Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82265
Title: Effects of Extraversion Personality Compatibility and the Michelangelo Phenomenon via Facebook on Marital Satisfaction
Other Titles: อิทธิพลของความเข้ากันได้ของบุคลิกภาพแบบเปิดตัวและปรากฏการณ์ไมเคิลแองเจลโล่ผ่านเฟซบุ๊คต่อความพึงพอใจในการสมรส
Authors: Wanthip Chawaleemaporn
Advisors: Yokfah Isaranon
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Psychology
Issue Date: 2022
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Divorce rates in newlywed couples has been rising dramatically globally, particularly Thailand. Young adults who strive for success often seek romantic relationships that promote their personal growth in order to thrive. The Michelangelo phenomenon is a psychological concept which explains how romantic relationships facilitate each other’s goal pursuit via partner affirmation. This research explores the dyadic influence of the similarity effects of the Big Five’s extraversion trait and marital satisfaction mediated by the Michelangelo phenomenon via Facebook in Thai newlyweds who have been married less than 5 years. 70 dyads were collected in two waves with a 6 month interval. The longitudinal modified Actor-partner Interdependence Model (APIM) with the use of structural equation modeling (SEM) suggests that the Michelangelo phenomenon has been found to be more effective in offline or face-to-face interactions as opposed to the online context like Facebook. Highly extraverted husbands benefit from the Michelangelo phenomenon more than wives while extraversion significantly influences marital satisfaction of wives directly in long term. Wives place a greater emphasis on the similarity of extraversion than husbands. The findings imply that collectivism context shapes Thai couples in terms of their perception of their ideal selves and love conceptualization. Partner affirmation is a key component of the Michelangelo phenomenon which helps relationships thrive, facilitates goal pursuit and enhances marital satisfaction. This is the first time that the Michelangelo phenomenon has been replicated in the collectivistic country.
Other Abstract: การหย่าร้างในหมู่คู่แต่งงานใหม่มีอัตราสูงขึ้นอย่างมากทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศไทย คนหนุ่มสาวที่มุ่งมั่นสู่ความสำเร็จมักแสวงหาความสัมพันธ์โรแมนติกที่ส่งเสริมการเติบโตส่วนบุคคลของพวกเขา ปรากฏการณ์ไมเคิลแองเจลโล่ (Michelangelo phenomenon) เป็นแนวคิดทางจิตวิทยาที่อธิบายว่าคนรักมีบทบาทส่งเสริมให้อีกคนบรรลุเป้าหมายในชีวิตผ่านการยืนยันของคนรัก (partner affirmation) งานวิจัยนี้วิเคราะห์ความคล้ายคลึงบุคลิกภาพเปิดตัวของคู่สมรสที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในชีวิตสมรสส่งผ่านโดยปรากฏการณ์ไมเคิลแองเจลโล่บนเฟซบุ๊ก และเป็นการศึกษาระยะยาวเพื่อวิจัยอิทธิพลของบุคลิกภาพเปิดตัวระหว่างสามีภรรยาโดยวิเคราะห์เป็นคู่ (dyadic research) ในกลุ่มคู่สมรสไทยที่แต่งงานไม่เกิน 5 ปี งานวิจัยนี้เก็บกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 70 คู่ สองระลอกเป็นระยะเวลา 6 เดือนผ่านโมเดลสมการเชิงโครงสร้างแบบกลุ่มสัมพันธ์ (Actor-Partner Interdependence Model: APIM) โดยวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) พบว่ามีปรากฏการณ์ไมเคิลแองเจลโล่ในชีวิตประจำวันแต่ไม่พบปรากฏการณ์ดังกล่าวในเฟซบุ๊ก จึงเป็นไปได้ว่าปรากฏการณ์ไมเคิลแองเจลโล่เหมาะกับการมีปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวันมากกว่าในออนไลน์  สามีที่มีบุคลิกภาพเปิดตัวสูงจะได้รับประโยชน์จากปรากฏการณ์ไมเคิลแองเจลโล่มากกว่าภรรยา ในขณะที่บุคลิกภาพเปิดตัวมีอิทธิพลโดยตรงต่อความพึงพอใจในชีวิตสมรสของภรรยา และข้อมูลชี้ให้เห็นว่าภรรยาให้ความสำคัญกับความคล้ายคลึงของบุคลิกภาพเปิดตัวมากกว่าสามี ผลการวิจัยบ่งชี้ว่าแนวความคิดกลุ่มนิยม (collectivism) หล่อหลอมคู่รักไทยในด้านการรับรู้ตัวตนในอุดมคติและแนวคิดเรื่องความรัก การยืนยันตัวตนในอุดมคติโดยคนรักเป็นองค์ประกอบสำคัญของปรากฏการณ์ไมเคิลแองเจลโล่ที่ส่งเสริมให้อีกคนเข้าใกล้ต่อตัวตนในอุดมคติ (ideal self) มากขึ้นจึงส่งผลคนนั้นเติบโตในระดับปัจเจกและยกระดับความพึงพอใจในชีวิตสมรส นี่เป็นครั้งแรกมีการศึกษาวิจัยปรากฏการณ์ไมเคิลแองเจลโล่ในประเทศที่มีวัฒนธรรมเป็นกลุ่มนิยมสูงอย่างประเทศไทย
Description: Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2022
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Psychology
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82265
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.315
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2022.315
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5977908938.pdf2.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.