Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83879
Title: การศึกษาเชิงเปรียบเทียบลักษณะกายภาพและชีววิทยาโมเลกุลของเซลล์ต้นกำเนิดที่สร้างจากตัวอ่อนและเซลล์ร่างกายเพื่อนำไปใช้ทางคลินิก : รายงานวิจัย
Other Titles: Comparative studies of anatomical and biomolecular levels of human stem cell derived from embryo and somatic cells for clinical application
Authors: กำธร พฤกษานานนท์
รัฐจักร รังสิวิวัฒน์
ปราณี นำชัยศรีค้า
นิพัญจน์ อิศรเสนา ณ อยุธยา
ประมวล วีรุตมเสน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Subjects: สเต็มเซลล์
สเต็มเซลล์ตัวอ่อน
Stem cells
Embryonic stem cells
Issue Date: 2558
Publisher: คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เซลล์ต้นกำเนิดจากการเหนี่ยวนำ (induced pluripotent stem cells; iPSCs) สามารถสร้างได้ จากการเหนี่ยวนำเซลล์ชนิดต่าง ๆ ของร่างกาย ให้มีลักษณะทางกายภาพ และคุณสมบัติทางชีววิทยาโมเลกุลคล้ายคลึงกับเซลล์ต้นกำเนิดที่แยกจากตัวอ่อน (embryonic stem cells; ESCs) ด้วยความสามารถในการแบ่งตัวอย่างไม่จำกัด และเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่จำเพาะได้หลายชนิด จึงมีความพยายามในการศึกษาวิจัย โดยมีจุดประสงค์เพื่อนำเซลล์ต้นกำเนิดทั้งจากตัวอ่อน และจากการเหนี่ยวนำเซลล์ร่างกาย มาประยุกต์ใช้ ในทางการแพทย์ เช่น การปลูกถ่ายหรือการรักษาด้วยเซลล์ การทดสอบค้นคว้าหายาตัวใหม่ การศึกษานี้ คณะผู้วิจัย มีจุดประสงค์ คือ (1) แยกเซลล์ไฟโบรบลาสจากเนื้อเยื่อแผลเป็นจากการผ่าตัดคลอด (2) สร้างสายพันธุ์เซลล์ต้นกำเนิดจากการเหนี่ยวนำโดยได้เลือกใช้เซลล์ไฟโบรบลาส ที่แยกได้จากเนื้อเยื่อแผลเป็น ที่เกิดจากการผ่าตัดคลอด เลือกใช้ Sendai virus สายพันธุ์ TS7 ซึ่งเป็น RNA virus นำยีนจากภายนอก ได้แก่ OCT-3/4, SOX2, Klf4 และ c-Myc เข้าสู่เซลล์ และเปรียบเทียบคุณสมบัติการเป็นเซลล์ต้นกำเนิดของเซลล์ต้นกำเนิดจากการเหนี่ยวนำ กับเซลล์ต้นกำเนิดที่แยกจากตัวอ่อน (3) เปลี่ยนแปลงเซลล์ต้นกำเนิดจากการเหนี่ยวนำ เซลล์ต้นกำเนิดจากตัวอ่อน และเซลล์ไฟโบรบลาสจากแผลเป็นผ่าตัดคลอด เป็นเซลล์ประสาท (4) เลี้ยงเซลล์ต้นกำเนิดจากการเหนี่ยวนำ และ เซลล์ต้นกำเนิดจาก ตัวอ่อน ในสภาวะการเลี้ยงที่ไม่มีการปนเปื้อนผลิตภัณฑ์จากสัตว์ คณะผู้วิจัยสามารถแยกเซลล์ไฟโบรบลาส จากเนื้อเยื่อแผลเป็นจากการผ่าตัดคลอด โดยเซลล์ไฟโบรบลาสดังกล่าว แสดงคุณสมบัติเบื้องต้นคล้ายเซลล์ต้นกำเนิดชนิดมีเซนไคม์ ผู้วิจัยสามารถสร้างสายพันธุ์เซลล์ต้นกำเนิด จากการเหนี่ยวนำเซลล์ไฟโบรบลาส จากเนื้อเยื่อแผลเป็นที่เกิดจากการผ่าตัดคลอด โดยเซลล์ต้นกำเนิดดังกล่าวนี้ มีลักษณะทางกายภาพ ที่คล้ายคลึงกับเซลล์ต้นกำเนิดที่ยแกได้จากตัวอ่อน มีลักษณะชีววิทยาโมเลกุล เช่น การแสดงออกของยีน การแสดงออกของโปรตีน การเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่จำเพาะ หรือการรักษาความปกติในระดับโครโมโซม ที่คล้ายคลึงกับเซลล์ต้นกำเนิดที่แยกได้จากตัวอ่อน นอกจากนั้น เมื่อทำการกระตุ้นให้เซลล์ต้นกำเนิดที่สร้างได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์ประสาท พบว่า เซลล์ประสาทที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ต้นกำเนิดจากการเหนี่ยวนำ เซลล์ไฟโบรบลาส และเซลล์ต้นกำเนิดจากตัวอ่อน มีลักษณะที่คล้ายคลึงกันทั้งในทางกายภาพและชีววิทยาโมเลกุล นอกจากนั้น คณะวิจัย ยังสามารถพัฒนาระบบการเลี้ยงเซลล์ต้นกำเนิดที่แยกจากตัวอ่อนและเซลล์ต้นกำเนิดจากการเหนี่ยวนำ ที่ไม่มีการปนเปื้อนผลิตภัณฑ์จากสัตว์โดยใช้ซีรั่มจากเลือดสายสะดือของทารก แทนการใช้ซีรั่มของโค ซึ่งสภาพการเลี้ยงเซลล์ต้นกำเนิดดังกล่าวนี้ สามารถพัฒนาต่อยอดใช้ในการสร้างสายพันธุ์เซลล์ต้นกำเนิด จากการเหนี่ยวนำ เพื่อนำไปใช้ในทางคลินิก ในอนาคตได้
Other Abstract: Induced pluripotent stem cells (iPSCs) can be generated by reprogramming of somatic cells, resulting to the pluripotent stem cells that share morphological and biomolecular similarities to the embryonic stem cells (ESCs). In the near future, both iPSCs and ESCs can be used for medical applications including cell therapy and drug discoveries. The objectives of the present study were to i) isolate the fibroblast cells from the cesarean scar tissue, ii) derive human induced pluripotent stem cells (hiPSCs) from cesarean scar-derived fibroblasts using Sendai virus, carried exogenous genes including OCT-3/4, SOX2, Klf4 and c-Myc and compare the pluripotency of hiPSCs to the human embryonic stem cells (hESCs), iii) compare the neural differentiation ability of hiPSCs, hESCs and cesarean scar-derived fibroblasts and iv) culture hiPSCs and hESCs under the xeno-free conditions using human cord blood-derives serum for culture of the feeder cells prior to co-culture with hiPSCs and hESCs. We isolated four fibroblast cell lines from four samples of cesarean scar tissues. Fibroblast cells exhibited the characteristic of mesenchymal stem cells. We generated more than 20 hiPSC lines under feeder- dependent markers and pluripotent genes similar to hESCs. The differentiation test showed that hiPSCs enable to differentiate into three embryonic germ layers both in vitro and in vivo. Moreover, hiPSCs maintain their normal karyotype after long-term culture. Both hiPSCs and hESCs can be induced for neural differentiation, demonstrated the morphological and biomolecular similarities during neural differentiation. In addition, hiPSCs and hESCs maintained their pluripotency after co-culture with feeder cells that previously grown in human seru8m containing medium. Thus, we developed the xeno-free culture system for culture of culture of hiPSCs and hESCs which beneficial for improving the clinical grade of hiPSCs for the future applications.
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83879
Type: Technical Report
Appears in Collections:Med - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kamthorn_Pr_Res_2558.pdfรายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext)161.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.