Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82093
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทัชมัย ฤกษะสุต-
dc.contributor.authorกนกกาญจน์ บุญเปี่ยม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-05-25T02:57:59Z-
dc.date.available2023-05-25T02:57:59Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82093-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565en_US
dc.description.abstractเอกัตศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะสำหรับการจัดการเพื่อบรรเทาความเสียหายของทรัพย์สินอันเกิดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยศึกษาถึงปัญหาและผลกระทบเกี่ยวกับภัยพิบัติทางธรรมชาติในประเทศไทย และหลักเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะที่สามารถนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทย พร้อมทั้งศึกษาหลักเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะสำหรับการจัดการเพื่อบรรเทาความเสียหายของทรัพย์สินอันเกิดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติของประเทศออสเตรเลียเพื่อเป็นแนวทางในการนำมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย จากการวิเคราะห์สภาพปัญหาและผลกระทบเกี่ยวกับภัยพิบัติทางธรรมชาติในประเทศไทยพบว่าประเทศไทยมักประสบกับปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ ไม่ว่าจะมาจากปัจจัยเสี่ยงทางธรรมชาติ หรือปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งส่งผลกระทบทำให้เกิดความเสียหายต่อชุมชน สังคม และภาพรวมเศรษฐกิจในประเทศ และเป็นผลทำให้รัฐบาลมีเงินงบประมาณไม่เพียงพอที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาในด้านอื่น ๆ ที่มีความสำคัญเช่นเดียวกันตามมา ดังนั้นการมีงบประมาณที่เพียงพอและเหมาะสมในการดำเนินโครงการเพื่อรับมือหรือจัดการกับเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติจึงนับได้ว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากที่จะทำให้โครงการประสบความสำเร็จ เพราะจะสามารถช่วยส่งเสริมและพัฒนาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สามารถรับมือหรือจัดการกับเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นผลทำให้ช่วยบรรเทาความสูญเสียและความเสียหายอันเกิดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติได้ อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังไม่เคยมีการจัดเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะสำหรับการจัดการเพื่อบรรเทาความเสียหายของทรัพย์สินอันเกิดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติมาก่อน จึงได้มีการศึกษาถึงหลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ และผลที่ได้จากการจัดเก็บภาษีดังกล่าวในประเทศออสเตรเลีย เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้ในประเทศไทย ซึ่งจากการศึกษาพบว่าประเทศออสเตรเลียประสบกับปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติในบริบทที่คล้ายคลึงกันกับประเทศไทย และรัฐบาลของประเทศออสเตรเลียได้ตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ จึงได้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อหน่วยงานบริการดับเพลิงและบริการฉุกเฉินของแต่ละรัฐ เพื่อให้สามารถจัดการกับเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งมีกรอบในการจัดการภัยพิบัติที่ดี และสามารถปฏิบัติได้จริง ดังนั้นจึงมีความเหมาะสมที่จะนำแนวทางการจัดเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะสำหรับการจัดการเพื่อบรรเทาความเสียหายของทรัพย์สินอันเกิดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติของประเทศออสเตรเลียมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย เพื่อเป็นการสรรหางบประมาณเพิ่มเติมให้กับหน่วยงานของรัฐบาล อีกทั้งยังสามารถนำรายได้จากการจัดเก็บภาษีไปใช้ในการจัดการกับเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2022.130-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการจัดเก็บภาษีen_US
dc.subjectภัยพิบัติ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับen_US
dc.titleแนวทางการจัดเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ สำหรับการจัดการเพื่อบรรเทาความเสียหายของทรัพย์สินอันเกิดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subject.keywordภัยพิบัติทางธรรมชาติen_US
dc.subject.keywordการจัดเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2022.130-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6480187934.pdf939.34 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.