Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8359
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจุมพล พูลภัทรชีวิน-
dc.contributor.authorปิยะมาศ ยินดีสุข-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-10-21T06:14:47Z-
dc.date.available2008-10-21T06:14:47Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9741418043-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8359-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการในการจัดการศึกษาของโรงเรียนวิถีพุทธ 2 โรงเรียนคือ โรงเรียนสัมมาสิกขาสันติอโศกและโรงเรียนมัธยมวัดบึงทองหลาง ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีลักษณะการจัดการศึกษาในแนวคิดการพัฒนาทางเลือกและแนวคิดการพัฒนากระแสหลัก โดยผู้วิจัยศึกษาหลักการแนวคิดทางพุทธศาสนาเพื่อนำไปสู่การจัดการศึกษาแนวพุทธ วิธีการจัดการเรียนการสอน ผลที่เกิดขึ้นจากการจัดการศึกษา ตลอดจนศึกษาปัจจัยที่สนับสนุนและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนวิถีพุทธ ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า การจัดการศึกษาของโรงเรียนสัมมาสิกขาสันติอโศก เน้นการพัฒนาด้านคุณธรรมศีลธรรมผ่านการเรียนรู้ร่วมกันของโรงเรียน วัดและชุมชน จากการประกอบกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันและกิจกรรมประเพณีวัฒนธรรมประจำปีของชาวอโศก นักเรียนที่ผ่านการศึกษาตามรูปแบบของชาวอโศกจะได้รับการฝึกหัดและพัฒนาด้านศีลธรรม คุณธรรมและงานวิชาชีพเพื่อให้สามารถช่วยเหลือและเลี้ยงตัวเองได้ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข ทั้งผู้ปกครองและนักเรียนรวมทั้งบุคลากรทางการศึกษามีความพึงพอใจในการจัดการศึกษาของชาวอโศก เพราะเป็นการจัดการศึกษาที่สร้างและพัฒนาให้ผู้เรียนมีความเห็นที่ถูกต้องในเรื่องต่างๆของชีวิตตามแนวทางของพุทธศาสนา (สัมมาทิฐิ) โดยมีบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียน วัดและชุมชนเป็นแบบอย่างที่ดีในการเรียนรู้และพัฒนา แต่จากการศึกษาพบว่า สิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการจัดการศึกษาก็คือ การขาดแคลนบุคลากรทางศึกษาที่จะมาทำหน้าที่ในการดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิดเพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา และการที่ชุมชนและสังคมภายนอกชุมชนที่มีรูปแบบพัฒนาตามแนวคิดการพัฒนากระแสหลัก ให้ความสนใจในวิถีชีวิตและการศึกษาของชาวอโศก ก็มีส่วนทำให้บรรยากาศปฏิสัมพันธ์ของสมาชิกในชุมชนลดลง การนำวิถีพุทธเข้าสู่โรงเรียนมัธยมวัดบึงทองหลาง เป็นการเริ่มต้นของการนำพุทธศาสนาเข้าสู่โรงเรียนเพื่อสืบสานวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของไทย โดยเริ่มจากการให้บุคลากรในโรงเรียนเกิดความเข้าใจและเห็นคุณค่าของวิถีพุทธ วิถีธรรมที่มีความสำคัญเพราะมีส่วนช่วยในพัฒนา ป้องกันตลอดจนแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในวิถีชีวิตของนักเรียนในปัจจุบัน ซึ่งอยู่ในกระแสโลกาภิวัตน์ ด้วยการบูรณาการพุทธธรรมเข้าสู่การเรียนรู้ทุกด้านของโรงเรียน โดยมีสถาบันทางศาสนาให้ความร่วมมือและช่วยเหลือในการฝึกอบรมนักเรียน นักเรียนจึงได้เรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมอันดีงามของไทยมากขึ้น จากการเข้าร่วมกิจกรรมทางพุทธศาสนาและการพัฒนาตนเองเพื่อให้เกิดการพัฒนาด้านศีล สมาธิ ปัญญา ตามแนวทางพุทธศาสนา แต่สิ่งที่ยังเป็นอุปสรรคต่อการจัดการศึกษาก็คือ การสร้างความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมพื้นฐานของพุทธศาสนาให้ซึมซับลงสู่ตัวครูต้องใช้เวลา เพราะแนวคิดและการปฏิบัติในพุทธศาสนาซึ่งมีมิติทั้งในด้านกว้างและด้านลึก จึงต้องอาศัยบุคลากรที่มีความเข้าใจในพุทธศาสนาและการศึกษาเป็นอย่างดี สามารถนำพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในการศึกษาได้อย่างกลมกลืน ซึ่งในทางปฏิบัติโรงเรียนวิถีพุทธก็ขาดแคลนบุคลากรทีมีความรู้ความสามารถที่จะมาดูแลและให้ความช่วยเหลืออย่างใกล้ชิดen
dc.description.abstractalternativeThe research aims to study the education management of two "Buddhist way of life" schools: Samma Sikkha Santi Asoke and Wat Bueng Thong Lang which represents alternative and mainstream education respectively. The research deals with the principle of Buddhism which can be employed in "Buddhist way of life" schools. How to organize teaching and learning. What is the fruit of such education and what factors that support or impede the education to foster Buddhist way of life? Qualitative research methodology is employed. The study reveals that Samma Sikkha Santi Asoke emphasises inculcating morality through the joint effort of school, temple and local community by participating in various daily activities and other annual Santi Asoke traditions. Students in this school have a chance to practice and develop morality and vocational training so that they can help themselves to survive peacefully in society. Both guardians, students and education experts are satisfied with Samma Sikkha Santi Asoke's education philosophy and management because student learn to live a Buddhist way of life with school staff, temple and the Santi Asoke community providing good role models. The shortcomings are the lack of adequate teachers to closely supervise students to encourage them to continually learn and develop. Another obstacle is the outside community has developed in the main stream which is in contrast with Santi Asoke's way of life and is a factor that impedes the closer relationship within the community. Wat Bueng Thong Lang introduces Buddhist way of life concept into school in order to foster cultural heritage and the Thai way. Starting from some school staff realize the importance of Buddhism in helping school develop and prevent problems in the students, then seek cooperation from religious institutions to help train students develop ethics, concentration, and wisdom in line with Buddhist way. But the main obstacle is it takes time for teachers to absorb and be competent due to the nature of Buddhism which has both depth and dimension. In practice, Wat Bueng Thong Lang does not have enough competent personnel to closely supervise and help students.en
dc.format.extent8472540 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการศึกษาทางพุทธศาสนาen
dc.subjectพุทธศาสนา -- การศึกษาและการสอนen
dc.subjectโรงเรียนวิถีพุทธen
dc.subjectจิตวิญญาณen
dc.titleการศึกษาเพื่อพัฒนาสุขภาวะทางจิตวิญญาณของนักเรียนโรงเรียนวิถีพุทธen
dc.title.alternativeEducation for the development of students' spiritual well being in "Buddhist way of life" schoolsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพัฒนศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorChumpol.P@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyamas.pdf8.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.