเรื่องเพื่อถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับธุรกิจ พบว่าซีรีส์เรื่องนี้เปรียบเสมือนเป็นบันไดขั้นแรกที่ทำให้ผู้ชมได้เข้าใจระบบนิเวศน์และการทำธุรกิจสตาร์ทอัพ  โดยกลุ่มผู้ชมทั่วไปจะมีความตระหนักและได้รับความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้เกี่ยวกับธุรกิจมากกว่ากลุ่มผู้ชมที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกิจสตาร์ทอัพที่ปรากฎในซีรีส์เรื่องนี้เป็นข้อมูลระดับพื้นฐานของการทำธุรกิจที่ตัวผู้เชี่ยวชาญต่างทราบอยู่ก่อนแล้ว ในขณะเดียวกันแม้ว่าซีรีส์เรื่องนี้จะมีกลวิธีการเล่าเรื่องที่ใช้เส้นเรื่องความสัมพันธ์เข้ามาดึงดูดความสนใจของผู้ชม แต่กลุ่มผู้ชมกลับรู้สึกว่าเส้นเรื่องความสัมพันธ์กลับเป็นส่วนที่รู้สึกว่าถูกยัดเยียดเข้ามา จนความเข้มข้นของเนื้อหาการทำธุรกิจขาดหายไป และแม้ว่าซีรีส์เรื่องนี้จะมีการถ่ายทอดเนื้อหาเกี่ยวกับการทำธุรกิจที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงอยู่บ้าง เนื่องจากซีรีส์เป็นสื่อละครเพื่อความบันเทิง จึงไม่สามารถสอดแทรกความรู้ลงไปได้ทั้งหมด แต่ในภาพรวมซีรีส์เรื่องนี้ก็สามารถทำให้ผู้ชมเกิดตระหนักและมีความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้ทางธุรกิจสตาร์ทอัพได้ดียิ่งขึ้น
Other Abstract: South Korea had planned to improve creative economy by supporting their small and medium-sized enterprise (SME) and startup. Not only they announce the transformation act from government, but also initiate the move via their local media platform such as movie and TV series. This research aims to study “Start-up” Korean series in order to extract the business intelligence imparting storytelling in their narrative structure and analyze the perception of that intelligence sharing raised from this TV series. This research is qualitative research that conducted by texual analysis and in-depth interview with audiences and expert audiences. In summary, the result shown that this TV series’ narrative structure that support their intelligence imparting storytelling contains three main structures. Firstly, the storyline that consist of two main storylines; Action line which present the end-to-end process of founding startup and its challenge and Relationship line which introduce family life and love triangle of main characters. Following with conflict that is the main driving source for startup intelligence sharing in the series. Lastly, the dynamic characters that improved and changed along the story. All of these help the audience believe in the truthfulness of intelligence that they received while watching the series. On the side of perception of intelligence sharing, the interview indicated that this series act as the beginning step for their audience to understand startup ecosystem. Moreover, it seems that audience had more recognition about the business intelligence imparting in this series than the expert since the latter had already known that basic intelligence well. In addition, the relationship storyline that used in this series to catch attention from the fans had been labeled as “too intentional” from many of our interviewees and too much of it cause the intensiveness of business storyline decreased. Lastly, even if some parts of the business intelligence shared in the series had been labeled as too simplistic and slightly mislead by the experts, but as an entertainment media, it would be very difficult to include full intelligence as it is on the textbook. Overall, this series have done a great job to raise the perception and understanding of business intelligence and startup ecosystem
Description: สารนิพนธ์ (นศ.ม.) --จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81233
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.315
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2021.315
Type: Independent Study
Appears in Collections:Comm - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6380040628.pdf3.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.