Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8442
Title: การพัฒนาอิมัลชันลิพิดทางการแพทย์โดยใช้เลซิทินที่มีกรดไขมันชนิดโอเมก้า 3 เป็นตัวอิมัลซิฟายเออร์ : รายงานวิจัย
Other Titles: Development of medical lipid emulsion with omega 3 containing lecithins as emulsifier
Authors: วินัย ดะห์ลัน
สมเกียรติ ปิยะธีรธิติวรกุล
วิชัย เชิดชีวศาสตร์
สุพันธิตรา ชาญประเสริฐ
โสภณา จาตนิลพันธ์
พิมพ์พร อินนพคุณ
Email: dwinai@netserv.ac.th, winaidahlan@yahoo.com
Psomkiat@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Suprata.P@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสหเวชศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสหเวชศาสตร์
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: เลซิติน
กรดไขมันโอเมกา 3
ปลาป่น
ลิพิด
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศูนย์วิจัยไขมันและน้ำมัน
Abstract: ความเป็นมา การให้อิมัลชันลิพิดทางหลอดเลือดผู้ป่วยเป็นเวลานาน เลซิทินที่ใช้เป็นอิมัลซิฟายเออร์ของอิมัลชันลิพิดสามารถเหนี่ยวนำให้ดุลของฟอสโฟลิปิดบนเมมเบรนของเซลล์เปลี่ยนแปลง ก่อให้เกิดผลเชิงบวกและเชิงลบต่ออุบัติการณ์เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เลซิทินที่ใช้เป็นอิมัลซิฟายเออร์ทั่วไปมีกรดไขมันโอเมก้า 6 เป็นหลักอาจก่อผลเชิงลบ ขณะเดียวกันมีข้อมูลสนับสนุนว่าการให้เลซิทินที่มีโอเมก้า 3 ให้ผลเขิงบวก อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อมูลสนับสนุนว่าเลซิทินที่มีโอเมก้า 3 เป็นอิมัลซิฟายเออร์ที่ดีสำหรับการเตรียมอิมัลชันลิพิดหรือไม่ วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้เพื่อหาแหล่งของเลซิทินที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 ในปริมาณสูง ใช้เลซิทินดังกล่าวในการพัฒนาอิมัลชันลิพิดและทดสอบการย่อยสลายอิมัลชันลิพิดด้วยเอนไซม์ไลเปส โดยเปรียบเทียบกับอิมัลชันลิพิดที่เตรียมจากเลซิทินของไข่แดงและเลซิทินของถั่วเหลือง วิธีการ ทำการศึกษาวัตถุดิบชนิดต่างๆ ได้แก่ ปลาป่น (FM) ไข่แดง (EY) ถั่วเหลือง (SY) วิเคราะห์ปริมาณกรดไขมันตลอดจนชนิดของเลซิทินที่พบในวัตถุดิบ ทำการคัดเลือกแหล่งที่มีเลซิทินชนิดที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 ปริมาณสูง พัฒนาวิธีการสกัดเลซิทินออกจากวัตถุดิบดังกล่าว จัดเตรียมอิลมัลชันลิพิดที่มีเลซิทินสูง (LRFE) และศึกษาคุณสมบัติทางเคมีของพาร์ติเคิลของอิมัลชันและการย่อยสลายพาร์ติเคิลอิมัลชันลิพิดโดยเอนไซม์ไลเปส ผลการศึกษาและวิจารณ์ การศึกษา พบว่าปลาป่นท้องถิ่นและต่างประเทศมีไขมันและเลซิทินเป็นองค์ประกอบ 11-14 และ 1-2 กรัม/100 กรัมตัวอย่างตามลำดับ มีกรดดีเอชเอซึ่งเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงกลุ่มโอเมก้า 3 อยู่ในเลซิทิน 11-21% การเตรียมเลซิทินทำโดยสกัดปลาป่นต่างประเทศด้วยตัวทำละลายอินทรีย์สามชนิดตามลำดับคือ เมธานอล/นอร์มอลเฮกเซน/อะซีโตน เลซิทินที่สกัดได้มีฟอสโฟลิปิดชนิดที่มีโคลีนสูงถึง 68% และมีกรดดีเอชเอ 17.5% การใช้ methanol ในการสกัดทำให้ปริมาณเลซิทินที่สกัดได้สูงกว่าการใช้ ethanol 10% มีดีเอชเอสูงกว่า 20% เมื่อเตรียมอิมัลชันที่มีเลซิทินสูง พบว่าอิมัลชันลิพิดที่มีเลซิทินสูงของปลาป่น (FM-LRFE) มีกรดดีเอชเอบริเวณผิวอิมัลชันเฉลี่ย 28.10 สูงกว่าที่พบในอิมัลชันที่เตรียมจากเลซิทินไข่ไก่ (EY-LRFE) และถั่วเหลือง (SY-LRFE) ซึ่งเท่ากับ 2.05 และ 0 กรัม/กรดไขมัน 100 กรัม ตามลำดับ การทำงานของเอนไซม์ไลเปสในการย่อยสลายกรดไขมันออกจากอิมัลชันลิพิดเมื่อทำโดยการศึกษาปริมาณร้อยละของไตรกลีเซอไรด์ส่วนที่เหลืออยู่ในพาร์ติเคิลอิมัลชันลิพิดภายหลังการ incubation 60 นาทีพบว่า SY>FM>EY ในสัดส่วน 63:53:42 โดยกรดไขมันที่ถูกย่อยสลายออกจากพาร์ติเคิลของอิมัลชันลิพิดทั้งสามสูตรจะเป็นไปในลักษณะคล้ายคลึงกันนั่นคือกรดไขมันอิ่มตัว (SFA) กรดไขมันไม่อิ่มตัวหนึ่งตำแหน่ง (MUFA) และกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง (PUFA) ถูกย่อยสลายในอัตราใกล้เคียงกัน อย่างไรก็ตามพบว่ากรดไขมันโอเมก้า 3 ใน FM-LRFE ย่อยสลายช้ากว่ากรดไขมันโอเมก้า 6 อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) สรุปผลการศึกษา ปลาป่นสามารถใช้เป็นแหล่งของเลซิทินที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 ได้และเมื่อเตรียมเป็นอิมัลชันลิพิด เลซิทินจากปลาป่นแสดงคุณสมบัติไม่ต่างจากเลซิทินจากไข่แดงและถั่วเหลืองโดยไตรกลีเซอไรด์ที่อยู่ภายในพาร์ติเคิลของเลซิทินจากปลาป่นถูกย่อยสลายช้ากว่าพาร์ติเคิลของเลซิทินจากไข่แดงเล็กน้อยแต่เร็วกว่าพาร์ติเคิลของเลซิทินจากถั่วเหลืองเล็กน้อยเช่นกัน กรดไขมันโอเมก้า 3 ในส่วนของไตรกลีเซอไรด์มีแนวโน้มที่จะถูกย่อยสลายด้วยเอนไซม์ไลเปสช้ากว่ากรดไขมันกลุ่มอื่น
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8442
Type: Technical Report
Appears in Collections:All - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Winai_dev.pdf5.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.