Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84231
Title: แนวทางการแบ่งปันอาหารส่วนเกินเพื่อลดขยะอาหารตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน: กรณีศึกษา ครัวเรือนมุสลิม ชุมชนสวนหลวง 1
Other Titles: Excess food sharing guidlines to reduce food waste under circular economy concept: case study of Muslim household at Suanluang 1 community
Authors: กิตติณัฐฎา พันธ์โพธิ์
Advisors: สุวัฒนา ธาดานิติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2566
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการแบ่งปันอาหารส่วนเกินในครัวเรือนมุสลิมเพื่อลดปัญหาขยะอาหาร และเสนอแนะเป็นแนวทางการแบ่งปันอาหารส่วนเกิน กรณีศึกษา ชุมชนสวนหลวง 1 ประกอบด้วยปัจจัยด้านความรู้ ด้านทัศนคติ ด้านการปฏิบัติ ด้านความเชื่อทางศาสนา และด้านแนวทางการแบ่งปันอาหารส่วนเกินของชุมชน โดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงปริมาณทำการเก็บแบบสอบถามปลายปิดจากครัวเรือนมุสลิมในชุมชนสวนหลวง 1 จำนวน 92 ครัวเรือน ที่คำนวณจากโปรแกรม G*Power ทำการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงในครัวเรือนมุสลิมและอาศัยการเก็บแบบสอบถามตามความสะดวกหรือความบังเอิญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย (1) สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลครัวเรือนและลักษณะทางประชากรศาสตร์ (2) สถิติเชิงอนุมาณ ใช้วิธี Stepwise Multiple Regression Analysis เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยที่มีผลต่อการแบ่งปันอาหารส่วนเกินในครัวเรือนมุสลิม ชุมชนสวนหลวง 1 ผลการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการแบ่งปันอาหารส่วนเกินในครัวเรือนมุสลิมทั้ง 5 ด้าน พบว่า ด้านความรู้เกี่ยวกับสาเหตุและแนวทางแก้ไขการเกิดอาหารส่วนเกินและขยะอาหาร กลุ่มตัวอย่างสามารถตอบถูกเกินร้อยละ 70 ในขณะที่ความหมายของอาหารส่วนเกินและผลกระทบของขยะอาหารต่อสิ่งแวดล้อมกลุ่มตัวอย่างสามารถตอบถูกได้ต่ำกว่าร้อยละ 50 ด้านทัศนคติและด้านการปฏิบัติโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านความเชื่อทางศาสนาและด้านแนวทางการแบ่งปันอาหารส่วนเกินของชุมชนอยู่ในระดับมาที่สุด สำหรับการวิเคราะห์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการแบ่งปันอาหารส่วนเกิน พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุด 2 ด้าน ได้แก่ (1) การเพิ่มปัจจัยด้านแนวทางการแบ่งปันอาหารส่วนเกินของชุมชน เรื่องการจัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับอาหารส่วนเกินและขยะอาหาร (2) การลดปัจจัยด้านทัศนคติ เรื่องการแยกขยะอาหารก่อนทิ้งไม่ช่วยแก้ปัญหาขยะอาหาร โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอย (β) เท่ากับ 2.125 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01
Other Abstract: The Objectives of this research article were to study factors affecting sharing exceed food to reduce food waste and suggest guidelines for sharing exceed food case study: Muslim household at Suanluang 1, consists of the factors of knowledge, attitude, practices, religion beliefs and guidelines. The collected data is analyzed through research tools in the quantitative method by using closed-ended questionnaires from 92 Muslim households in the Suanluang 1 community, calculated using the G*Power program, Purposive sampling of Muslim households and questionnaires were collected based on convenience or accident sampling. Statistical analysis involves two parts (1) Descriptive Statistics for the frequency, percentage, mean average and standard deviation to examine general information and demographic characteristics of the sample and (2) Inferential Statistics by using Stepwise Multiple Regression Analysis to analyze factors affecting sharing exceed food to reduce food waste in Muslim household at Suanluang 1 The result of the factors influencing the sharing of excess food in Muslim households found that the factor of knowledge about the causes and solutions to food excess and waste is well understood, with over 70 percent accuracy. However, the understanding of the meaning of excess food and the environmental impact of food waste is below 50 percent. Overall, attitudes and practices factors are at a high level. Religious beliefs and guidelines to sharing excess food factors are at the highest level. The analysis of factors influencing the sharing of excess food identifies two factors with the most significant influence (1) enhancing guidelines to sharing excess food by providing knowledge about excess food and waste and (2) reducing attitude factors, such as the belief that separating food waste before disposal does not help solve the problem. The regression coefficient (β) is 2.125 at a statistically significant level of .01
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พัฒนามนุษย์และสังคม
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84231
Type: Thesis
Appears in Collections:GRADUATE SCHOOL - THESIS

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6187259420.pdf4.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.