Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81804
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชัชพล ไชยพร-
dc.contributor.authorพุฒิพงศ์ จวบความสุข-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-02-03T05:02:30Z-
dc.date.available2023-02-03T05:02:30Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81804-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565-
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิวัฒนาการและแนวคิดของการกำหนดความผิดทางอาญาฐานทำให้เสียทรัพย์ของประเทศไทย ตามที่ปรากฏใน กฎหมายมังรายศาสตร์ กฎหมายตราสามดวง กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 และประมวลกฎหมายอาญาฉบับปัจจุบัน รวมถึงศึกษาเปรียบเทียบกับประเทศอังกฤษ ประเทศอินเดีย และประเทศฝรั่งเศสโดยอธิบายกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ รวมถึงสภาพสังคม การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดองค์ประกอบความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์เพื่อพิจารณาปัจจัยที่ส่งผลกระทบในการกำหนดความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์เป็นความผิดที่กฎหมายมุ่งคุ้มครองกรรมสิทธิ์ ตลอดจนสิทธิในการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินของบุคคลโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันมิให้บุคคลใดมาทำลาย ทำให้เสียหาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์สินของบุคคลอื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย อีกทั้งมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบัน จากการศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายและสังคมวิทยากฎหมายพบว่า การกำหนดความผิดทางอาญาฐานทำให้เสียทรัพย์มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย อาณาจักรล้านนาซึ่งเป็นอาณาจักรใกล้เคียง สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยปฏิรูปกฎหมายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) และต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยแปรผันตามปัจจัยด้านสังคม การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมซึ่งปัจจัยเหล่านี้ ล้วนมีอิทธิพลต่อการวิวัฒน์ของกฎหมาย วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้ศึกษาถึงแนวความคิดของการบัญญัติความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์โดยแบ่งช่วงการศึกษาออกเป็นสองช่วง คือ ช่วงยุคกฎหมายก่อนสมัยใหม่ และช่วงยุคกฎหมายสมัยใหม่ โดยถือเอาช่วงการปฏิรูปกฎหมายเป็นจุดเปลี่ยนแปลงทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศเพื่อที่จะสามารถเปรียบเทียบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกําหนดความผิดของแต่ละประเทศในแต่ละช่วงเวลาได้ ทั้งนี้การศึกษาพบว่า แนวความคิดการกําหนดความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ของประเทศไทย และต่างประเทศมีความคล้ายคลึงกันในแต่ละยุคสมัย โดยเจตนารมณ์ของกฎหมายที่มุ่งคุ้มครองเปลี่ยนแปลงไปจากการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินของผู้ปกครอง หรือทรัพย์สินที่มีความสำคัญต่อชุมชนหรือรัฐ มาเป็นการมุ่งคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินของเอกชนเพื่อผลประโยชน์ในทางเศรษฐกิจของเอกชนและรัฐ อีกทั้งมีการแยกความรับผิดทางแพ่งและความรับผิดทางอาญาออกจากกันอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม แม้กาลเวลาจะเปลี่ยนแปลงไปกฎหมายของแต่ละประเทศยังคงมุ่งคุ้มครองทรัพย์สินบางประเภทที่มีความสำคัญตั้งแต่ครั้งอดีตกาล การกำหนดความรับผิดทางอาญาฐานทำให้เสียทรัพย์จึงมิได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นกับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กัน อันมีผลต่อแนวความคิดในการคุ้มครองกรรมสิทธิ์ และสิทธิในการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินของบุคคล ทั้งนี้ จุดเปลี่ยนของการปฏิรูปกฎหมายของแต่ละประเทศแตกต่างกันกล่าวคือ ประเทศฝรั่งเศสเกิดจากสภาวะการขับเคลื่อนภายในประเทศในด้านสังคม เศรษฐกิจ และการปกครอง ในขณะที่ประเทศอังกฤษเกิดจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ประเทศไทยเกิดจากสภาวะกดดันทางอ้อมในด้านเศรษฐกิจและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ต่างจากประเทศอินเดียซึ่งการปฏิรูปเกิดจากสภาวะการบังคับโดยตรงเนื่องจากอยู่ภายใต้อาณานิคม-
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research is to study the evolution and concept of criminal liability regarding to mischief in Thailand as shown in the Laws of King Mengrai, the Law of the Three Seals, the Penal Code of R.S.127 and the current Penal Code. The research also covers the comparison study with England, India and France and study the influent factors in criminal liability regarding to mischief. The criminal liability regarding to mischief is an offence against property which aims to protect proprietary right and right-of-use asset, to prevent individual and co-property ownership from destroying, damaging, or causing depreciation and uselessness. This offence has evolved from ancient times to the present. Based on the historical legal research and sociological legal research, it is found that the determination of this offence has evolved since Sukhothai period, Lanna Kingdom which is a neighboring kingdom, Ayutthaya period until the beginning of Rattanakosin, the legal reformation period during the reign of King Chulalongkorn and continued to the present. The social, economic, governmental, and traditional factors have significantly influenced the evolution of the law. This thesis examines the concepts of criminal liability regarding to mischief. The study has divided into two main study periods: the pre-modern law period and the modern law period, considered the legal reformation of each country as the turning point. The objective is to analyze and compare the influent factors in each period. The study has found that in each period the concepts of the criminal liability regarding to mischief of Thailand, England, India, and France are quite similar. The spirit of the law has changed from the aim of protective proprietary right and right-of-use asset of the community’s master or guardian to aim at individual property rights and economic interests of the private sector. Moreover, civil liability and criminal liability are clearly separated from each other. However, the change did not depend only a factor, but depended on all related factors which affected the concept of proprietary right’s protection in the modern period. The turning point of legal reform of each country is different in which France's legal reform was caused by the internal drive in social, economic, and governmental factors, England was caused by industrial revolution, whereas Thailand was caused by the indirect pressure in economic and international relation factors. Unlike in India, the reform was caused by the direct force since India was colonized.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.658-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationSocial Sciences-
dc.titleวิวัฒนาการการกำหนดความผิดทางอาญาฐานทำให้เสียทรัพย์-
dc.title.alternativeThe evolution of criminal liability regarding to “mischief” in Thailand-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2022.658-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6380205434.pdf2.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.