Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82120
Title: | ความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อมีการผ่อนเวลาให้ลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่มีการแก้ไขใหม่ ศึกษากรณีผู้ค้ำประกันเป็นผู้มีอำนาจจัดการหรือควบคุมในกิจการของลูกหนี้นิติบุคคล |
Authors: | ธนพร มิตรดี |
Advisors: | มานิตย์ จุมปา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Subjects: | กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- ค้ำประกัน ลูกหนี้ |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เอกัตศึกษาฉบับนี้ทำการศึกษาความรับผิดของผู้ค้ำประกันกรณีผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นผู้มีอำนาจจัดการตามกฎหมายหรือมีอำนาจควบคุมในกิจการของลูกหนี้นิติบุคคลเมื่อมีการผ่อนเวลาชำระหนี้ให้กับลูกหนี้ตามบทบัญญัติว่าด้วยเรื่องการค้ำประกันมาตรา 700 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่มีการแก้ไขใหม่ในปีพ.ศ. 2557 และปีพ.ศ. 2558 จากการศึกษาพบว่า การแก้ไขบทบัญญัติดังกล่าวโดยห้ามไม่ให้มีการทำข้อตกลงยินยอมต่อการผ่อนเวลาไว้ล่วงหน้า และยกเว้นเพียงสิทธิของผู้ค้ำประกันที่เป็นนิติบุคคลซึ่งเป็นสถาบันการเงินหรือการค้ำประกันเพื่อสินจ้างเป็นปกติธุระเท่านั้นที่จะให้สามารถให้ความยินยอมต่อการผ่อนเวลาของลูกหนี้ไว้ล่วงหน้าได้นั้นไม่เพียงพอ เนื่องจากยังมีผู้ค้ำประกันทางพาณิชย์อีกกลุ่มที่ไม่จำเป็นต้องได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ทั้งนี้ผู้ค้ำประกันกลุ่มนี้ได้ประโยชน์จากการที่นิติบุคคลได้รับสินเชื่อและมีส่วนได้เสียกับลูกหนี้ที่เป็นนิติบุคคล นั่นคือ บุคคลผู้มีอำนาจจัดการตามกฎหมายหรือมีอำนาจควบคุมในกิจการของลูกหนี้ การผ่อนเวลาชำระหนี้ของลูกหนี้เป็นประโยชน์ต่อบุคคลกลุ่มนี้ด้วย อีกทั้งบุคคลกลุ่มนี้มักจะมีความเข้าใจในการเข้าทำนิติกรรมหรือสัญญาทางธุรกิจ และสามารถทราบถึงภาระหน้าที่ในการเข้าทำสัญญาค้ำประกันหรือพิจารณาหรือประเมินความเสี่ยงในการเข้าทำสัญญาได้เอง รวมถึงบุคคลกลุ่มนี้มีความรู้ในการประกอบธุรกิจและมีความน่าเชื่อถือเพียงพอที่ธนาคารจะพิจารณาให้สินเชื่อ ธนาคารจึงมักต้องการให้ผู้ค้ำประกันกลุ่มนี้ให้การค้ำประกันเพิ่มเติมด้วย นอกจากนี้แนวคิดที่แสดงให้เห็นว่าบุคคลผู้มีอำนาจจัดการหรือมีอำนาจควบคุมในกิจการของลูกหนี้ไม่จำเป็นต้องได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเทียบเท่ากับผู้ค้ำประกันทางแพ่งและสามารถรับผิดในหนี้ของลูกหนี้ได้มากกว่าบุคคลธรรมดาทั่วไปปรากฏให้เห็นในบทบัญญัติมาตรา 727/1 วรรคสองที่ได้ปรับแก้ไขในปีพ.ศ. 2558 โดยยกเว้นให้บุคคลกลุ่มนี้สามารถเข้าค้ำประกันเพิ่มเติมในหนี้ของลูกหนี้นอกเหนือจากการจำนองได้อีก อีกทั้งเมื่อเทียบกับหลักกฎหมายของประเทศอังกฤษและสิงคโปร์แล้ว พบว่า กฎหมายของทั้ง 2 ประเทศนี้ไม่ได้กำหนดห้ามการทำข้อตกลงเรื่องการผ่อนเวลาไว้ล่วงหน้า สัญญาค้ำประกันภายใต้กฎหมายประเทศอังกฤษและสิงคโปร์จึงสามารถมีข้อตกลงสงวนสิทธิของเจ้าหนี้ว่า ผู้ค้ำประกันจะยังคงรับผิดในหนี้ประธานของลูกหนี้แม้ว่าเจ้าหนี้จะทำการผ่อนเวลาชำระหนี้ให้ลูกหนี้ ซึ่งเป็นเสรีภาพในการทำสัญญาของคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย การห้ามไม่ให้ทำข้อตกลงดังกล่าวไว้ล่วงหน้าจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้กับเจ้าหนี้กรณีที่ไม่สามารถติดต่อให้ผู้ค้ำประกันลงนามตกลงยินยอมต่อการผ่อนเวลาของลูกหนี้ได้ และอาจกระทบต่อลูกหนี้เองเนื่องจากเจ้าหนี้จะระมัดระวังในการพิจารณาให้สินเชื่อและการพิจารณาผ่อนเวลาชำระหนี้ให้กับลูกหนี้ จากผลการศึกษาจึงสรุปได้ว่า กฎหมายควรกำหนดบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองระหว่างผู้ค้ำประกันทางแพ่งและผู้ค้ำประกันทางพาณิชย์โดยเฉพาะผู้ที่มีอำนาจจัดการและควบคุมการดำเนินงานของลูกหนี้ให้แตกต่างกัน โดยบทบัญญัติควรให้ผู้ค้ำประกันที่มีอำนาจจัดการตามกฎหมายหรือมีอำนาจควบคุมในกิจการของลูกหนี้นิติบุคคลสามารถทำข้อตกลงยินยอมต่อการผ่อนเวลาของลูกหนี้ไว้ล่วงหน้าได้ |
Description: | เอกัตศึกษา (ศศ.ม) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | กฎหมายเศรษฐกิจ |
URI: | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82120 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2022.148 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.IS.2022.148 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6480212934.pdf | 896.45 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.