Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8418
Title: ผลของการฝึกเสริมพลัยโอเมตริกที่มีต่อการพัฒนาความคล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬาฟุตบอลอายุระหว่าง 14-16 ปี
Other Titles: Effects of supplementary plyometric training on agility development of soccer players between the age of 14-16 years old
Authors: เกชา พูลสวัสดิ์
Advisors: ชนินทร์ชัย อินทิราภรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: พลัยโอเมตริก (การฝึกกำลัง)
กำลังกล้ามเนื้อ
การฝึกกำลังกล้ามเนื้อ
นักฟุตบอล
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาผลของการฝึกเสริมพลัยโอเมตริกที่มีต่อการพัฒนาความคล่องแคล่วว่องไว ของนักกีฬาฟุตบอลอายุระหว่าง 14-16 ปี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาฟุตบอลของโรงเรียนอัสสัมชัญพานิชยการ จำนวน 30 คน โดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็นสองกลุ่มๆ ละ 15 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย กลุ่มทดลองฝึกเสริมพลัยโอเมตริกและฝึกตามปกติ กลุ่มควบคุมฝึกตามปกติ ใช้เวลาในการฝึก 6 สัปดาห์ โดยทดสอบความคล่องแคล่วว่องไว ความสามารถในการเร่งความเร็ว พลังระเบิดของกล้ามเนื้อขา และความอ่อนตัวแบบเคลื่อนที่ของสะโพก ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 3 สัปดาห์ และหลังการทดลอง 6 สัปดาห์ นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยการหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที วิเคราะห์ความแปรปรวนทางแบบเดียวชนิดวัดซ้ำ ถ้าพบความแตกต่างจึงเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวีธีการของตูกี เอ (Tukey a) โดยทดสอบความมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 หลังการทดลอง 6 สัปดาห์พบว่า 1. กลุ่มทดลองที่ฝึกเสริมพลัยโอเมตริกและฝึกตามปกติมีความคล่องแคล่วว่องไวมากกว่า กลุ่มควบคุมที่ฝึกตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. กลุ่มทดลองที่ฝึกเสริมพลัยโอเมตริกและฝึกตามปกติ มีความสามารถในการเร่งความเร็วและพลังระเบิดของกล้ามเนื้อขา มากว่ากลุ่มควบคุมที่ฝึกตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. กลุ่มทดลองที่ฝึกเสริมพลัยโอเมตริกและฝึกตรมปกติ มีความคล่องแคล่วว่องไว ความสามารถในการเร่งความเร็ว พลังระเบิดของกล้ามเนื้อขา และความอ่อนตัวแบบเคลื่อนที่ของสะโพกมากว่า ก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถติที่ระดับ .05
Other Abstract: To study the effects of supplementary plyometric training on agility development of soccer players between the age of 14 -16 years old. The subjects were 30 soccer players from Assumption Commercial College by purposive random sampling. They were assigned into two groups by simple random sampling with 15 subjects in each group: the experimental group did supplementary plyometric training and normal training, while the control group had normal training. Both groups trained for a period of six weeks. The data of agility, acceleration ability, leg muscular explosive power and dynamic flexibility of hip joint of both groups were taken before the experiment, after three weeks and six weeks. The obtained data were analyzed terms of means and standard deviations, one-way analysis of variance with repeated in measure and multiple comparison by the Tukey (a) were also employed for statistical significant. After six weeks of experiment, the results indicated that 1. Agility in the experimental group was significantly better than the control group at the .05 level. 2. Acceleration ability and leg muscular explosive power in the experimental group were significantly better than the control group at the .05 level. 3. Agility, acceleration ability, leg muscular explosive power and dynamic flexibility of hip joint in the experimental group were significantly better than before the experiment at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8418
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.1614
ISBN: 9741437471
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.1614
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kecha.pdf2.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.