Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82984
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปิยฤดี ไชยพร-
dc.contributor.authorกานต์ วศินสมบัติ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-08-04T07:28:22Z-
dc.date.available2023-08-04T07:28:22Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82984-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565-
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาคำอธิบายเรื่องความเชื่อใจจากทฤษฎีแบบรู้คิดและทฤษฎีที่ไม่ใช่แบบรู้คิด เพื่อตอบคำถามว่าความเชื่อใจในความหมายใดที่สามารถนำไปสู่ปฏิสัมพันธ์แบบการกระทำร่วมระหว่างคนแปลกหน้าได้ กรณีปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนแปลกหน้าที่วิทยานิพนธ์นี้สนใจคือเมื่อฝ่ายหนึ่งเป็นผู้มาเยือนในถิ่นฐานใหม่ ฝ่ายที่มาใหม่จำเป็นจะต้องได้รับความร่วมมือจากคนท้องถิ่น แต่คนท้องถิ่นไม่มีความจำเป็นต้องร่วมมือด้วยกับผู้ที่มาใหม่นั้น คำอธิบายแบบทฤษฎีเกมกล่าวว่าพวกเขาสามารถที่จะร่วมมือกันได้บนฐานที่พบว่าความร่วมมือนั้นจะนำไปสู่ผลประโยชน์สูงสุดแก่แต่ละฝ่ายโดยต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน แต่คนแปลกหน้าในกรณีที่ศึกษานี้ ต่างฝ่ายต่างย่อมมิอาจรู้ได้ว่าการร่วมมือกับอีกฝ่ายหนึ่งนั้นจะตอบสนองต่อผลประโยชน์ที่พึงปรารถนาเมื่อมีการปฏิสัมพันธ์เกิดขึ้นระหว่างกันได้หรือไม่ คำอธิบายของทฤษฎีแบบรู้คิดของรัสเซลล์ ฮาร์ดินกล่าวว่าการเชื่อใจเกิดขึ้นได้เมื่อบุคคลหนึ่งมีคุณสมบัติไว้ใจได้ที่เกิดจากการถูกกำกับโดยเงื่อนไขทางสถาบันเช่น กฎหมาย และเงื่อนไขทางสังคมที่มีอยู่ในสังคมที่จูงใจอยู่ แต่คนแปลกหน้าในกรณีที่ศึกษานี้ ฝ่ายหนึ่งถูกกำกับโดยเงื่อนไขทางกฎหมายและสังคม ขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งจะเข้ามาสู่การกำกับโดยเงื่อนไขนี้ได้จำเป็นต้องได้รับความเชื่อใจก่อน การกำกับดังกล่าวจึงไม่อาจใช้เป็นพื้นฐานให้สำหรับความเชื่อใจ คำอธิบายของมารูซิคกล่าวว่าการเชื่อใจเกิดขึ้นได้โดยการเห็นคนที่ถูกเชื่อใจในฐานะที่เขาเป็นผู้กระทำผู้ที่ตั้งมั่นที่จะทำบางสิ่งให้สำเร็จ แต่สำหรับมารูซิคคนที่จะถูกมองเห็นเช่นนี้ได้ต้องเป็นผู้ที่อยู่ในความสัมพันธ์กับผู้ที่เชื่อใจตนอยู่แล้ว คำอธิบายแบบทฤษฎีที่ไม่ใช่แบบรู้คิดของแบร์อ้างจากความเปราะบางซึ่งจะทำให้การมอบความเชื่อใจให้เป็นการสูญเสียการควบคุมซึ่งคนมีเหตุมีผลอาจจะต้องการหลีกเลี่ยง ส่วนคำอธิบายของโจนส์กล่าวว่าการเชื่อใจคือการมีจุดยืนในทางบวกต่อเจตนาดีและความสามารถของผู้อื่นที่ก่อตัวได้เองจากพื้นฐานที่ไม่ใช่หลักฐานตามปรกติ ทำให้สามารถตอบสนองเงื่อนไขเรื่องความมีเหตุมีผลเชิงความเชื่อและความมีเหตุมีผลเชิงปฏิบัติสำหรับทั้งฝ่ายผู้มาเยือนและคนท้องถิ่นได้-
dc.description.abstractalternativeThis thesis investigates the concept of trust from the perspectives of cognitivist theory and non-cognitivist theory. The goal is to answer the question of which meaning of trust can lead to collaborative interactions between strangers. The specific case of interest in this thesis is when one party is a visitor in a new territory and needs cooperation from the local inhabitants, who are not necessarily obliged to cooperate with the newcomer. The game theory explanation suggests that they can cooperate based on mutual anticipation that cooperation will lead to maximum benefits for both sides via reciprocal actions from each other. But this will not do because the strangers on both sides lack knowledge whether cooperation will lead to undesirable outcomes. The cognitivist theory of Russell Hardin posits that trust arises when individuals are trustworthy by being subject to institutional conditions such as laws and social norms prevailing in the society. However, in the case studied, even though locals are already constrained by legal and social conditions, the newcomer must gain trust before they can be so constrained. Berislav Marusic’s explanation contends that trust arises when people put their trust in someone acting in the capacity of agent avowing to accomplish something out of his own will. However, to be seen as trustworthy, the newcomer must already be in a relationship with locals who will give them trust. The non-cognitivist theory of Annette Baier suggests that trust is having confidence in goodwill of others and entrusting them with the care of something valuable to trustors out of vulnerability but locals are likely to find trusting out of vulnerability degrading their status and will choose not to. Last but not least, Karen Jones’s explanation contends that trust arises as an optimism about the other party’s goodwill and abilities in the relevant domain, so when combined with Marusic’s participant’s perspectives, this meaning of trust meets the conditions of epistemic rationality and practical rationality for both parties in the way that no other alternatives do.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.684-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationArts and Humanities-
dc.subject.classificationHuman health and social work activities-
dc.subject.classificationPhilosophy and ethics-
dc.titleทฤษฎีความเชื่อใจที่ไม่ใช่แบบรู้คิดกับการกระทำร่วมระหว่างคนแปลกหน้า-
dc.title.alternativeNon-cognitivist theories of trust and collective action between strangers-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineปรัชญา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2022.684-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280004322.pdf2.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.