Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82248
Title: ผลของการฝึกด้วยท่าย่อยของการยกน้ำหนักต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวและกล้ามเนื้อรยางค์ช่วงล่างในพนักงานสำนักงานเพศหญิง
Other Titles: Effects of weightlifting derivatives training on core and lower limb muscle strength in female office workers
Authors: ภานุวัฒน์ ธนาเลิศสมบูรณ์
Advisors: นภัสกร ชื่นศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Issue Date: 2565
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกด้วยท่าย่อยของการยกน้ำหนักต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวและกล้ามเนื้อรยางค์ช่วงล่างในพนักงานสำนักงานเพศหญิง วิธีการดำเนินวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือพนักงานสำนักงานเพศหญิงอายุ 25-45 ปี จำนวน 29 คน อายุเฉลี่ย 31.9±3.96  แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มฝึกด้วยท่าย่อยของการยกน้ำหนักจำนวน 14 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 15 คน โดยการสุ่มแบบจับทีละคู่ตามช่วงอายุและค่าดัชนีมวลกาย กลุ่มฝึกด้วยท่าย่อยของการยกน้ำหนักทำการฝึก 2 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุมให้ดำเนินชีวิตประจำวันตามปกติ ทดสอบตัวแปรสรีรวิทยาทั่วไป ความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อของรยางค์ช่วงล่าง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรยางค์ช่วงบนและความยืดหยุ่น ใช้การวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปรต่างๆ ระหว่างกลุ่มฝึกด้วยท่าย่อยของการยกน้ำหนักและกลุ่มควบคุม เปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังฝึกของแต่ละกลุ่ม ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ (2x2) และทำการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ โดยใช้วิธีการทดสอบของแอลเอสดีที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า หลังการฝึก 8 สัปดาห์ กลุ่มฝึกด้วยท่าย่อยของการยกน้ำหนักมีความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว (1.11±0.31) ความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อรยางค์ช่วงล่าง (28.76±4.64, 18.43±3.39) ความแข็งแรงของรยางค์ช่วงบน (22.76±2.65) และความยืดหยุ่น (4.29±1.20) เพิ่มขึ้นจากก่อนการทดลองและมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย การฝึกด้วยท่าย่อยของการยกน้ำหนักสามารถนำมาใช้ออกกำลังกายสำหรับกลุ่มพนักงานสำนักงานเพศหญิง ซึ่งมีกิจกรรมทางกายน้อยหรือเพิ่งเริ่มออกกำลังกายแบบในแรงต้านได้ มีความปลอดภัยภายใต้การควบคุมของผู้ฝึกสอนและช่วยพัฒนาความแข็งแรงและความทนทานของร่างกายได้หลากหลายส่วนในเวลาเดียวกัน ได้แก่ รยางค์ช่วงบน แกนกลางลำตัวและรยางค์ช่วงล่าง รวมถึงเพิ่มความยืดหยุ่นของร่างกายได้เป็นอย่างดี
Other Abstract: This study aimed to determine the effects of weightlifting derivatives training on core and lower limb muscle strength in female office workers. Methods Twenty nine healthy female office workers, aged between 31.9±3.96 years, were participated in this study. They were matched by age and body mass index and were divided into the weightlifting derivative group (n=14), which performed weightlifting derivatives training 2 sessions/week for 8 weeks, or the control group (n=15), which received no intervention. Body composition, core muscle strength and endurance, lower limb strength and endurance, upper limb muscle strength and flexibility were measured before and after 8 weeks of the study. The 2x2 (Group x Times) ANOVA repeated measurement followed by Fisher's least significant difference (LSD) multiple comparison was used to determine the significance difference in all variables before and after training. The statistical significance level was set at <.05. Results After 8 weeks, the weightlifting derivatives training group showed significant improvement in core muscle strength and endurance (1.11±0.31), lower limb strength and endurance (28.76±4.64, 18.43±3.39), upper limb muscle strength (22.76±2.65) and flexibility (4.29±1.20). Conclusion Weightlifting derivatives training is practicable for female office workers, who have a sedentary lifestyle and beginner level of resistance exercise. These supervision exercises are safe and improving the total body muscle strength and endurance including core body, upper limb and lower limb. Moreover, it also improve the flexibility.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82248
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.764
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2022.764
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6270021939.pdf8.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.