Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8173
Title: พัฒนาการของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2411-2538
Other Titles: The development of early childhood education curriculum in Thailand during B.E. 2411-2538
Authors: วัชรีย์ ร่วมคิด
Advisors: อุดมลักษณ์ กุลพิจิตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Udomluck.K@Chula.ac.th
Subjects: การศึกษาปฐมวัย -- หลักสูตร
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาพัฒนาการของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2411-2538 โดยมุ่งวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยในแต่ละยุค จากรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจนถึงปัจจุบัน ผลการวิจัยพบว่า การจัดการศึกษาปฐมวัยอย่างมีระบบระเบียบได้เริ่มต้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ในรูปของโรงเลี้ยงเด็ก โรงเรียนราชกุมารราชกุมารีและโรงเรียนสำหรับสามัญชนทั่วไป อิทธิพลที่มาจากปัจจัยด้านสังคมมีส่วนสำคัญทำให้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยต้องเน้นการอ่าน-เขียนและเลขเป็นหลัก ส่วนหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยในโรงเลี้ยงเด็ก ซึ่งจัดสำหรับเด็กด้อยโอกาสนั้น ได้เพิ่มเติมการศึกษางานเพื่อการดำรงชีวิตประจำวันให้กับเด็กด้วย ครั้นเมื่อมีการเริ่มจัดการศึกษาปฐมวัยโดยชาวต่างชาติในรูปแบบของโรงเรียนราษฎร์หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยได้ยึดแนวการเตรียมความพร้อมตามแบบของเฟรอเบลและมอนเตสชอรีเป็นหลัก ระยะนี้จึงถือได้ว่าหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยของไทยได้เริ่มต้นตามหลักสากลที่ถูกต้องเป็นครั้งแรก เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 นโยบายทางการศึกษาปฐมวัยของรัฐมีความชัดเจนขึ้น ส่งผลให้มีการขยายการศึกษาในระดับนี้อย่างกว้างขวาง โดยใช้หลักสูตรที่นักการศึกษาไทยพัฒนาขึ้นตามแนวของเฟรอเบลและมอนเตสชอรี ผสมผสานกับสภาพสังคมไทยที่มุ่งปลูกฝังคุณลักษณะของความเป็นประชาธิปไตยและเอกลักษณ์ของชาติ หลักสูตรลักษณะเช่นนี้ได้ยึดถือและใช้ติดต่อกันเรื่อยมา เพียงแต่ได้รับการปรับเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของหลักสูตรอนุบาลและหลักสูตรเด็กเล็กเท่านั้น ภายหลังเมื่อหน่วยงานต่างๆ ได้มุ่งขยายการจัดการศึกษาในระดับนี้มากขึ้นๆ หน่วยงานเหล่านี้ได้ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรขึ้นใช้เองบ้าง โดยส่วนใหญ่ได้ยึดแนวหลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติเป็นหลัก ในปัจจุบัน แม้ว่าหลักสูตรการเตรียมความพร้อมจะเป็นที่นิยม แต่กระแสของการเรียนอ่านเขียนก็ยังรุนแรงเช่นกัน จากแนวโน้มความเป็นโลกาภิวัฒน์ที่นำความเปลี่ยนแปลงมาเป็นยุคข่าวสารข้อมูลและเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้มีผลต่อการพัฒนาหลักสูตรในสถานศึกษาต่างๆ อย่างกว้างขวาง ภายใต้ปรัชญาการเตรียมความพร้อมที่ตีความไปในทิศทางที่แตกต่างกัน
Other Abstract: The objective of this research was to study the development of early childhood education curriculum in Thailand during B.E. 2411-2538 by analyzing factors related to components of early childhood education starting from periods of King Rama V to the present. The results are as follows : formal early childhood education in our country has begun during King Rama V period in the forms of child care center, schools for the princes and princesses, and for the public. Social factor had an important influence on literacy curriculum. The curriculum for disadvantage children in child care center of that period had also included training in the area of practical life. When private preschools were first setup by the western specialists, the curriculum had been designed based on Froebel and Montesseri theories. During this period early childhood in Thailand was first started with concepts of the early childhood education theories. Upon the political revolution in 1932, governmental policy on early childhood education was clearly defined, leading to a wider expansion of this educational level. Curriculum was developed and widely implemented with an integrated philosophy of Froebel, Montessori, Thai cultural identities and values in democracy by the Thai educators of this period. Later there were more organizations involved in expanding early childhood education programs. These institutions had reconstructed their own curriculum, however, most still followed the curriculum approach developed by the Office of the National Primary Education Commission. At present, although the readiness curriculum approach has been widely accepted, academics are still a major practice. Trends of globalization on information and technology age have an important influence on curriculum development, educational practice with different interpretation on readiness philosophy in many educational institutions.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษาปฐมวัย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8173
ISBN: 9746357271
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Watcharee_Ro_front.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
Watcharee_Ro_ch1.pdf1.53 MBAdobe PDFView/Open
Watcharee_Ro_ch2.pdf3.92 MBAdobe PDFView/Open
Watcharee_Ro_ch3.pdf989.99 kBAdobe PDFView/Open
Watcharee_Ro_ch4.pdf3.88 MBAdobe PDFView/Open
Watcharee_Ro_ch5.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open
Watcharee_Ro_ch6.pdf3.48 MBAdobe PDFView/Open
Watcharee_Ro_ch7.pdf6.73 MBAdobe PDFView/Open
Watcharee_Ro_ch8.pdf2 MBAdobe PDFView/Open
Watcharee_Ro_back.pdf1.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.