Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84553
Title: | ความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน ความสุข และภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรกลุ่มวัยเริ่มทำงาน (First Jobber) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) |
Other Titles: | Work-life balance, happiness at work and job burnout of first jobbers at the office of national economics and social development council |
Authors: | กมลพร ชนิตสิริกุล |
Advisors: | จุลนี เทียนไทย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบระดับความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน 2) ศึกษาและเปรียบเทียบระดับความสุขในการทำงาน และ 3) ศึกษาภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรกลุ่มวัยเริ่มทำงาน (First Jobber) ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นการศึกษาแบบผสมผสาน (Mixed-Method Research) โดยการศึกษาเชิงปริมาณได้ศึกษาจากประชากรกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 81 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ T-test และ One-Way ANOVA สำหรับการศึกษาเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) จำนวน 12 คน โดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า บุคลากรกลุ่มวัยเริ่มทำงาน (First Jobber) ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีระดับความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านสติปัญญามีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และด้านการเงินมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด และปัจจัยด้านสำนัก/กอง ที่แตกต่างกันมีผลต่อระดับความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน ในส่วนของระดับความสุขในการทำงานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านความพึงพอใจในงานมีค่าเฉลี่ยมากที่สุดและด้านความรื่นรมย์ในงานมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด และปัจจัยสำนัก/กอง และอายุงานที่แตกต่างกันมีผลต่อระดับความสุขในการทำงาน โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะหมดไฟในการทำงานบุคลากรกลุ่มวัยเริ่มทำงาน (First Jobber) ได้แก่ ปัจจัยหัวหน้า ผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหาร ปัจจัยเพื่อนร่วมงาน ปัจจัยที่เกี่ยวกับงาน ปัจจัยด้านค่าตอบแทน สวัสดิการ และปัจจัยวัฒนธรรมองค์การ โดยเมื่อเกิดภาวะหมดไฟในการทำงานเลือกที่จะพูดคุยกับเพื่อนร่วมงาน การพักผ่อนทำกิจกรรมอย่างอื่น หรือเอาตัวเองออกมาจากที่ทำงาน ดังนั้น ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่มีต่อสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเพื่อธำรงรักษากลุ่มวัยเริ่มทำงาน (First Jobber) ให้คงอยู่กับองค์การ อาทิ การปรับเปลี่ยนระบบการทำงานให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้นเพื่อลดขั้นตอนการทำงาน การสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวกในการทำงานเพื่อให้เกิดความพึงพอใจส่งผลให้มีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น และการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้บริหารกับบุคลากร |
Other Abstract: | The objectives of this research were: 1) To study and compare work-life balance, 2) To examine and compare the level of happiness at work, and 3) to study in-depth on job burnout of the first jobbers at the Office of National Economics and Social Development Council (NESDC). This study was a Mixed-Method Research. The quantitative research was collected through survey questionnaires from a sample of 81 people. The statistics used in this research were descriptive statistics by frequency, percentage, mean, and standard deviation, and inferential statistics by T-test and One-Way ANOVA. The qualitative research was based on interviewing 12 key informants, followed by content analysis. Results showed that first jobbers at the NESDC have an overall level of work-life balance at a high level. While the wisdom aspect was found to be on the average, the money aspect was found to have the lowest average. Moreover, different divisions factor also affected the level of work-life balance. For the level of happiness at work, overall, it was at a high level. In terms of pleasure, the average was the highest, arousal had the lowest average, and factors of different divisions and years of work affected the level of happiness at work. Factors of job burnout among the first jobbers were related to supervisor or executive, colleagues, work, compensation and welfare, and organizational culture factors. When job burnout happens, first jobbers choose to talk with colleagues, relax by shifting to other activities, or remove themselves from work. In conclusion, the results of this research can be used as policy recommendations for the NESDC to help the first jobbers maintain work-life balance and better the level of happiness at work. Informants’ suggested examples were modifying the work system to be more flexible, reducing the work process, supporting work facilities, and providing activities to create good relationships between executives and personnel. |
Description: | สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565 |
Degree Name: | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | รัฐประศาสนศาสตร์ |
URI: | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84553 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Pol - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6480003424.pdf | 3.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.