Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8450
Title: ผลของการใช้รูปแบบการบริการพยาบาลแบบครอบครัวมีส่วนร่วมต่อการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำของผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ พฤติกรรมการดูแลเด็กของครอบครัวและความพึงพอใจในบริการพยาบาล
Other Titles: Effects of using nursing service program emphasizing family participation on re-admission of children with pneumonia, caring behavior of family caregivers, and satisfaction with nursing service
Authors: สรณี อักษรกวน
Advisors: ยุพิน อังสุโรจน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: yupin.a@chula.ac.th
Subjects: ผู้ป่วย -- การดูแล
ปอดอักเสบ
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการบริการพยาบาลแบบครอบครัวมีส่วนร่วมต่อการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำของผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ พฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยเด็กของครอบครัว และความพึงพอใจในบริการพยาบาล กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบและครอบครัว จำนวน 30 คน ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยกุมาร โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า และแบ่งเป็น 2 กลุ่ม จับคู่อายุและระดับการศึกษาของครอบครัว กลุ่มตัวอย่าง 15 คนแรกจัดเป็นกลุ่มควบคุม ที่ได้รับการพยาบาลตามปกติก่อนดำเนินการทดลอง ส่วนกลุ่มตัวอย่างอีก 15 คน หลังจัดเป็นกลุ่มทดลอง ที่ได้รับการพยาบาลโดยใช้รูปแบบบริการพยาบาลแบบครอบครัวมีส่วนร่วมเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ รูปแบบการบริการพยาบาลแบบครอบครัวมีส่วนร่วม แบบบันทึกการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำ แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ และแบบสอบถามความพึงพอใจในบริการพยาบาล ได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ และแบบสอบถามความพึงพอใจในบริการพยาบาล ได้รับการตรวจสอบความเที่ยง ได้ค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคของอัลฟาเท่ากับ 0.94 และ 0.91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน และทดสอบความแตกต่างด้วยสถิติ Mann-Withney U-Test ผลการวิจัยพบว่า 1. อัตราการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำของผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบก่อนและหลังการทดลองที่ไม่แตกต่างกัน 2. พฤติกรรมการดูแลเด็กโรคปอดอักเสบของครอบครัวผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบกลุ่มหลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความพึงพอใจในบริการพยาบาลระหว่างครอบครัวผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบกลุ่มหลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this quasi-experimental research were to study effects of using nursing service program emphasizing family participation on re-admission of children with pneumonia, caring behavior of family caregivers, and satisfaction with nursing service. The research subjects consisted of 30 chidren with pneumonia in pediatric units, Somdejprapinklao Hospital, and their family member. Instruments were nursing service program emphasizing family participation, re-admission record, caring behavior questionnaire, and satisfaction with nursing service questionnaire. The subjects were assigned to either experimental group or control group by matched pair of family member's age and education. Research instruments were tested for content validity by five experts. The Cronbach's alpha coefficient for caring behavior questionnaire and satisfaction questionnaire were .91 and .94, respectively. Statistical method used in data analysis were median, quatile deviation, and Mann-Withney U-Test. The research findings were as follow: 1. Re-admission of children with pneumonia in the both groups were not significantly different. 2. Caring behavior of family member in the experimental group was significanly higher than the control group, at p = .05. 3. Satisfaction with nursing service in the experimental group was significantly higher than the control group, at p = .05.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8450
ISBN: 9741424337
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
soranee.pdf1.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.