Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82125
Title: | แนวทางในการพัฒนาการรับรองมาตรฐานผักอินทรีย์ในประเทศไทย |
Authors: | นิภาส แสงจันทร์ |
Advisors: | วิโรจน์ วาทินพงศ์พันธ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Subjects: | สินค้าเกษตร -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ เกษตรอินทรีย์ |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการในการกำกับดูแล และการรับรองมาตรฐานผักอินทรีย์ของหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันการเลือกที่จะบริโภคผักที่ปลอดสารพิษ และได้รับการรับรองที่ถูกต้องถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญ รวมทั้งเรื่องการได้รับมาตรฐานต่างๆในการส่งออกหรือมาตรฐานในการรับรองที่เป็นที่ยอมรับ ปัจจุบันมีการพัฒนาตามเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วและเทรนด์การดูแลสุขภาพที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นของโลก เราควรให้ความสำคัญกับการบริโภคผักอินทรีย์ที่มีมาตรฐานที่ดีเพื่อให้สอดคล้อง กับความต้องการของประชากร เพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างมาตรฐานในการรับรองสินค้าผักอินทรีย์จากหน่วยงานภาครัฐเองให้เป็นที่ยอมรับมากขึ้น จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยนั้นการรับรองมาตรฐานโดยหน่วยงานภาครัฐ ของประเทศไทย ได้มีการกำหนดใช้มาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กําหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร โดยคณะทำงานเฉพาะกิจปรับปรุงมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ของประเทศไทย และผ่านการเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารงานวิจัยและพัฒนาเกษตรอินทรีย์ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการรับรองเกษตรอินทรีย์โดยภาครัฐ และในส่วนขององค์กรภาคเอกชนในประเทศไทย สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) รวมถึงสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of Organic Agriculture Movement – IFOAM) ได้จัดทำเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำสำหรับตรวจสอบรับรองเกษตรอินทรีย์เป็นที่ยอมรับในกลุ่มประเทศในยุโรปและในปัจจุบันนั้นก็พบว่าการรับรองผักอินทรีย์ในประเทศไทย ในการรับรองโดยหน่วยงานภาครัฐไม่ได้การยอมรับมาตรฐานสากล และไม่ได้ใช้เป็นมาตรฐานบังคับในส่วนของหน่วยงานที่ภาครัฐให้การรับรอง แนวทางการสร้างมาตรฐานผักอินทรีย์ในประเทศไทยปัจจุบัน ยังขาดความชัดเจนในเรื่องของการกำหนดมาตรฐานของสินค้าเกษตรอินทรีย์โดยเฉพาะผักอินทรีย์ ให้เป็นมาตรบังคับ และส่งเสริมให้เป็นที่ยอมรับของสากล ทำให้มีสินค้าที่ผลิตได้ไม่มีมาตรฐานการรองรับที่ดี ส่งผลในเรื่องของความเชื่อมั่นกับตัวสินค้าในมุมมองของผู้บริโภคอีกด้วยจึงควรกำหนดแนวทางการพัฒนามาตรฐานผักอินทรีย์ให้มีมาตรฐานที่ดี โดยเปรียบเทียบกับการรับรองมาตรผักอินทรีย์จากต่างประเทศเพื่อการรับรองมาตรฐานผักอินทรีย์ในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองโดยหน่วยงานของภาครัฐให้มีมาตรฐานที่ดียิ่งขึ้นและเป็นที่ยอมรับของต่างประเทศอีกด้วย ผู้ศึกษาเห็นว่าตามที่ได้ไปศึกษามาในการรับรองมาตรฐานในต่างประเทศ โดยศึกษามาตรการของประเทศแคนนาดามีระบบเกษตรอินทรีย์แคนาดาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาลแคนาดา (Canada Organic Regime-COR) ซึ่งได้กำหนดกฎระเบียบผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ (Organic Products Regulations, 2009-SOR/2009-176) ปรากฏอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร (CANADA Agricultural Products Act) ซึ่งเนื้อหาว่าด้วยเรื่องของการรับรองหน่วยงาน รับรองระบบงาน หน่วยงานรับรอง การติดฉลาก และการค้าระหว่างประเทศ และประเทศญี่ปุ่นมีระบบเกษตรอินทรีย์ของญี่ปุ่นอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาลญี่ปุ่น กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง (Ministry of Agriculture, Forestry and Fisheries - MAFF) ซึ่งได้กำหนดแนวปฏิบัติระบบเกษตรอินทรีย์หน่วยงานที่สามารถให้การรับรอง และสามารถติดฉลาก Organic JAS และประเทศญี่ปุ่น และประเทศแคนนาดาเองจะให้ความสำคัญในการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานภาครัฐเพื่อรับรองทั้งสินค้านำเข้าและส่งออกได้รวมถึงพัฒนาระเบียบต่างๆให้เป็นที่ยอมรับของสากลรวมถึงเข้าร่วมมาตรฐานต่างๆของแต่ละประเทศที่เป็นที่ยอมรับ ดังนั้นเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการปรับใช้ในประเทศไทย และเป็นแนวทางในการสร้างมาตรฐานในประเทศไทยของหน่วยงานภาครัฐที่ให้การรับรองให้มีมาตรฐานเทียบเท่าระดับสากลอย่างมีประสิทธิภาพ อันจะเป็นประโยชน์กับประเทศไทย ที่จะได้รับรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการส่งออกหรือสินค้ามีมาตรฐานที่ยอมรับมากขึ้นในประเทศ และเพื่อให้เกิดการพัฒนาในการรับรองมาตรฐานของหน่วยงานภาครัฐ สร้างความเชื่อมั่น (Credibility) ที่เป็นสิ่งสำคัญและเป็นหัวใจหลักของของการเกษตรและผู้ชอบดูแลสุขภาพ รวมถึงผู้ประกอบการรายใหญ่ที่หวังว่าภาครัฐจะสามารถให้การรับรองในผลิตภัณฑ์ผักอินทรีย์เพื่อส่งออกไปขายยังต่างประเทศได้หน่วยงานภาครัฐจึงควรตั้งหน่วยงานเฉพาะขึ้นมาเพื่อศึกษาหรือควบรวมกับภาคเอกชนให้สามารถมีมาตรฐานรับรองที่สามารถรับรองถึงมาตรฐานการนำเข้าสินค้า และส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศได้ เพื่อให้การรับรองเป็นมาตรฐานของหน่วยงานภาครัฐมีมาตรฐานมากขึ้นนั้นเอง และมาตรฐานของประกาศกระทรวงเกษตร เกี่ยวกับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์นั้นก็ควรแก้ไขให้ใช้เป็นเป็นมาตรฐานบังคับในการรับรองมาตรฐาน เพื่อให้การที่จะนำเข้า และส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศได้นั้นจะต้องยึดตามมาตรฐานตามกำหนดนี้ ซึ่งดูจากข้อมูลของต่างประเทศแล้วได้ใช้เป็นเกณฑ์บังคับ การรับรองมาตรฐานของแต่ละหน่วยงานควรจะต้องมีมาตรฐานที่ดีขึ้นและยังเป็นผลดีต่อทั้งผู้บริโภคอีกด้วยในการที่จะได้ซื้อสินค้าที่มีมาตรฐานที่ดีโดยที่หน่วยงานภาครัฐนั้นผ่านการตรวจสอบมาแล้วนั้นเอง อีกทั้งยังเป็นความสบายใจของผู้บริโภคที่จะได้บริโภคสินค้าที่ปลอดภัย |
Description: | เอกัตศึกษา (ศศ.ม) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | กฎหมายเศรษฐกิจ |
URI: | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82125 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2022.152 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.IS.2022.152 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6480217034.pdf | 1.02 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.