Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84303
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ธนิต ธงทอง | - |
dc.contributor.author | นพวิชญ์ ลีลานภากาศ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2024-02-05T10:12:26Z | - |
dc.date.available | 2024-02-05T10:12:26Z | - |
dc.date.issued | 2566 | - |
dc.identifier.uri | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84303 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566 | - |
dc.description.abstract | เนื่องมาจากการก่อสร้างที่พักอาศัยที่มีอยู่ทั่วพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลซึ่งเป็นต้นเหตุของมลพิษทางอากาศและเสียง โดยผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ แรงงานก่อสร้าง งานวิจัยนี้จึงต้องการวิเคราะห์มลพิษทางอากาศและเสียง (PM 2.5, PM 10, NO2, CO, dB(A)) ที่เกิดจากกิจกรรมย่อยของการก่อสร้างที่พักอาศัยโดยเครื่องมือวัดส่วนบุคคลร่วมกับบันทึกวีดีโอ ซึ่งนำเทคโนโลยี IoT (Internet of Things) เซนเซอร์ตรวจวัดมลพิษทางอากาศและเสียง และกล้องบันทึกวีดีโอมาประยุกต์ใช้ ทำให้ทราบค่าความเข้มข้นของมลพิษที่แรงงานได้รับจากกิจกรรมย่อยของงานก่อสร้าง การตรวจวัดมลพิษทางอากาศและเสียงโดยทั่วไปวัดจากค่าเฉลี่ยของปริมาณมลพิษที่แรงงานได้รับตลอดช่วงเวลาทำงาน อีกทั้งเครื่องมือวัดมีขนาดใหญ่ มีราคาสูง และไม่สามารถทราบถึงกิจกรรมย่อยที่ก่อให้เกิดมลพิษต่อแรงงาน ดังนั้นงานวิจัยนี้ได้ติดเครื่องมือวัดและกล้องบันทึกวีดีโอกับแรงงาน เพื่อให้ทราบถึงปริมาณมลพิษที่แรงงานได้รับจากกิจกรรมย่อยของการก่อสร้าง โดยเมื่อมีปริมาณมลพิษเกินค่ามาตรฐานจะมีการแจ้งเตือนไปยัง Line Notify เพื่อให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยโครงการได้ทราบถึงปริมาณมลพิษที่เกิดขึ้นในขณะนั้น หลังจากนั้นประยุกต์ใช้เครื่องมือตรวจวัดมลพิษทางอากาศและเสียงกับโครงการก่อสร้างกรณีศึกษา 4 โครงการ ผลการทดสอบพบว่า กิจกรรมย่อยที่เกิดมลพิษมากที่สุด คือ เชื่อมโลหะโดยใช้ลวดเชื่อม มีปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 และ PM 10 เกินค่ามาตรฐานอยู่ในระดับส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และไนโตรเจนไดออกไซด์ เกินค่ามาตรฐานอยู่ในระดับเริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพ อย่างไรก็ตามเครื่องมือยังมีข้อจำกัดในเรื่องขีดจำกัดต่ำสุดและสูงสุดของเซนเซอร์ที่สามารถตรวจวัดมลพิษได้ | - |
dc.description.abstractalternative | This is attributed to construction activities in the area around Bangkok Metropolitan. These constructions are causing air and noise pollution, significantly affecting workers. Therefore, this research aims to analyze air and noise pollution (PM 2.5, PM 10, NO2, CO, dB(A)) caused by sub-activities of residential construction using personal measuring instruments combined with video recordings. Through the use of IoT (Internet of Things) technology, dust and gas sensors, along with IP cameras, are installed with workers to ascertain the concentration of pollutants from these sub-activities. Traditionally, air and noise pollution have been measured by the average amount of pollutants exposed to workers over time. The instruments used for such measurements are typically large, expensive, and unable to pinpoint the specific sub-activities causing air and noise pollution. However, this research utilizes instruments and IP cameras installed with workers to determine the concentration of pollutants from sub-activities. If it exceeds the standard value, notifications are sent to safety officers via Line Notify. Subsequently, the proposed instrument was employed to measure air and noise pollution in four case studies. The results demonstrated that the sub-activity with the highest concentration of pollutants is welding steel, which contains PM 2.5 and PM 10 exceeding standard values, resulting in a very unhealthy condition. While, CO and NO2 are exceeding standard values, resulting in a unhealthy condition. Moreover, this study has limitations, primarily related to the minimum and maximum detection capabilities of the sensors. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject.classification | Building and civil engineering | - |
dc.title | การวิเคราะห์มลพิษทางอากาศและเสียงที่เกิดจากกิจกรรมย่อยของการก่อสร้างที่พักอาศัยโดยเครื่องมือวัดส่วนบุคคลร่วมกับบันทึกวีดีโอ | - |
dc.title.alternative | An analysis of air and noise pollution caused by sub-activities of residential construction using personal measuring instruments combined with video recording | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมโยธา | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6170457421.pdf | 8.76 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.