Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83457
Title: แนวทางการพัฒนาการมองโลกเชิงบวกทางวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Approaches for developing academic optimism of primary school teachers under Bang Khuntien district Bangkok Metropolitan Administration
Authors: สิทธิศักดิ์ สิทธิจินดา
Advisors: เพ็ญวรา ชูประวัติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: โรงเรียนประถมศึกษา -- ไทย -- กรุงเทพฯ
การมองโลกในแง่ดี
ครูประถมศึกษา
Schools -- Thailand -- Bangkok
Optimism
Elementary school teachers
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการมองโลกเชิงบวกทางวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร 2) นำเสนอแนวทางการพัฒนาการมองโลกเชิงบวกทางวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ประชากรที่ศึกษา คือ โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร จำนวน 7 โรงเรียน ปีการศึกษา 2564 ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหาร หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ ครูผู้สอนวิชาแนะแนว ครูผู้สอนวิชาลูกเสือ-เนตรนารี จำนวนทั้งหมด 96 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (x ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) การวิเคราะห์ดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น (Modify Priority Needs Index:PNI [modified]) ฐานนิยม (Mode) และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการมองโลกเชิงบวกทางวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการรับรู้ความสามารถของครู และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำ สุดคือ ด้านการไว้วางใจของครูต่อนักเรียนและผู้ปกครอง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การมุ่งเน้นวิชาการของครู และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การไว้วางใจของครูต่อนักเรียนและผู้ปกครอง ลำดับความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการมองโลกเชิงบวกทางวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร มีลำดับความต้องการจำเป็นจากสูงไปหาต่ำ คือ ด้านการไว้วางใจของครูต่อนักเรียนและผู้ปกครอง (PNI [modified] = 0.411) ด้านการมุ่งเน้นวิชาการของครู (PNI [modified] = 0.301) และด้านที่มีลำดับความต้องการจำเป็นต่ำสุด คือ ด้านการรับรู้ความสามารถของครู (PNI [modified] = 0.280) 2) แนวทางการการพัฒนาการมองโลกเชิงบวกทางวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร มีทั้งหมด 3 แนวทางหลัก 6 แนวทางย่อย 18 วิธีดำเนินการ คือ (1) ยกระดับการไว้วางใจของครูที่มีต่อนักเรียนและผู้ปกครอง โดยการสอนงาน และการเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย 2 แนวทางย่อย คือ (1.1) สร้างความเชื่อมั่นในความสามารถของผู้ปกครอง โดยการสอนงาน และการเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน และ (1.2) พัฒนาความเชื่อมั่นในความปรารถนาดี น่าเชื่อถือ ซื่อสัตย์และจริงใจเปิดเผยของนักเรียน โดยการสอนงาน และการเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน (2) พัฒนาการมุ่งเน้นวิชาการของครูในการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน โดยการสอนงาน และการเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย 2 แนวทางย่อย คือ (2.1) พัฒนาการเตรียมความพร้อมกับสถานการณ์ต่าง ๆ ในการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ โดยการสอนงาน และการเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน และ (2.2) เสริมสร้างการมุ่งเน้นการเพิ่มศักยภาพของนักเรียน โดยการสอนงาน และการเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน (3) เสริมสร้างการรับรู้ความสามารถของครู โดยการสอนงาน และการเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย 2 แนวทางย่อย คือ (3.1) ส่งเสริมการอุทิศตน ทุ่มเทในการปฏิบัติหน้าที่ โดยการสอนงาน และการเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน และ (3.2) สร้างความมั่นใจต่อความสามารถของตนเอง โดยการสอนงาน และการเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน
Other Abstract: The purposes of this research were to assess the priority needs of developing academic optimism of primary school teachers under Bangkhuntien district Bangkok Metropolitan Administration and second, to propose the approaches for developing academic optimism of primary school teachers under Bangkhuntien district Bangkok Metropolitan Administration. The Research population was teachers in school under Bangkhuntien district Bangkok Metropolitan Administration, registered during the academic year 2021. The research informants consisted of 96 administrators and teachers. The research instrument used in this study was a five-level rating scale questionnaire and five level rating scale of appropriability and possibility. The data was analyzed and presented in the forms of frequency distribution, percentage, arithmetic mean, standard deviation, and Modified Priority Need Index (PNI [modified]), mode and contents analysis. The research results were as follows: 1) The present state of developing academic optimism of primary school teachers under Bangkhuntien district Bangkok Metropolitan Administration was performed at a high level. Whereas the highest average was Collective Efficacy and the lowest average was Collective Faculty Trust in Students and Parents. The desirable state of developing academic optimism of primary school teachers under Bangkhuntien district Bangkok Metropolitan Administration was performed at a highest level. Moreover, the highest average was Academic Emphasis, while the lowest average was Collective Faculty Trust in Students and Parents. The priority needs of developing academic optimism of primary school teachers under Bangkhuntien district Bangkok Metropolitan Administration, rank from highest to the lowest, were Collective Faculty Trust in Students and Parents (PNI [modified] = 0.411), Academic Emphasis (PNI [modified] = 0.301) and Collective Efficacy (PNI [modified] = 0.280), respectively. 2) There were 3 main approaches, 6 sub-approaches, and 18 ways to develop teachers in primary school under Bangkhuntien district Bangkok Metropolitan Administration as followed: (1) Improve Collective Faculty Trust in Students and Parents by coaching and action learning and there were 2 sub-approaches (1.1) Developing Collective Faculty Trust in Parents by coaching and action learning (1.2) Developing Collective Faculty Trust in goodwill trustworthy and honest of students by coaching and action learning (2) Developing Academic Emphasis of teachers for increasing learners’ achievement by coaching and action learning and there were 2 sub-approaches (2.1)Developing readiness in situations by coaching and action learning (2.2) Developing the potential of students by coaching and action learning (3) Developing Collective Efficacy of teachers by coaching and action learning and there were 2 sub-approaches (3.1) Developing devotion of teachers by coaching and action learning (3.2) Developing confidence of teachers by coaching and action learning.
Description: สารนิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83457
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.343
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2021.343
Type: Independent Study
Appears in Collections:Edu - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
mp_6380178327_sitthisak_si.pdf2.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.