Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84082
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปวีณา สุสัณฐิตพงษ์-
dc.contributor.advisorจิรัฏฐ์ พรรณจิตต์-
dc.contributor.authorนวลจันทร์ทิพย์ นัยรักษ์เสรี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2024-02-05T06:19:27Z-
dc.date.available2024-02-05T06:19:27Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84082-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564-
dc.description.abstractที่มา: ภาวะพร่องวิตามินเคในเลือดถือเป็นความเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดภาวะแคลเซียมเกาะผนังหลอดเลือดและนำไปสู่ภาวะหลอดเลือดแดงแข็งสูญเสียความยืดหยุ่นในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังและผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต อย่างไรก็ตามประโยชน์ของการให้วิตามินเคเสริมต่อโครงสร้างและหน้าที่ความแข็งแรงสมบูรณ์ของหลอดเลือดนั้นยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันในวงกว้างและยังต้องการหลักฐานงานวิจัยสนับสนุนเพิ่มเติม การศึกษานี้จึงถูกจัดทำขึ้นเพื่อศึกษาประสิทธิผลของการให้วิตามินเคหรือยาเมนาควิโนน-7ต่อการดำเนินของภาวะหลอดเลือดแดงแข็งในผู้ป่วยไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม กระบวนการและระเบียบวิธีวิจัย: เป็นการศึกษาทดลองแบบสุ่มในพหุสถาบันชนิดมีกลุ่มควบคุม จัดทำขึ้นในศูนย์ไตเทียม 4 แห่งในจังหวัดกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย โดยรวบรวมผู้ป่วยไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมทั้งหมด 96 คนซึ่งมีภาวะหลอดเลือดแดงแข็งรุนแรงจากการประเมิน carotod-femoral pulse wave velocity (cfPWV ≥ 10 เมตรต่อวินาที) เข้ามาในการศึกษา โดยผู้ป่วยที่เข้าร่วมในการศึกษาจะได้รับการสุ่มแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มการศึกษา ได้แก่ กลุ่มรักษาที่ได้รับยาเมนาควิโนน-7 (ขนาด 375 ไมโครกรัมต่อวัน) ในระยะเวลา 24 สัปดาห์ (n=50) และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับยาเมนาควิโนน-7 (n=46) โดยผลลัพธ์หลักของการศึกษาคือการเปลี่ยนแปลงของภาวะหลอดเลือดแดงแข็งวัดด้วย cfPWV ระหว่างและหลังการรักษา ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่เข้าร่วมในงานวิจัย 96 คนมีข้อมูลพื้นฐานไม่แตกต่างกันในทั้งสองกลุ่ม ระหว่างการรักษาที่ 12 สัปดาห์พบว่า ผู้ป่วยในกลุ่มรักษาที่ได้รับยาเมนาควิโนน-7 มีแนวโน้มของภาวะหลอดเลือดแดงแข็งที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (-13.0 ± 20.7% vs -6.8 ± 21.1%, p=0.18) เมื่อวิเคราะห์ในกลุ่มย่อยพบว่า กลุ่มรักษาที่มีภาวะเบาหวานร่วมด้วยมีการลดลงของภาวะหลอดเลือดแดงแข็งที่มากยิ่งขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่มีภาวะเบาหวานร่วมด้วย (-9.9±13.8% vs 1.9±17.2%, p = 0.065) นอกจากนี้ผลการศึกษายังแสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยในกลุ่มรักษามีการดำเนินของภาวะหลอดเลือดแดงแข็งน้อยกว่ากลุ่มควบคุมเมื่อตรวจติดตามค่า cfPWV ที่ 12 สัปดาห์  (21.4% vs 34.1%, p = 0.20) โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีภาวะเบาหวานร่วมด้วยเช่นกัน (21.4% vs 58.3%, p = 0.054) ทั้งนี้ระหว่างการศึกษาที่ 12 สัปดาห์ยังไม่พบรายงานยาเมนาควิโนน-7ก่อให้เกิดผลข้างเคียงร้ายแรงต่อผู้ป่วยในงานวิจัยนี้ สรุปผลการศึกษา: การให้ยาเมนาควิโนน-7 รับประทานเสริมขนาด 375 ไมโครกรัมต่อวัน ในระยะเวลา 24  สัปดาห์พบว่า มีแนวโน้มในการลดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งจากการวัดด้วย cfPWV ในผู้ป่วยไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม:7 ซึ่งผลลัพธ์เดียวกันนี้ชัดเจนยิ่งขึ้นในผู้ป่วยที่ภาวะเบาหวานร่วมด้วย อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในแง่ผลลัพธ์ทางคลินิกของระบบไหลเวียนโลหิตและหัวใจเพิ่มเติมในอนาคต-
dc.description.abstractalternativeBackground: Vitamin K deficiency is one of the most important risk factors of vascular calcification and arterial stiffness in chronic kidney disease and dialysis patients. However, the benefit of vitamin K supplementation on structural and functional vascular health are still not established. This study was aimed to evaluate the efficacy of menaquinone-7 (MK-7) supplementation on arterial stiffness in chronic hemodialysis (HD) patients. Methods: This open-label multicenter randomized clinical trial was conducted in 96 HD patients who had arterial stiffness, defined by high carotid femoral pulse wave velocity (cfPWV ≥ 10 m/s). The patients were randomly assigned to receive oral MK-7 (375 mcg once daily) for 24 weeks (n = 50) or standard care (control group; n = 46). The change of cfPWV was evaluated as primary outcome.  Results: The baseline parameters were comparable between two groups. At 12 weeks, patients who received MK-7 had a trend in decreasing in cfPWV compared with standard care (-13.0 ± 20.7% vs -6.8 ± 21.1%, p=0.18). This effect is more prominent in diabetes patients (-9.9±13.8% vs 1.9±17.2%, p = 0.065), In addition, the MK-7 group had lower rate of arterial stiffness progression compared with control group (21.4% vs 34.1%, p = 0.20), especially in diabetes patients (21.4% vs 58.3%, p = 0.054). There were no serious adverse events observed during 12 weeks. Conclusion: Vitamin K supplementation provided a trend in decreasing arterial stiffness at short term follow up without serious adverse effects, especially patients with diabetes. However, the benefit on vascular heath and cardiovascular outcomes are still needed.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationMedicine-
dc.subject.classificationHuman health and social work activities-
dc.titleการศึกษาประสิทธิผลของการให้ยาเมนาควิโนน-7 ต่อภาวะการแข็งตัวของหลอดเลือดแดงในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม: งานวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่ม-
dc.title.alternativeEffect of Menaquinone-7 supplementation to reduce vascular stiffness in ESRD patients receiving hemodialysis: a randomized controlled trial-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:FACULTY OF MEDICINE - THESIS

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6370121630.pdf2.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.