Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81516
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปวีณา เชาวลิตวงศ์-
dc.contributor.authorช่อผกา โพธิ์ร่มไทร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-02-03T04:00:28Z-
dc.date.available2023-02-03T04:00:28Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81516-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้นำเสนอนโยบายการบริหารสินค้าคงคลังสำหรับธุรกิจขายสินค้าตกแต่งบ้านของบริษัทกรณีศึกษา ซึ่งมีการขายผ่านทางหน้าร้านสาขาต่างๆที่มีรูปแบบการขายที่แตกต่างกันและมีความต้องการที่ไม่แน่นอน ปัจจุบันมีการนำไปวางจำหน่ายที่หน้าร้านสาขาจำนวนมากเพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียโอกาสในการขาย  ซึ่งส่งผลให้มีปริมาณการจัดเก็บทั้งในส่วนของสินค้าคลังคลังบริษัทและที่สาขามีปริมาณสูง ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงได้นำเสนอวิธีการเพื่อกำหนดนโยบายคงคลังสำหรับบริหารสินค้าคงคลังของบริษัทและสาขาตามความเหมาะสมกับรูปแบบของความต้องการ งานวิจัยนี้เริ่มตั้งแต่การรวบรวมและศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากนั้นทำการออกแบบนโยบายการบริหารสินค้าคงคลังของสาขา เนื่องจากเป็นคลังที่ไม่สามารถตรวจสอบระดับสินค้าคงคลังได้อย่างต่อเนื่อง และมีการคำนึงถึงข้อจำกัดและรูปแบบการขายที่แตกต่างกันของแต่ละสาขารวมไปถึงความไม่แน่นอนของปริมาณความต้องการสินค้า จึงมีการกำหนดแบบจำลองระดับคงคลังเป้าหมาย (Order-up-to Level Model: OUL) ที่มีการกำหนดรอบ (T) หรือระยะเวลาการสั่งเติมสินค้าที่แน่นอน คือ 2 และ 4 สัปดาห์ และมีเวลานำที่คงที่ คือ 1 สัปดาห์ สำหรับสาขากลุ่มที่ 1 และกำหนดรอบ (T) เท่ากับ 1 เดือน ระยะเวลานำคงที่ 1 เดือน สำหรับสาขากลุ่มที่ 2 โดยสั่งเติมปริมาณสินค้าเท่ากับ Q* ตามนโยบายที่กำหนด ด้วยระดับการให้บริการ 99.90% และสำหรับนโยบายการบริหารสินค้าคงคลังของบริษัท เนื่องจากเป็นคลังที่สามารถตรวจสอบระดับสินค้าคงคลังได้อย่างต่อเนื่อง จึงมีการนำเสนอนโยบายคงคลังแบบจำลองจุดสั่งซื้อและปริมาณการสั่งคงที่ (Order-point Order quantity Model :OPOQ)  ซึ่งมีการกำหนดจุดสั่งซื้อ (Reorder Point : ROP) เมื่อระดับสินค้าคงคลังตกมาถึงระดับจุดสั่งซื้อและสั่งเติมในปริมาณคงที่ Q โดยมีระยะเวลานำการผลิต 1 เดือน และขั้นตอนต่อมาได้มีการทดสอบนโยบายคงคลังโดยใช้วิธีการจำลองสถานการณ์ความต้องการสินค้า 3 รูปแบบ 1.ทดสอบนโยบายสินค้าคงคลังด้วยการด้วยการสุ่มข้อมูลจากความต้องการจากรูปแบบการกระจายที่ได้จากข้อมูลความต้องการในอดีตของปี พ.ศ.2562-2563  2.ทดสอบความคงทนของนโยบายสินค้าคงคลัง (Robustness Analysis) โดยมีการเพิ่มปริมาณความต้องการขึ้นโดยเฉลี่ย 10% 20% และ 40% และ 3.ทดสอบนโยบายสินค้าคงคลังด้วยการใช้ข้อมูลความต้องการที่เกิดขึ้นจริงของเดือนมกราคม ถึง เมษายน ปี พ.ศ.2564 โดยวัดประสิทธิภาพจากตัวชี้วัดทางด้านการบริหารสินค้าคงคลัง คือ ระดับสินค้าคงคลังเฉลี่ย และ ระดับการให้บริการ ทั้งนี้ผลของการวิจัยพบว่าผลลัพธ์ของระดับสินค้าคงคลังของสาขาที่ 1-6 และบริษัท ลดลงจากนโยบายสั่งซื้อแบบเดิมได้ 66.29%, 75.13%, 74.33%, 34.89%, 38.42%, 35.04% และ 73.31% ตามลำดับ ในขณะที่สินค้าทุกรายการสามารถตอบสนองต่อความต้องการได้ตามเป้าหมาย และสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของความต้องการที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 10% สำหรับสินค้าทุกรายการ แต่เมื่อความต้องการเพิ่มขึ้นมากกว่า 20% จะไม่สามารถทำได้ในสินค้าบางรายการ และสามารถรองรับปริมาณความต้องการที่เกิดขึ้นจริงของเดือนมกราคม ถึง เมษายน ปี พ.ศ.2564 ได้ 100% สำหรับสินค้าทุกรายการ-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to present inventory management policies for home decoration product business of a sample company that mainly sell products through retailed stores. Presently, to avoid losing any sale opportunities, company has offered products through several stores. However, each store has its own way to do business and has different needs and demands which leads to high inventory volumes both at stores and company warehouse.Therefore, this study aimed at presenting appropriate inventory management policies for retailed stores and warehouse for sample company. The study started from data gathering, analyzing relevant information and in a result, propose the suitable policies. Since, the inventory volumes cannot be monitored continuously and considering together with the fact that each retailed store has different ways to sell and also the difference and uncertainty of demands so, order-up-to level model: OUL was used to find policy for stores. Using this method, all stores were divided into two sample groups. For the group (group 1), fixed interval periods to restock or T were set as two and four weeks with fixed lead time as one week. For another group (group 2), interval period was one month, and lead time was one month. And for both groups, Q* was calculated based on OUL policy with cycle service level at 99.90%. Unlike the stores, inventory volumes can be monitored continuously at warehouse therefore, order-point order quantity model: OPOQ with Reorder Point: ROP was more suitable to be used. When the inventory volumes decreased and reached the reorder point, it will be restocked with a fixed lead time set as one month. Subsequently, formulative policies were verified by using 3 simulation methods which aimed to find the average inventory and cycle service level to be used as efficiently indicator. For the first method, demand was random sampling from distribution information collected during 2019 and 2020. Second method was verified using robustness analysis by increasing demands 10%, 20% and 40% in average. Actual demand from January to April 2021 was used in third method. The result of the study found that with proposed policies, inventory volumes of store 1-6 and company warehouse decreased when compared to the original policy by 66.29%, 75.13%, 74.33%, 34.89%, 38.42%, 35.04% and 73.31% respectively while still able to meet the demands and in addition, also able to serve average 10% rise in demand for all products. However, when rise in demands increase more than 20%, inventory volumes for some products are not able to meet the demands. And actual demands from January to April 2021 could be covered for all products.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://www.doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1188-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationEngineering-
dc.titleระบบสนับสนุนการบริหารสินค้าคงคลังสำหรับธุรกิจขายสินค้าตกแต่งบ้าน-
dc.title.alternativeInventory management support system for home decoration business-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิศวกรรมอุตสาหการ-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2020.1188-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6170141021.pdf9.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.