Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82149
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสิพิม วิวัฒนวัฒนา-
dc.contributor.authorรัตนพล เข็มบุปฝา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-05-31T07:21:01Z-
dc.date.available2023-05-31T07:21:01Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82149-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565en_US
dc.description.abstractเอกัตศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาแนวคิดหลักการของกฎหมายในการจัดเก็บภาษีน้ำฝน มาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมเพื่อศึกษาและเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมในการบังคับใช้กฎหมายในการ จัดเก็บภาษีน้ำฝนในประเทศไทย ด้วยวิธีการศึกษาและวิจัยเชิงคุณภาพโดยการรวบรวมข้อมูลเชิงเอกสาร เกี่ยวกับหลักการจัดเก็บภาษีอากรที่ดี ประเภทของภาษีอากร ประเด็นภาษีอากรกับการเพิ่มขีดความสามารถ ในการทำงานของรัฐ ทฤษฎีภาษีสิ่งแวดล้อม หลักกฎหมายในการจัดเก็บภาษี ดูแลควบคุม อาคารและสิ่งปลูกสร้างของไทย ทั้งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 รวมถึงพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร 2562 และการใช้กฎหมายในการรักษาความสะอาดและเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง ทั้งพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 และ ประกาศกระทรวงสาธารณสุขสุขลักษณะการจัดการสิ่งปฏิกูล พ.ศ. 2561 แนวทางการจัดเก็บภาษีน้ำฝนของประเทศสหพันธรัฐเยอรมนีและสาธารณรัฐโปแลนด์ แล้วจึงนำข้อมูลที่ได้ศึกษามารวบรวม และวิเคราะห์ โดยการศึกษาแนวทางการจัดเก็บภาษีน้ำฝน ในสหพันธรัฐเยอรมนี และสาธารณรัฐโปแลนด์ มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย จากการศึกษาพบว่า แนวทางในการนำหลักการจัดเก็บภาษีน้ำฝนในต่างประเทศมาประยุกต์ใช้กับ ประเทศไทยจะพบว่าประเทศไทยสามารถนำแนวทางการจัดเก็บภาษีดังกล่าวมาใช้บังคับ 3 ประการ ดังต่อไปนี้ (1) การให้อำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดเก็บภาษีน้ำฝนในเขตเมือง (2) วัตถุประสงค์ของการจัดสรรเงินที่เกิดจากการจัดเก็บภาษี เพื่อนำไปใช้ประโยชน์สาธารณะสำหรับ ประเด็นเรื่องการบริหารจัดการระบบการจัดการน้ำท่วม น้ำขังเจิ่งนอง ในส่วนของการเพิ่มแหล่งรับน้ำ ซ่อมแซมบำรุงรักษาระบบท่อระบายน้ำ เพื่อไม่ให้เกิดน้ำท่วมขัง หรือระบายน้ำออกนอกเขตเมือง จนไปกระทบต่อผู้คนที่อยู่รอบนอก ให้ทรัพย์สินเสียหาย รวมถึงการแก้ปัญหาเร่งด่วนเมื่อไม่ให้น้ำท่วมขัง หรือเจิ่งนองบนท้องถนน เช่นการจัดซื้อเครื่องสูบน้ำ เพื่อไม่ให้พื้นผิวถนนมีน้ำขังซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ถนนลื่น ส่งผลต่อการสัญจรไปมาจนอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุและความเดือดร้อนรำคาญ (3) การใช้มาตรการจูงใจในการลดหย่อนภาษีน้ำฝนเพื่อประโยชน์ในการใช้ทรัพยากรน้ำ ให้เป็นไปอย่างประหยัด คุ้มค่า เพื่อไม่ให้ได้รับผลกระทบกรณีเมื่อเกิดปัญหาภัยแล้ง และเป็นการสร้างสังคมสีเขียวสำหรับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงเห็นว่าประเทศไทยควรมีการนำหลักการในการจัดเก็บภาษีน้ำฝนมาประยุกต์ใช้ เพื่อนำเงินจากการจัดเก็บภาษีไปสนับสนุนการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังเจิ่งนองและเพื่อควบคุม ป้องกัน รวมถึง ฟื้นฟูมวลน้ำที่มีส่วนผสมของมลพิษไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยอาจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของ ประชาชนในการเก็บกักน้ำฝน เพื่อนำน้ำมาใช้ในการอุปโภค เช่น นำมารดน้ำต้นไม้ ปลูกผักสวนครัว ล้างรถ หรือใช้ทำความสะอาด และจะเป็นการนำไปสู่การสร้างสังคมสีเขียวสำหรับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2022.165-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการจัดเก็บภาษีen_US
dc.subjectน้ำฝน -- ค่าธรรมเนียมen_US
dc.subjectการป้องกันความเสียหายจากน้ำท่วมen_US
dc.titleแนวทางในการจัดเก็บภาษีน้ำฝนที่ตกในเขตเมืองen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subject.keywordการจัดเก็บภาษีน้ำฝนen_US
dc.subject.keywordภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2022.165-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6480234734.pdf756.18 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.