Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8439
Title: การพัฒนาโปรแกรมการฝึกเพื่อปรับปรุงจุดเริ่มล้าในนักกีฬาฟุตบอล
Other Titles: A training program for improving the anaerobic threshold of football players
Authors: พงษ์เอก สุขใส
Advisors: เฉลิม ชัยวัชราภรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: cchalerma@loxinfo.co.th
Subjects: นักกีฬาฟุตบอล
ฟุตบอล -- การฝึก
ความล้า
การออกกำลังกาย -- แง่สรีรวิทยา
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบและพัฒนาโปรแกรมการฝึกสำหรับการปรับปรุงจุดเริ่ม ล้าในนักกีฬาฟุตบอล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาฟุตบอลชายทีมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำการเลือกกลุ่ม ตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive random sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง คือ นักกีฬาฟุตบอลชายทีม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 30 คน มีอายุระหว่าง 18-25 ปี แล้วทำการสุ่มอย่างง่าย (Random sampling) เพื่อเลือกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 20 คนแล้วจัดกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 10 คน เพื่อเลือกแบบฝึก ดังนี้ กลุ่มควบคุมฝึกตามโปรแกรมการฝึกของนักกีฬาฟุตบอลทีมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในแต่ละวันกลุ่ม ทดลองฝึกตามโปรแกรมการฝึกเพื่อปรับปรุงจุดเริ่มล้าใช้เวลา 2 วัน / สัปดาห์ คือ วันจันทร์ และ วันพฤหัสบดี แล้วฝึกตามแบบการฝึกของนักกีฬาฟุตบอลทีมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม ได้รับ การทดสอบจุดเริ่มล้า ก่อนการทดลอง ภายหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 นำข้อมูลที่ได้มา วิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่า “ที” (t-test) ระหว่างกลุ่ม ก่อนการทดลอง หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 และวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One Way Analysis of Variance with repeated measures) โดยถ้าพบ ความแตกต่างให้เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดย วิธีตูกี (เอ) โดยทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 กลุ่มที่ใช้โปรแกรม การฝึกเพื่อปรับปรุงจุดเริ่มล้าและกลุ่มที่ใช้โปรแกรมการฝึกของผู้ฝึกสอน มีค่าเฉลี่ยอัตราการเต้นของหัวใจ ที่จุดเริ่มล้า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว แบบวัดซ้ำระหว่างก่อนการทดลอง หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 ของกลุ่มที่ ใช้โปรแกรมการฝึกเพื่อปรับปรุงจุดเริ่มล้า มีค่าเฉลี่ยอัตราการเต้นของหัวใจที่จุดเริ่มล้า แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. วิเคราะห์ความแปรปวนทางเดียวแบบวัดซ้ำระหว่างก่อนการทดลอง หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 ของกลุ่มที่ใช้โปรแกรมการฝึกของผู้ฝึกสอน มีค่าเฉลี่ยอัตราการเต้นของหัวใจที่จุดเริ่มล้า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this study were to compare and develop a training program for improving the anaerobic threshold in soccer players. The sample was 30 Chulalongkorn University soccer players, 18-25 years old. The sample was selected by using purposive random sampling, then using random sampling to select 20 soccer players and grouping them as 10 players for each group for choosing training program. Control group was trained with normal training program of Chulalongkorn University soccer players. Experimental group was trained with training program for improving the anaerobic threshold 2 days a week (Monday and Thursday) and trained with normal training program of Chulalongkorn University soccer players on the other days. Both control group and experimental group were examined the anaerobic threshold before and after the study. The results were analysed by SPSS, finding average, standard deviation, t-test between groups in 4[superscript th] and 8[[superscript th] week, and one-way analysis of variance with repeated measures. Any differences between the pairs were then compared by using the tukey (a) method at the .05 significant level. The results of the study revealed that : 1. After4[superscript th] and 8[superscript th] week, the experimental group and the control group had a significant difference of heart rate on the anaerobic threshold (p=0.05). 2. One - Way Analysis of Variance with repeated measures in 4[superscript th] and 8[superscript th] week of the experimental group showed a significant difference of heart rate on the anaerobic threshold (p = 0.05). 3. One Way Analysis of Variance with repeated measures in the 4[superscript th] and the 8[superscript th] week of the control group showed a significant difference of heart rate on the anaerobic threshold (p = 0.05).
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8439
ISBN: 9745325554
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pongake.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.