Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82244
Title: The effects of co-ingestion of highly branched cyclic dextrin and dietary nitrate on physiological responses and endurance capacity in recreational endurance runners
Other Titles: ผลของการบริโภคไฮลี่บรานซ์ไซคลิกเด็กซ์ตรินร่วมกับไนเตรทที่มีต่อการตอบสนองทางสรีรวิทยาและความสามารถด้านความอดทนในนักกีฬาวิ่งระยะไกลเพื่อการนันทนาการ
Authors: Songdhasn Chinapong
Advisors: Nattiporn Nokkaew
Jason, Lee Kai Wei
Krittiya Khuenpet
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Sports Science
Issue Date: 2022
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: This study aimed to investigate the effects of co-ingestion of HBCD and dietary nitrate on physiological responses and endurance capacity in recreational endurance runners compared with an isocaloric HBCD beverage, a maltodextrin-dietary nitrate beverage, and a maltodextrin beverage during high-intensity prolong running. Nine male marathon runners (age 35.00 ± 4.00 years) participated in a double-blind crossover design, where they were randomly assigned to receive either the co-ingesting 1.5 g HBCD·kg-1 BM and 500 mg dietary NO3- (~8.00 mmol NO3-) beverages (HBCD+NO3-), the ingesting 1.5 g HBCD·kg-1 BM (HBCD), the co-ingesting 1.5 g MD·kg-1 BM and 500 mg dietary NO3- (~8.00 mmol NO3-) beverages (MD+NO3-) or the ingesting 1.5 g MD·kg-1 BM beverage (MD) 60 min prior to the running economy test following by a 60-min constant load running at a speed equivalent to 70% of V̇O2peak. Measurements of substrate oxidation, muscle oxygenation, and oxygen cost were taken to assess running economy as well as serum glucose concentration, serum insulin concentration and blood lactate concentration, gastrointestinal symptoms, and rate of perceived exertion (RPE). The results showed no significant differences in the serum insulin concentration, serum glucose concentration, blood lactate concentration, oxygen cost, muscle oxygenation, among the HBCD+NO3-, HBCD, MD+NO3-, and MD conditions. However, it was found that the ingesting HBCD it had increase fat oxidation rate and lower the RER compared to the HBCD+NO3-, the MD+NO3-, or MD. This indicate that the ingesting HBCD may modulate fat metabolism and affect the lower RER compared to the co-ingesting of HBCD+NO3- or other CHO sources.
Other Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการบริโภคไฮลี่บรานซ์ไซคลิกเด็กซ์ตรินร่วมกับไนเตรทต่อการตอบสนองทางสรีรวิทยาและความสามารถด้านความอดทนของนักวิ่งระยะไกลเพื่อการนันทนาการ เปรียบเทียบกับการบริโภคไฮลี่บรานซ์ไซคลิกเด็กซ์ตริน มอลโตเด็กซ์ตรินร่วมกับไนเตรท และมอลโตเด็กซ์ตรินระหว่างการวิ่งที่มีความหนักสูงเป็นเวลานาน การศึกษาเป็นการวิจัยเชิงทดลองข้ามกลุ่มแบบสุ่มปกปิดสองทาง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักวิ่งมาราธอน เพศชาย จำนวน 9 คน (อายุ 35.00 ± 4.00 ปี) โดยสุ่มลำดับให้ได้รับไฮลี่บรานซ์ไซคลิกเด็กซ์ตริน 1.5 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมและไนเตรท (NO3-)  จากผงสกัดบีทรูทปริมาณ 500 มก. (~8.00 มิลลิโมล) (HBCD+NO3-), หรือไฮลี่บรานซ์ไซคลิกเด็กซ์ตริน 1.5 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (HBCD), หรือ มอลโตเด็กซ์ตริน 1.5 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมและ ไนเตรท (NO3-) จากผงสกัดบีทรูทปริมาณ 500 มก. (MD+NO3-) หรือมอลโตเด็กซ์ตริน 1.5 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (MD) เป็นระยะเวลา 60 นาทีก่อนการทดสอบประสิทธิภาพการวิ่งตามด้วยการวิ่งด้วยความเร็วเทียบเท่าร้อยละ 70 ของอัตราการใช้ออกซิเจนสูงสุด ระยะเวลา 60 นาที โดยวัดอัตราการออกซิเดชันของสารอาหารที่ให้พลังงานตั้งต้น ปริมาณออกซิเจนในกล้ามเนื้อ ต้นทุนการใช้ออกซิเจน ระดับกลูโคสในเลือด ระดับอินซูลินในเลือด ระดับแลคเตทในเลือด รวมไปถึงการรับรู้อาการทางระบบทางเดินอาหารและอัตราการรับรู้ความเหนื่อย ผลการวิจัยพบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในระดับอินซูลินในเลือด ระดับกลูโคสในเลือด ระดับแลคเตทในเลือด ต้นทุนการใช้ออกซิเจน ปริมาณออกซิเจนในกล้ามเนื้อ ระหว่างการบริโภคเครื่องดื่มในเงื่อนไข HBCD+NO3-, HBCD, MD+NO3- และ MD อย่างไรก็ตาม พบว่าการบริโภค HBCD มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของอัตราการออกซิเดชันของไขมันและอัตราส่วนการแลกเปลี่ยนก๊าซ (RER) ที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับ HBCD+NO3-, MD+NO3- หรือ MD ซึ่งบ่งชี้ว่าการบริโภค HBCD อาจมีผลต่อการใช้พลังงานจากไขมันเพิ่มขึ้นและส่งผลต่อค่า RER ที่ต่ำลงเมื่อเปรียบเทียบกับการกิน HBCD+NO3- หรือคาร์โบไฮเดรตจากแหล่งอื่น.
Description: Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2022
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Sports and Exercise Science
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82244
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.337
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2022.337
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6178604839.pdf3.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.